้่่้้่้่hjghjgj

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง


มะโย่ง



มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง กำเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่างกันไปหลายกระแส ดังนี้

๑. มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปี มาแล้ว จากนั้นแพร่หลายไปทางกลันตัน

๓. มะโย่งเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาตั้งแต่ครั้งโบราณ แล้วเป็นที่นิยม แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้อธิบายเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงที่มาของคำว่ามะโย่ง คำว่า มะ หรือเมาะ แปลว่า แม่ ส่วนโย่ง หรือโยง เป็นพระนามของเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งแห่งชวา จึงชวนให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่า เหตุที่เรียกละครประเภทนี้ว่า มะโย่ง อาจเป็นตัวพระ จึงเรียกกันโดยใช้คำว่า มะ หรือ เมาะนำหน้าเครื่องดนตรี นิยมใช้กันอยู่ ๓ ชนิด คือ รือบะ จำนวน ๑ - ๒ คน กลองแขก ๓ หน้า จำนวน ๒ ใบ และฆ้องใหญ่เสียงทุ้มแหลมอย่างละใบ มะโย่งบางคณะยังมีเครื่องดนตรีอีก ๒ ชิ้น คือ กอเลาะ(กรับ) จำนวน ๑ คู่ และจือแระ จำนวน ๓ - ๔ อัน (จือแระ ทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑๖–๑๘ นิ้วใช้ตี) ผู้แสดง มะโย่งคณะหนึ่ง ๆ มีคนประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี ๕ - ๗ คน นอกนั้นเป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง

ผู้แสดงหรือตัวละครสำคัญมี ๔ ตัว คือ

        ๑. ปะโย่ง หรือเปาะโย่ง แสดงเป็นพระเอก มีฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านาย ตัวปะโย่งจะใช้ผุ้หญิงร่างแบบบางหน้าตาสะสวย มีเสน่ห์ ขับกล่อมเก่ง น้ำเสียงดี เป็นผู้แสดง

        ๒.มะโย่งหรือเมาะโย่ง แสดงเป็นนางเอก มีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้านธรรมดาตามแต่เนื้อเรื่องที่แสดง ใช้ผู้หญิงร่างแบบบาง หน้าตาดีเป็นผู้แสดง

       ๓. ปือรันมูดอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๑ มีฐานะเสนาคนสนิทหรือคนใช้ใกล้ชิดของปะโย่งใช้ผู้ชายหน้าตาท่าทางน่าขบขันชวนหัว เป็นผู้แสดง ปือรันมูดอจะพูดจาตลกคะนอง สองแง่สองมุม ฉลาดทันคน กล้าหาญ แต่บางครั้งโงทึบและขลาดกลัวตาขาว

       ๔. ปือรันดูวอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๒ มีฐานะเป็นเสนาคนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง เป็นเพื่อสนิทของปือรันมูดอ จะเป็นตัวที่คอยสนับสนุนให้ปือรันมูดอสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น





โรงหรือเวทีแสดง ปัจจุบันโรงมะโย่งปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๕-๖ เมตร ยาว ๘ - ๑๐ เมตร จากท้ายโรงประมาณ ๑ - ๒ เมตร จะกั้นฝา ๓ ด้าน คือ ด้านท้ายกับด้านข้างทั้งสอง ด้านหน้าใช้ฉากปิดกั้นให้มีช่องออกหน้าโรงได้ เนื้อที่ด้านท้ายโรงใช้เป็นที่แต่งกายเก็บของและพักผ่อนนอนหลับ ด้านหน้าโรงเป็นโล่งทั้ง ๓ ด้าน จากพื้นถึงหลังคาด้านหน้าสูงประมาณ ๓.๕ เมตร ชายหลังด้านหน้านี้จะมีระบายป้ายชื่อคณะอย่างโรงลิเกหรือโนรา ส่วนใต้ถุนโรงใช้เป็นที่พักหลับนอนไปด้วย
โอกาสที่แสดง มะโย่งจะแสดงในงานเฉลิมฉลองงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ ตามที่เจ้างานรับไปแสดง ปกติแสดงในเวลากลางคืนโดยเริ่มแสดงราว ๑๙ นาฬิกา เลิกเวลาประมาณ ๑ นาฬิกา






ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ปัตตานีที่รัก : Kekasih ku Pattani


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น