้่่้้่้่hjghjgj

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

“หอดูนกหลัง ม.อ.ตานี” แลนด์มาร์คสำคัญของนักเดินทางสู่จังหวัดปัตตานี



จะมีใครทราบบ้างหรือไม่ว่า ม.อ. ตานี บ้านหลังใหญ่ของเรา มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่มีชื่อว่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ม.อ. ปัตตานี    ระยะทางไม่ไกลนัก เพียง 1.5 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนหลังคณะวทท. ไปจนแฟลต 13  คุณค่าของพื้นที่มีมากมาย และที่สำคัญเป็นแหล่งเรียนรู้  เป็นห้องเรียนธรรมชาติ ที่มีอยู่ใน ม.อ. 

แม้กระทั่งการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนใกล้เคียงเช่น วิถีการทำประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก บ้านรูสะมิแลก็สามารถทำได้ บริเวณเส้นทางฯ มี พืชป่าชายเลน เช่น ต้นลำพู โกงกาง แสมทะเล ฝาดดอกขาว ตาตุ่ม ถั่ว และอื่น ๆ นานาพันธุ์ หิ่งห้อย นกหลากหลายสีสัน ทั้งชนิดนกป่า นกน้ำ และนกประจำถิ่น หรือชายเลนอพยพ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น งูเหลือม นาก เสือปลา กบ ปลาตีน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในหาดเลน และมีหอดูนก จุดชมวิวริมทะเล




กว่าที่จะมาเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติฯ

เริ่มจากกลุ่มนักศึกษาที่ได้ใช้พื้นที่ในการดูนก ศึกษาธรรมชาติในรายวิชาสัตววิทยา เพื่อทำหน้าที่เป็นทูตสัญจร เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพในอ่าวปัตตานี รักและหวงแหนสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น และส่งเสริมการอนุรักษ์  โดยนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ สัมผัสด้วยตนเอง ใช้ป่าชายเลนและนกเป็นตัวนำในการทำกิจกรรมกับน้อง ๆ ในโรงเรียนประถมศึกษาใน จ. ปัตตานี ปีละ 10 โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม พิพิธภัณฑ์สัญจร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน 

หลังจากนั้นนักศึกษากลุ่มนี้เรียนในวิชาเทคนิคทางชีววิทยา (2549) ได้ร่วมกันเขียนป้ายบอกจุดต่าง ๆ  ป้ายนิเทศ และกำหนดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นมา โดยได้รับการอนุญาตการใช้พื้นที่จากท่านรองอธิการบดีวิทยาเขตฯ  ต่อมาได้ฝึกซ้อมการเป็นวิทยากรในเส้นทางฯ  และก็ได้ทำพิธีเปิดเส้นทางฯเป็นทางการในเวลาไล่เลี่ยกัน  นั่นคือหนึ่งในความภูมิใจที่มอบให้สถาบันแห่งนี้ ที่มีความหลากหลายของธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศชายฝั่ง มีหาดเลน ให้เราได้เรียนรู้  ค้นหา  



เส้นทางศึกษาธรรมชาติฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากแหล่งทุนภายนอก เช่น UNDPและ Oxfam ถึงแม้ว่าเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก แต่ก็นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในท้องถิ่น 

จุดย่อยในเส้นทางฯ ได้ ถูกกำหนดชื่อ เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรม และเนื่องจากมีความโดดเด่นในแต่ละพื้นที่ต่างกัน มีชื่อเรียกดังนี้
จุดที่ 1     นกน้ำสองฤดู
จุดที่ 2     ปลา ปู หมู่กุ้ง
จุดที่ 3      มุ่งสู่ลานไทร
จุดที่ 4     สราญใจบ่อพักน้ำ
จุดที่ 5     ข้ามมาชายป่า
จุดที่ 6     หรรษาพืชพรรณ
จุดที่ 7     ชมตะวันยามอัสดง




เชิญชวนให้ลองสำรวจพื้นที่เส้นทางฯนี้  ที่มีบทบาทเป็นห้องเรียนธรรมชาติ แล้วเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บไซต์บุรงตานี  (ในกลุ่มสัตววิทยา/นก)  กล่าวถึงการเข้าใช้ประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม  คุณค่าของเส้นทางฯ   ลองสังเกตลักษณะของพื้นที่แต่ละจุดย่อยว่า ชื่อที่กำหนดไว้มีนัยบอกลักษณะเด่นของพื้นที่หรือไม่   หรือ มี นก  ต้นไม้ หรืออะไรที่ตนเองได้เรียนรู้



------------------

เชิญผู้ที่สนใจเข้าชม ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในรอบเขตพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี และศึกษาดูนกนานาพันธิ์ได้ที่...

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่อยู่: ตำบล รูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี ปัตตานี 94000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น