วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิถีชุมชน “บ้านทอน” วิถีแห่งสันติสุข


บ้านทอนเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในจ.นราธิวาส  ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลในเขต ต.โคกเคียน อ. เมือง  ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาอิสลามและส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการทำประมงพื้นบ้าน

หมู่ที่ 5 ชื่อว่า บ้านทอนได้มีคำบอกเล่าว่าเมื่อ 150 กว่าปีหลังสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีสามี  ภรรยา  ชาวจีนคู่หนึ่งเดินทางมาค้าขายด้วยเรือสำเภา  ผ่านฝั่งอ่าวไทยและได้มาเทียบท่ายังหมู่บ้านแห่งนี้  เมื่อสมัยนั้นยังไม่มีถนนหนทางและจะเป็นการเดินทางทางป่า  ภรรยาชาวจีนนั้นมีชื่อตามชาวบ้านเรียกขานว่า แมะแบตองและได้ทำการค้าขายจนเป็นที่รู้จัก  เมื่อชาวบ้านต้องการซื้อสินค้าก็จะบอกว่า ฉันจะไปซื้อของที่บ้านแมะแบตองแล้วนานๆเข้าคำว่า ตองก็เปลี่ยนเป็น  “ทอนหลังจากนั้น นายชูแวลูกชายของแมะแบตองก็ได้ก่อตั้งหมู่บ้านนี้ว่า บ้านทอน


แต่ในปัจจุบันหมู่ที่ 5 ได้แยกเขตการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 3 หมู่คือ หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 เนื่องจากการเพิ่มของจำนวนประชากรที่หนาแน่นมากขึ้นทำให้มีปัญหาในการปกครอง และดูแลประชาชนไม่ทั่วถึงได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นมาใหม่คือ  หมู่ที่ 10บ้านทอนฮีเล” (ฮีเล แปลว่าทิศเหนือ) โดยแยกจากหมู่ที่ 5 ในปีพ.ศ 2542  และต่อมาได้มีการแยกหมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 ออกจากหมู่ที่ 5 ในปีพ.ศ 2545  หมู่ที่ 11 ชื่อว่า บ้านทอนอามานหมายถึง สันติและหมูที่ 12บ้านทอนนาอีมหมายถึง หมู่บ้านแห่งความสงบ ราบรื่น


หมู่บ้านทอน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประมง อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำการประมงเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังใช้เวลาว่างประ ดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่นการทำเรือกอและจำลอง การสานเสื่อจากใบกระจูด ซึ่งปัจจุบันเป็น ของสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส อาจกล่าวได้ว่า เสื่อกระจูดและเรือกอและ คือ สัญลักษณ์ของบ้านทอน และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดนราธิวาส

ปัจจุบัน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคใต้ เขต 3 ได้ดำเนินการสร้างซุ้มสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้านจำนวน 10 หลัง ที่หมู่บ้านทอน จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ผลิตและ จำหน่ายสินค้าหัตถกรรม รวมทั้งอาหารพื้นบ้าน โดยให้ชาวบ้านที่มีฝีมือใช้เป็นสถานที่ผลิตสินค้า หัตถกรรม ในอาณาบริเวณเดียวกัน และเพื่อสำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาหาซื้อสินค้าของที่ระลึก ของฝากที่มีชื่อเสียงของบ้านทอนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น



ถ้าพูดถึงบ้านทอน ทุกคนจะนึกถึงหัตถกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่น เช่น เรือกอและจำลอง ที่มีลวดลาย สวยงาม ประณีตละเอียดละอ่อน เป็นสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ที่จะบอกให้แก่ผู้มาเยือนรู้ว่า ที่นี่ คือดินแดนของชาวไทยมุสลิมผู้มีพื้นฐาน ในการเขียนลวดลายบนลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน ลวดลายบนลำเรือกอและ เป็นการผสมผสานระหว่างลายมาลายู ลายชวาและลายไทย โดยมีสัดส่วน ของลายไทยอยู่มากที่สุด เช่น ลายกนก ลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายหัวพญานาค หนุมานเหิรเวหา รวม ทั้งลายหัวนกในวรรณคดี เช่น "บุหรงซีงอ" สิงหปักษี (ตัวเป็นสิงห์หรือราชสีห์ หัวเป็นนกคาบปลาไว้ ที่หัวเรือ) เชื่อกันว่ามีเขี้ยวเล็บและมีฤทธิ์เดชมาก ดำน้ำเก่ง จึงเป็นที่นิยมของชาวเรือกอและมาแต่โบราณ


งานศิลปะบนลำเรือเปรียบเสมือน "วิจิตรศิลป์บนพลิ้วคลื่น" และเป็นศิลปะเพื่อชีวิต เพราะเรือ กอและมิได้อวดโชว์ความอลังการของลวดลายเพียงอย่างเดียว ทว่ายังเป็นเครื่องมือในการจับปลา เลี้ยงชีพของชาวประมงด้วย กล่าวกันว่าลูกแม่น้ำบางนราไม่มีเรือกอและหาปลา ก็เหมือนไม่ใส่เสื้อผ้า ความนิยมในการวาดลวดลายข้างลำเรือให้วิจิตรตา นับวันจะยิ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงประเทศเพื่อน บ้าน ปัจจุบันเรือกอและจำลอง เป็นสินค้าของที่ระลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้มาเยือนบ้านทอน จังหวัด นราธิวาส และกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ พื้นบ้านมาเลเซีย ซึ่งได้สั่งซื้อเรือกอและจำลองเข้ามามากจนชาวบ้านผลิตไม่ทัน จนต้องมีการสั่งจองล่วงหน้า


นอกจากเรือกอและจำลอง และเสื่อกระจูดแล้ว บ้านทอนยังมีการผลิตหัตถกรรมพื้นบ้านอื่นๆอีก อาทิ การทำกรงนกเขา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งอาหารพื้นบ้าน ที่มีชื่อเสียงของบ้านทอน เช่นน้ำบูดู ซึ่งเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา มีรสชาติอร่อยถูกปาก ผ่าน กรรมวิธีในการผลิตที่สะอาด ถูกหลักอนามัย ปราศจากวัตถุกันเสีย ข้าวเกรียบปลา ทำจากปลาหลาย ชนิดตามแต่ต้องการแล้วนำไปบดรวม หั่นเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปทอดกับน้ำมัน รับประทานได้หลายโอกาส เหมาะที่จะซื้อหาเป็นของฝาก ของที่ระลึก

------------------
<<<เชิญทุกคนสัมผัสวิถีบ้านทอน แวะชม ช็อป และสัมผัสรอยยิ้มแห่งความสุข ณ ชายแดนใต้...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น