้่่้้่้่hjghjgj

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ศอ.บต.แถลงข่าวโครงการ“ประชารัฐร่วมใจ สู่เดือนรอมฎอน” ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1437

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.59 ที่ห้องโถงอาคารอเนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายภาณุ อุทัยรัตน์ พร้อมด้วย ผู้บริหาร ศอ.บต. ได้ร่วมแถลงข่าวผลการปฏิบัติงานและการดำเนินกิจกรรม ประชารัฐร่วมใจ สู่เดือนรอมฎอนประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1437 โดยมี Mr.Triyo go Jatmiko กงสุลอินโดนิเซียประจำประเทศไทย ประธานคณะกรรมการอิสลาม ผู้นำศาสนา เครือข่ายสตรี  กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ เจ้าหน้าที่เรือนจำ  เครือข่ายยุติธรรมชุมชน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล เครือข่ายนักประชาสัมพันธ์  และนักจัดรายการวิทยุจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 300 คนเข้าร่วมงาน
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ศอ.บต.ได้ดำเนินกิจกรรมในห้วงเดือนรอมฎอน ตามโครงการ ประชารัฐร่วมใจ สู่เดือนรอมฎอนประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1437 มีทั้งสิ้น 19 กิจกรรม ประกอบด้วย การกิจกรรมมอบข้าวสาร น้ำตาล เพื่อประกอบอาหารละศีลอด ให้ครอบครัวยากจนตามบัญชีซะกาต มัสยิดละ 10 ครัวเรือน จำนวน 23,000 ครัวเรือน การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าราคาถูก ต้อนรับเดือนรอมฎอนใน 33 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส จังหวัดละ 100,000 บาท และจังหวัดสตูล สงขลา จังหวัดละ 50,000 บาท เพื่อจัดกิจกรรมละศีลอด การสนับสนุนงบประมาณให้เรือนจำกลางยะลา ปัตตานี นราธิวาสและเบตง เพื่อจัดอาหารละศีลอดให้ผู้ต้องขัง
เลขาธิการ ศอ.บต. ยังกล่าวอีกว่า การพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศอ.บต. ยังคงมุ่งมั่นน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียงมาปฏิบัติ ขับเคลื่อนงานตามแนวนโยบายรัฐบาล และ คสช. ผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) เน้นความเป็นเอกภาพของงานความมั่นคง และงานพัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ โดยให้งานพัฒนาไปเสริมหนุนงานความมั่นคงของ กอ.รมน.ภาค 4 สน. โดยพบว่าปัจจุบันประชาชนหันมาให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถดูได้จากชายแดนใต้โพลล์มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
นอกจากนี้ ศอ.บต.ยังได้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องของการอำนวยความเป็นธรรมการเร่งคลายทุกข์ที่ต้นทาง เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนระดับหมู่บ้าน และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้รวดเร็ว โดยการจัดตั้งศูนย์เคดิลัน เซ็นเตอร์ ในระดับตำบล หมู่บ้าน จำนวน 37 ศูนย์ ตำบลละ 1 ศูนย์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

การแก้ไขปัญหาที่ดินบริเวณอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเขตอุทยานฯ ทับซ้อนที่ดินทำกินของราษฎร ส่งผลให้ราษฎรเดือดร้อน เพราะไม่สามารถตัดโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุ เพื่อปลูกใหม่ทดแทน หรือขอรับทุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของทางราชการได้ เป็นข้อเรียกร้องจากประชาชน นับแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นปัญหามาแทบทุกรัฐบาล จนเมื่อรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ ศอ.บต.เร่งรัดแก้ไข โดยให้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตที่ชัดเจนตามระยะเวลาที่ครอบครองและได้ออกเอกสารสิทธิ และเสนอขอความเห็นชอบในการให้สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ และในส่วนพื้นที่นอกเขตอุทยานและป่าสงวน สามารถออกเอกสารสิทธิได้ ถือว่าปัญหาข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการแก้ไขสำเร็จแล้ว ขณะนี้ชาวบ้านสามารถตัดต้นยางพารา สามารถพัฒนาชุมชน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนบริเวณพื้นที่เชื่อมต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีอีกด้วย และในวันนี้(24 พ.ค.59) ยังจัดให้มีกิจกรรมปล่อยคาราวานรถบรรทุกปัจจัยละศีลอดแจกจ่ายไปยังครัวเรือน ผ่านศูนย์ปฏิบัติการอำเภอในพื้นที่ จำนวน 37 อำเภออีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น