เมื่อพูดถึงความประเสริฐของเดือนรอมฎอน
พวกเราส่วนมากก็คงรู้หรือเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าเดือนนี้เป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอาน
เป็นเดือนแห่งการอภัยโทษ เดือนแห่งการทำความดี
เดือนแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิต แต่ก็อย่างว่า ความรู้ต่างๆ
เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่และความประเสริฐของเดือนรอมฎอนนี้ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นให้มุสลิมอย่างเราขับเคลื่อนหรือทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่พระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงสัญญาไว้ เรารู้ว่ารอมฎอนเป็นเดือนแห่งการทำความดี
แต่เราก็ไม่สามารถทำความดีได้อย่างสม่ำเสมอ
เรารู้ว่ารอมฏอนเป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอาน
แต่พอกลับมาดูชีวิตของเราก็จะพบว่าอัลกุรอานมีผลกับชีวิตของเราในเชิงปฏิบัติน้อยมาก
เรารู้ว่ารอมฎอนเป็นเดือนแห่งการอภัยโทษอันมากมายแต่หัวใจของเราก็ไม่ค่อยโหยหาซึ่งการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ
เหมือนกับเรายังไม่ตระหนักอย่างจริงจังว่าความชั่วที่เราได้สะสมไว้นั้นเพียงพอที่จะทำให้เราเข้านรกได้อย่างสบาย
เราจะเตรียมตัวอย่างไรให้รอมฎอนปีนี้มีผลกระทบกับชีวิตของเราให้ได้มากที่สุด
เราจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรให้เดือนรอมฎอนซึ่งเป็นแขกประจำปีของเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเราให้ได้
เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยต่างๆของเราสู่การเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงตามที่พระองค์อัลลอฮฺ ทรงต้องการ
มุสลิมเราบางคนเตรียมตัวต้อนรับรอมฎอนด้วยการประดับประดามัสยิดหรืออาคารบ้านเรือนด้วยดวงไฟหลากสีอย่างสวยสดงดงาม
บางคนก็เตรียมโครงการรอมฎอนของเขาด้วยเมนูอาหารอันหลากหลาย
แต่จะมีสักกี่คนเชียวที่เตรียมพบกับรอมฎอนด้วยการวางแผนการศึกษาอัลกุรอาน
วางแผนการทำความดี
หรือเตรียมพร้อมหัวใจของเขาก่อนการมาเยือนของรอมฎอนด้วยการเรียนรู้บทบัญญัติข้อใช้ข้อห้ามต่างๆ
ตลอดจนความหมายอันลึกซึ้งและจุดประสงค์ในการถือศีลอด
เราควรเปลี่ยนมุมมองของเราต่อเดือนอันประเสริฐนี้
จริงอยู่ที่ว่าอาหารการกินนั้นสำคัญต่อเรา
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งรอมฎอนของเรานั้นมีแต่ของกินอย่างเดียว
เรื่องอื่นๆเช่นว่าเราจะทำความดีอะไรบ้าง จะละหมาดอย่างไรให้คุชัวะอฺ
จะบริจาควันละเท่าไหร่ หรืออะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
เราก็ควรที่จะกลับมาใช้เวลาสักช่วงหนึ่งนั่งคิดนั่งไตร่ตรองและวางแผนการในสิ่งเหล่านี้
การเตรียมพร้อมของเราในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุนั้นไม่เพียงพอเสียแล้วและไม่สามารถที่จะทำให้เราบรรลุถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในเดือนรอมฎอนนี้ได้
หากเรารับรู้และตะหนักว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการอภัยโทษในบาปต่างๆที่ผ่านมาทั้งหมดแล้ว
เราก็คงต้องลดการให้ความสำคัญกับการประดับตกแต่งมัสยิดหรือเตรียมเมนูอาหารไปสู่การเตรียมพร้อมเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ และการได้รับการอภัยโทษในบาปต่างๆ
ของเราอย่างแน่นอน
1. ปรับเปลี่ยนมุมมอง...
สิ่งแรกที่จะช่วยทำให้เรามีกำลังใจและมีความกระตือรือร้นในการทำความดีในเดือนรอมฎอนได้นั้นก็คือการปรับความรู้สึกและมุมมองของเราที่มีต่อเดือนนี้ ลองถามตัวเองดูสิว่าเรามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ข่าวว่าเดือนรอมฎอนกำลังใกล้เข้ามาแล้ว? แต่ละคนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันไป บางคนก็ดีใจ บางคนก็ตกใจ บางคนรู้สึกเฉยๆ พฤติกรรมและการกระทำของแต่ละคนจะเป็นเครื่องแสดงว่าเขามีความรู้สึกอย่างไรต่อเดือนรอมฎอน..
หากเรามีเพื่อนรักคนหนึ่งที่จากกันเกือบปี พอถึงเวลาที่เพื่อนคนนี้จะมาเยี่ยม เราก็ต้องเตรียมตัวต้อนรับ พอพบเจอกันเข้าก็ต้องทักทาย หากอยากรู้ว่าเรากับเพื่อนคนนี้มีความผูกพันสนิทสนมกันมากแค่ใหน ก็สามารถสังเกตได้จากลักษณะการทักทาย บางคนก็โอบกอดดีใจ บางคนก็แค่จับมือ บางคนก็เพียงแค่ส่งยิ้ม เช่นกัน รอมฎอนมานานทีปีหน เราเองก็จะรู้ตัวเองดีว่ามีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับดือนรอมฎอนมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีความสนิทสนมกับเดือนรอมฎอนมากเราก็จะตื่นเต้นดีใจเป็นพิเศษที่จะได้มีโอกาสถือศีลอดอีกครั้งหนึ่ง มีความกระตือรือร้นในการที่จะสะสมความดี มีความสุขที่จะได้ศึกษาอัลกุรอานได้ละหมาดตะรอเวียะฮฺ และจะเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมเพื่อต้อนรับการมาเยือนของเดือนนี้ บางคนเตรียมถึงขั้นจะเดินจะนั่งอย่างไรให้มีผลบุญ ตรงกันข้ามคนที่ไม่ค่อยสนิทสนมกับเดือนรอมฎอน เมื่อเดือนนี้มาเยือนอีกครั้งก็จะรู้สึกเฉยๆ เฉี่อยๆ ไม่กระตือรือร้นที่จะเตรียมทำความดี บางคนไม่อยากให้เดือนรอมฎอนมาเสียด้วยซ้ำเพราะรู้ว่าจะต้องอดข้าวอดน้ำอีกแล้ว หากใครมีความรู้สึกเช่นนี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับมุมมองเป็นการด่วน แล้วเราจะกระตุ้นความรู้สึกอยากที่จะทำความดีในเดือนนี้ได้อย่างไร? มีฮะดีษบทหนึ่งรายงานโดยท่านอิมามบุคอรียฺและมุสลิมท่านทั้งสองได้รายงานไว้ว่า...
จากท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า...
“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยศรัทธามั่น (ในอัลลอฮฺ) และมุ่งหวังในผลตอบแทน (จากอัลลอฮฺ) เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา ”
ซุบฮานัลลอฮฺ! เพียงแค่รู้ว่าความผิดบาปทั้งหลายของเราจะได้รับการอภัยจากพระผู้ทรงเมตตาก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราขยันขันแข็งในการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ เราลองหันกลับมาตรวจสอบชีวิตของเราเสียหน่อยว่า ตั้งแต่วันแรกที่เราบรรลุศาสนภาวะจนถึงวันนี้ ความผิดบาป ความชั่วที่เราได้สะสมมามีมากน้อยเพียงใด? ลองหยิบกระดาษและปากกาขึ้นมาแล้วเขียนความผิดของเราลงบนกระดาษดูสิ เขียนให้หมดทุกความผิดที่เราเคยทำมากเท่าที่เราจะนึกได้ หากเรามีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองจริงก็จะพบว่าความผิดของเรามันช่างมากมายเหลือเกิน ความชั่วต่างๆที่เราเคยทำไว้กับใครต่อใคร ความผิดที่เราเคยทำไว้กับพ่อแม่ของเรา พี่น้องของเรา เพื่อนๆของเรา สายตาที่เคยทรยศต่ออัลลอฮฺ แอบมองสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม เท้าที่เคยเดินไปทำในสิ่งที่ไม่ดี ปากที่เคยนินทาว่าร้ายคนอื่น มือที่เคยแอบขโมยของของใครไว้ หูที่เคยฟังเพลงหรือสิ่งไร้สาระ เหล่านี้ล้วนเป็นความผิดที่เราจะต้องไปรับผิดชอบต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น แล้วจะมีการงานไหนอีกเล่าที่จะมาช่วยลบล้างความชั่วร้ายต่างๆที่เราได้ทำไว้ ถ้าไม่ใช่การถือศีลอดด้วยความศรัทธามั่นและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว.
เดือนรอมฎอนเปรียบเสมือนห้างลดกระหน่ำที่กำลังรอมุมินผู้ศรัทธาเข้าไปจับจ่ายใช้สอยขยันหมั่นเพียรในการทำความดีทุกรูปแบบ การตอบแทนที่เพิ่มเท่าทวีคูณ ผลบุญที่คอยเราอยู่อย่างมากมายมหาศาลซึ่งไม่มีเดือนใดเทียบเท่า หากรู้อย่างนี้แล้วเรายังจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดมือไปได้อีกหรือ? ดังนั้นสิ่งเริ่มแรกที่เราควรจัดการกับตัวเองก่อนที่เดือนรอมฎอนอันประเสริฐจะมาเยือนเรานั่นคือการปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของเราที่มองว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความยากลำบากมาสู่ความศรัทธามั่นว่าเดือนนี้เป็นเดือนแห่งทางนำ เดือนแห่งความจำเริญ เดือนแห่งความดีงาม เดือนแห่งการขัดเกลา การเปลี่ยนแปลง ความเมตตา และการอภัยโทษจากเอกองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงกรุณาปราณีเสมอ...
จากท่านอบูสะอี๊ด อัลคุดรียฺ ได้ฟังท่านรอซูล กล่าวว่า
“ ผู้ใดที่ถือศีลอดหนึ่งวันด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้เขาห่างไกลจากไฟนรกถึงระยะทางเท่ากับเจ็ดสิบฤดูกาลในการเดินทาง ”
สิ่งแรกที่จะช่วยทำให้เรามีกำลังใจและมีความกระตือรือร้นในการทำความดีในเดือนรอมฎอนได้นั้นก็คือการปรับความรู้สึกและมุมมองของเราที่มีต่อเดือนนี้ ลองถามตัวเองดูสิว่าเรามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ข่าวว่าเดือนรอมฎอนกำลังใกล้เข้ามาแล้ว? แต่ละคนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันไป บางคนก็ดีใจ บางคนก็ตกใจ บางคนรู้สึกเฉยๆ พฤติกรรมและการกระทำของแต่ละคนจะเป็นเครื่องแสดงว่าเขามีความรู้สึกอย่างไรต่อเดือนรอมฎอน..
หากเรามีเพื่อนรักคนหนึ่งที่จากกันเกือบปี พอถึงเวลาที่เพื่อนคนนี้จะมาเยี่ยม เราก็ต้องเตรียมตัวต้อนรับ พอพบเจอกันเข้าก็ต้องทักทาย หากอยากรู้ว่าเรากับเพื่อนคนนี้มีความผูกพันสนิทสนมกันมากแค่ใหน ก็สามารถสังเกตได้จากลักษณะการทักทาย บางคนก็โอบกอดดีใจ บางคนก็แค่จับมือ บางคนก็เพียงแค่ส่งยิ้ม เช่นกัน รอมฎอนมานานทีปีหน เราเองก็จะรู้ตัวเองดีว่ามีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับดือนรอมฎอนมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีความสนิทสนมกับเดือนรอมฎอนมากเราก็จะตื่นเต้นดีใจเป็นพิเศษที่จะได้มีโอกาสถือศีลอดอีกครั้งหนึ่ง มีความกระตือรือร้นในการที่จะสะสมความดี มีความสุขที่จะได้ศึกษาอัลกุรอานได้ละหมาดตะรอเวียะฮฺ และจะเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมเพื่อต้อนรับการมาเยือนของเดือนนี้ บางคนเตรียมถึงขั้นจะเดินจะนั่งอย่างไรให้มีผลบุญ ตรงกันข้ามคนที่ไม่ค่อยสนิทสนมกับเดือนรอมฎอน เมื่อเดือนนี้มาเยือนอีกครั้งก็จะรู้สึกเฉยๆ เฉี่อยๆ ไม่กระตือรือร้นที่จะเตรียมทำความดี บางคนไม่อยากให้เดือนรอมฎอนมาเสียด้วยซ้ำเพราะรู้ว่าจะต้องอดข้าวอดน้ำอีกแล้ว หากใครมีความรู้สึกเช่นนี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับมุมมองเป็นการด่วน แล้วเราจะกระตุ้นความรู้สึกอยากที่จะทำความดีในเดือนนี้ได้อย่างไร? มีฮะดีษบทหนึ่งรายงานโดยท่านอิมามบุคอรียฺและมุสลิมท่านทั้งสองได้รายงานไว้ว่า...
จากท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า...
“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยศรัทธามั่น (ในอัลลอฮฺ) และมุ่งหวังในผลตอบแทน (จากอัลลอฮฺ) เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา ”
ซุบฮานัลลอฮฺ! เพียงแค่รู้ว่าความผิดบาปทั้งหลายของเราจะได้รับการอภัยจากพระผู้ทรงเมตตาก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราขยันขันแข็งในการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ เราลองหันกลับมาตรวจสอบชีวิตของเราเสียหน่อยว่า ตั้งแต่วันแรกที่เราบรรลุศาสนภาวะจนถึงวันนี้ ความผิดบาป ความชั่วที่เราได้สะสมมามีมากน้อยเพียงใด? ลองหยิบกระดาษและปากกาขึ้นมาแล้วเขียนความผิดของเราลงบนกระดาษดูสิ เขียนให้หมดทุกความผิดที่เราเคยทำมากเท่าที่เราจะนึกได้ หากเรามีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองจริงก็จะพบว่าความผิดของเรามันช่างมากมายเหลือเกิน ความชั่วต่างๆที่เราเคยทำไว้กับใครต่อใคร ความผิดที่เราเคยทำไว้กับพ่อแม่ของเรา พี่น้องของเรา เพื่อนๆของเรา สายตาที่เคยทรยศต่ออัลลอฮฺ แอบมองสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม เท้าที่เคยเดินไปทำในสิ่งที่ไม่ดี ปากที่เคยนินทาว่าร้ายคนอื่น มือที่เคยแอบขโมยของของใครไว้ หูที่เคยฟังเพลงหรือสิ่งไร้สาระ เหล่านี้ล้วนเป็นความผิดที่เราจะต้องไปรับผิดชอบต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น แล้วจะมีการงานไหนอีกเล่าที่จะมาช่วยลบล้างความชั่วร้ายต่างๆที่เราได้ทำไว้ ถ้าไม่ใช่การถือศีลอดด้วยความศรัทธามั่นและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว.
เดือนรอมฎอนเปรียบเสมือนห้างลดกระหน่ำที่กำลังรอมุมินผู้ศรัทธาเข้าไปจับจ่ายใช้สอยขยันหมั่นเพียรในการทำความดีทุกรูปแบบ การตอบแทนที่เพิ่มเท่าทวีคูณ ผลบุญที่คอยเราอยู่อย่างมากมายมหาศาลซึ่งไม่มีเดือนใดเทียบเท่า หากรู้อย่างนี้แล้วเรายังจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดมือไปได้อีกหรือ? ดังนั้นสิ่งเริ่มแรกที่เราควรจัดการกับตัวเองก่อนที่เดือนรอมฎอนอันประเสริฐจะมาเยือนเรานั่นคือการปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของเราที่มองว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความยากลำบากมาสู่ความศรัทธามั่นว่าเดือนนี้เป็นเดือนแห่งทางนำ เดือนแห่งความจำเริญ เดือนแห่งความดีงาม เดือนแห่งการขัดเกลา การเปลี่ยนแปลง ความเมตตา และการอภัยโทษจากเอกองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงกรุณาปราณีเสมอ...
จากท่านอบูสะอี๊ด อัลคุดรียฺ ได้ฟังท่านรอซูล กล่าวว่า
“ ผู้ใดที่ถือศีลอดหนึ่งวันด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้เขาห่างไกลจากไฟนรกถึงระยะทางเท่ากับเจ็ดสิบฤดูกาลในการเดินทาง ”
2. มีความหึงหวง...
ความหึงหวงในที่นี้คือความรู้สึกหวงแหนในผลตอบแทนที่บรรดาผู้ศรัทธาจะได้รับจากการขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอน บรรดาผู้ศรัทธาทั่วทุกมุมโลกต่างขยันขันแข็งและแข่งขันกันในการทำความดีในเดือนนี้ แล้วเราขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่? เรากำลังรีรออะไรอีกหรือ? หากเราลองจินตนาการดูว่า บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายต่างได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ กันหมดแล้ว เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ของเรา ทุกคนพากันทยอยเข้าสู่สวรรค์ของอัลลอฮฺกันไปหมดแล้ว เหลือแต่เราที่ยังชักช้าและยังไม่สนใจต่อคำเรียกร้องของอัลลอฮฺ เราจะยอมได้หรือ? เราไม่มีความหึงหวงในสวนสวรรค์ที่อัลลอฮฺ จะประทานให้กับบรรดาผู้ที่พากเพียรบ้างหรือ? หรือเราไม่อยากที่จะเป็นผู้หนึ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ จะทรงปลดปล่อยออกจากขุมนรกในทุกค่ำคืนของเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้ ดังเช่นฮะดีษบทหนึ่งที่บันทึกโดยท่านอิมามอัตติรมิซียฺ เชคอัลบานียฺกล่าวว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮฺ
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า
“ เมื่อคืนแรกของเดือนรอมฎอนมาถึง เหล่าชัยฎอนและญินที่ชั่วช้าทั้งหลายจะถูกมัด ประตูทั้งหลายของนรกจะถูกปิดตรึง ไม่มีประตูใดของมันที่ถูกเปิดอยู่เลย ในขณะที่ประตูทั้งหลายของสวรรค์จะถูกเปิดอ้า ไม่มีประตูใดๆ เลยของมันที่ถูกปิด และจะมีผู้ที่ป่าวประกาศเรียกร้องว่า ‘โอ้ผู้ที่ขวนขวายความประเสริฐ จงรีบมาเถิด โอ้ผู้ที่ขวนขวายความชั่วช้า จงหยุดเถิด’ และสำหรับอัลลอฮฺ นั้นมีผู้ที่พระองค์จะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากนรก สิ่งเหล่านั้น (การเรียกร้องและการปลดปล่อย) จะเกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของรอมฏอน) ”
ท่านรอซูล ได้แจ้งแก่เราว่าพระองค์อัลลอฮฺ จะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากขุมนรกทุกๆค่ำคืนของรอมฎอน การที่จะได้รับความเมตตานี้ไม่ใช่ของฟรีที่พระองค์จะประทานให้กับใครก็ได้ แน่นอนคนที่ไม่เคยแม้แต่จะละหมาดฟัรฎูก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับการปลดปล่อยจากนรก อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเสนอตัวเองในการทำความดี ขยันทำอิบาดะฮฺที่เป็นฟัรฎูและซุนนะฮฺต่างๆ คนที่ตอบรับพระองค์เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์
หากเรายังเป็นผู้หนึ่งที่ยังไม่รู้จักหวงแหนต่อสวนสวรรค์ของอัลลอฮฺ แล้วไซร้ เราคงไม่มีความต้องการที่จะทำความดีใดๆได้อีกแล้วในเดือนรอมฎอนนี้ จะมีอะไรอื่นอีกหรือนอกจากสวรรค์ที่จะสามารถเป็นพลังผลักดันให้พวกเราขยันทำความดีได้ เพราะจุดหมายสูงสุดที่บรรดาผู้ศรัทธาต่างหมายปองนั่นคือสรวงสวรรค์ของอัลลอฮฺ สถานที่ที่บรรดาผู้แข็งขันกันทำความดีเพื่อพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิจะได้ครอบครอง....
จากท่านสะฮฺลิ อิบนุ สะอฺดิ ได้ฟังจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า
“ แท้จริง ในสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ‘อัรฺร็อยยาน’ ในวันกิยามะฮฺผู้ถือศีลอดจะเข้าสวรรค์จากประตูนี้ ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา จะมีเสียงถามขึ้นมาว่า ‘ไหนเล่าบรรดาผู้ถือศีลอด?’ แล้วพวกเขาก็จะยืนขึ้น ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา เมื่อพวกเข้าไปหมดแล้ว ประตูนี้ก็จะถูกปิด จึงไม่มีผู้ใดได้เข้าไปจากประตูนี้อีกนอกจากพวกเขา’ มีสำนวนเพิ่มเติมจากอิบนุมาญะฮฺว่า ‘ผู้ใดที่ได้เข้าจากประตูนี้ เขาจะไม่กระหายอีกเลยชั่วนิรันดร์’ ”
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า
“ เมื่อคืนแรกของเดือนรอมฎอนมาถึง เหล่าชัยฎอนและญินที่ชั่วช้าทั้งหลายจะถูกมัด ประตูทั้งหลายของนรกจะถูกปิดตรึง ไม่มีประตูใดของมันที่ถูกเปิดอยู่เลย ในขณะที่ประตูทั้งหลายของสวรรค์จะถูกเปิดอ้า ไม่มีประตูใดๆ เลยของมันที่ถูกปิด และจะมีผู้ที่ป่าวประกาศเรียกร้องว่า ‘โอ้ผู้ที่ขวนขวายความประเสริฐ จงรีบมาเถิด โอ้ผู้ที่ขวนขวายความชั่วช้า จงหยุดเถิด’ และสำหรับอัลลอฮฺ นั้นมีผู้ที่พระองค์จะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากนรก สิ่งเหล่านั้น (การเรียกร้องและการปลดปล่อย) จะเกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของรอมฏอน) ”
ท่านรอซูล ได้แจ้งแก่เราว่าพระองค์อัลลอฮฺ จะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากขุมนรกทุกๆค่ำคืนของรอมฎอน การที่จะได้รับความเมตตานี้ไม่ใช่ของฟรีที่พระองค์จะประทานให้กับใครก็ได้ แน่นอนคนที่ไม่เคยแม้แต่จะละหมาดฟัรฎูก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับการปลดปล่อยจากนรก อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเสนอตัวเองในการทำความดี ขยันทำอิบาดะฮฺที่เป็นฟัรฎูและซุนนะฮฺต่างๆ คนที่ตอบรับพระองค์เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์
หากเรายังเป็นผู้หนึ่งที่ยังไม่รู้จักหวงแหนต่อสวนสวรรค์ของอัลลอฮฺ แล้วไซร้ เราคงไม่มีความต้องการที่จะทำความดีใดๆได้อีกแล้วในเดือนรอมฎอนนี้ จะมีอะไรอื่นอีกหรือนอกจากสวรรค์ที่จะสามารถเป็นพลังผลักดันให้พวกเราขยันทำความดีได้ เพราะจุดหมายสูงสุดที่บรรดาผู้ศรัทธาต่างหมายปองนั่นคือสรวงสวรรค์ของอัลลอฮฺ สถานที่ที่บรรดาผู้แข็งขันกันทำความดีเพื่อพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิจะได้ครอบครอง....
จากท่านสะฮฺลิ อิบนุ สะอฺดิ ได้ฟังจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า
“ แท้จริง ในสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ‘อัรฺร็อยยาน’ ในวันกิยามะฮฺผู้ถือศีลอดจะเข้าสวรรค์จากประตูนี้ ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา จะมีเสียงถามขึ้นมาว่า ‘ไหนเล่าบรรดาผู้ถือศีลอด?’ แล้วพวกเขาก็จะยืนขึ้น ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา เมื่อพวกเข้าไปหมดแล้ว ประตูนี้ก็จะถูกปิด จึงไม่มีผู้ใดได้เข้าไปจากประตูนี้อีกนอกจากพวกเขา’ มีสำนวนเพิ่มเติมจากอิบนุมาญะฮฺว่า ‘ผู้ใดที่ได้เข้าจากประตูนี้ เขาจะไม่กระหายอีกเลยชั่วนิรันดร์’ ”
การมีความสุขในการทำอิบาดะฮฺต่อเอกองค์อัลลอฮฺ เป็นสิ่งที่บรรดาผู้ศรัทธาต่างถวิลหา นั่นก็เพราะว่าการมีความสุขในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ นั้นเป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ว่าคุณค่าของอิบาดะฮฺในชีวิตของเรามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งเรามีความสุขในการทำอิบาดะฮฺมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเราเอาใจใส่กับการอิบาดะฮฺและมีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นในขณะที่กำลังรอคอยการมาของเดือนรอมฎอนนี้ เราต้องเตรียมความพร้อมในการที่จะแสวงหาความสุขในการทำอิบาดะฮฺ ไม่ใช่เฉพาะแค่เดือนรอมฎอนเท่านั้น เราจำเป็นต้องพยายามให้ทุกๆการอิบาดะฮฺของเรานั้นเต็มไปด้วยความสุข เดือนนี้นับว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ฝึกฝนการทำความดีในทุกรูปแบบครบวงจรตั้งแต่ถือศีลอด ละหมาด บริจาค หรือบางคนก็มีโอกาสไปทำอุมเราะฮฺอีกด้วยซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเดือนแห่งการอิบาดะฮฺอย่างแท้จริง หากถามว่าการถือศีลอด การยืนละหมาดนานๆ ทำให้เรามีความสุขตรงไหน? การที่เราหิว กระหาย เมื่อย เหนื่อย ไม่ใช่ความทุกข์หรอกหรือ? ใช่ ตามความคิดของคนทั่วไปมันคือความทุกข์ แต่ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่าความทุกข์นี้ สิ่งที่เราเรียกว่าความหิว ความเมื่อยนี่แหละที่จะสร้างความสุขขึ้นมาได้ เราเคยทำอะไรให้ใครสักคนหรือช่วยทำงานอะไรสักอย่างให้คนที่เรารักไหม? ไม่ว่าจะเหนื่อย จะหนักแค่ไหนเราก็ยอมทำได้ เพราะเรารู้สึกสุขใจที่ได้ช่วย ดีใจที่ได้ทำเพียงเพื่อคนที่เรารัก เป็นความสุขที่มันงอกเงยมาจากความทุกข์ เช่นกัน ความหิว ความเหนื่อย ความลำบากในทางของอัลลอฮฺ หากเป็นความโปรดปรานของพระองค์เรามั่นใจว่ามันคือสิ่งที่ดีที่สุด เราขอน้อมรับ เรายอมทำได้ ความทุกข์เพียงเล็กน้อยแค่นี้เรายอมทนได้เพื่อแสดงออกถึงความรักต่ออัลลอฮฺ เป็นความกตัญญูของบ่าวผู้ต่ำต้อยที่มีต่อนายผู้สูงส่ง ซึ่งหากเปรียบเทียบความเมตตาอันมากมายที่พระองค์ทรงให้กับเรากับการอดทนเล็กๆน้อยๆนี้ ไม่สามารถเทียบได้เลย ถามว่าการอดอาหารเพียงมื้อเดียวหรือที่เราเรียกว่าความทุกข์? การที่เรางดจากการพูดจานินทาใส่ร้ายหรือคือความทุกข์? การที่เราอดทนไม่ทำความชั่ว สำรวมตนให้เป็นคนดี นี่หรือคือความทุกข์? การที่เรายืนละหมาดเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือที่เราบอกว่าเป็นความทุกข์? แล้วเวลาเราถ่างตาดูหนังดูละครดูฟุตบอลเป็นชั่วโมงๆ เล่นเกมส์หรือคุยโทรศัพท์เป็นชั่วโมงๆ หรือเสียเวลาให้กับอะไรต่อมิอะไรที่ไร้สาระเป็นวันๆ เรากลับไม่เรียกว่าความทุกข์ แต่กลับเรียกว่าเป็นการพักผ่อน เรียกว่าความบันเทิง ช่างน่าประหลาดใจเสียจริง แท้ที่จริงแล้วการที่เราฝืนอารมณ์ใผ่ต่ำ เอาชนะความต้องการทางด้านร่างกายนั้นต่างหากที่เป็นการฝึกฝนและขัดเกลาบุคลิกภาพของเราให้เป็นคนที่แข็งแกร่ง เป็นคนที่สามารถเผชิญกับทุกปัญหาและทุกบททดสอบต่างๆที่เข้ามาในชีวิต เป็นสิ่งที่จะสร้างความนอบน้อมถ่อมตน ความอ่อนโยนของหัวใจ ความเห็นอกเห็นใจต่อพี่น้องผู้ยากไร้ เป็นจุดประสงค์อันสูงส่งและสูงสุดที่พระองค์อัลลอฮฺ ทรงคาดหวังที่จะได้จากบ่าวของพระองค์ทุกคน นั่นก็คือความยำเกรงต่อพระองค์
ความว่า “ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นที่เคยถูกบัญญัติแก่บรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง ”
ความตักวายำเกรงคือเป้าหมายสูงสุดที่อัลลอฮฺ ทรงประสงค์จากเรา ดังนั้นใครที่ถือศีลอด แต่ยังไม่งดเว้นจากการทำชั่ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆทั้งสิ้นที่จะอดอาหาร เพราะจะไม่มีการตอบแทนใดๆ นอกจากการหิว การกระหาย เหนื่อยฟรีเท่านั้น เลิกเสียทีกับการถือศีลอดที่ไม่มีคุณภาพ เลิกเสียทีกับการถือศีลอดที่ไม่ให้คุณค่าอะไรกับเราเลยเพียงแค่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังรอมฎอนจากไปและความเหนื่อยความกระหายที่ไร้การตอบแทน เรามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพของการถือศีลอดใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานของท่านรอซูล กันตั้งแต่รอมฎอนนี้กันเถิด
เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะปรับอิบาดะฮฺของเราให้เป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความสุข สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเราได้นั่นก็คือการปรับความอารมณ์รู้สึก เมื่อเรารู้สึกหิวขณะถือศีลอดหรือรู้สึกเมื่อยขณะยืนละหมาดตะรอเวียะฮฺ หากเรามัวแต่คิดถึงอาหารที่จะละศีลอด หรือมัวแต่คิดว่าเมื่อไรจะได้พักได้นั่งเสียที ก็รับรองได้ว่าเราไม่มีทางมีความสุขได้อย่างแน่นอน นั่นก็เพราะว่าเราได้วางเป้าหมายไว้แล้วว่าต้องกินต้องพักถึงจะสบายและมีความสุข เราได้ผูกพันความสุขของเราไว้แล้วกับวัตถุ ก็ไม่แปลกที่ว่าสิ่งที่จะมาสร้างความสุขก็ย่อมมีเพียงแค่วัตถุเท่านั้น ถ้าหากไม่ได้กินไม่ได้นั่งพักก็ไม่สามารถทำให้เกิดความสุขได้ ตรงกันข้าม หากเราสามารถปรับความรู้สึก ความต้องการของเราให้ผูกพันกับอัลลอฮฺ ได้ สามารถผูกพันความรู้สึกหิวกระหายความเมื่อยความเหนื่อย ไว้กับการรำลึกอัลลอฮฺ แทนที่จะนึกถึงอาหารเมื่อเราหิว ถ้าเรารำลึกถึงอัลลอฮฺ รำลึกว่าที่เมื่อยก็เพื่ออัลลอฮฺ ที่กระหายก็เพื่อพระองค์ ที่หิวก็เพราะต้องการผลตอบแทนจากพระองค์ ต้องการการอภัยโทษจากพระองค์ ต้องการสวรรค์ของพระองค์ แน่นอน ความสุขมันจะงอกเงยขึ้นมา เป็นความหอมหวานของอีมาน เป็นความสงบนิ่งที่บังเกิดขึ้นมาด้วยกับการรำลึกถึงพระผู้ทรงยิ่งใหญ่พระผู้ทรงเกรียงไกร ไม่มีความสุขใดๆอีกแล้วในโลกนี้ที่จะลึกล้ำและหอมหวานมากไปกว่าความสุขที่ได้รับจากการเคารพภักดีต่อเอกองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุวะตะอาลา.....
“ บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงทราบเถิด! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้น ทำให้จิตใจสงบ ”
ซูเราะฮฺ อัรเราะอฺดฺ อายะฮฺที่ 28
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าจากท่านรอซูล ท่านได้กล่าวว่า...
“ การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน ดังนั้น (เมื่อผู้ใดถือศีลอด) แล้ว เขาอย่าได้พูดจาหยาบโลนและอย่าได้ประพฤติเยี่ยงผู้ไร้จริยธรรม และหากแม้นมีผู้ใดต้องการทะเลาะเบาะแว้งหรือกล่าวด่าว่าร้ายเขา ก็ให้เขากล่าวแก่คนผู้นั้นว่า... ‘แท้จริงฉันถือศีลอด แท้จริงฉันถือศีลอด ’... ”
4. วิงวอนดุอาอฺ...
การวิงวอนขอดุอาอฺต่อเอกองค์อัลลอฮฺ ให้เราประสบพบเจอกับเดือนรอมฎอน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศให้เรารู้สึกมีความอยากที่จะต้อนรับเดือนนี้ บรรยากาศในการต้อนรับเดือนรอมฎอนนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอันจะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกให้เรามีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น บรรดาบรรชนยุคแรกหรืออัสสลัฟุซซอและฮฺ ได้เฝ้ารอคอยการมาของเดือนนี้อย่างใจจดใจจ่อ พวกเขาได้ขอดุอาฮฺต่ออัลลอฮฺ เป็นเวลาหลายเดือนก่อนการมาของรอมฎอนเพื่อให้เขามีโอกาสต้อนรับรอมฎอน นอกจากนั้นยังขอดุอาอฺอีกหลายต่อหลายเดือนภายหลังจากรอมฎอนจากไปแล้วเพื่อให้พระองค์ทรงรับการงานที่พวกเขาพากเพียรปฎิบัติตลอดเดือนรอมฎอนที่ผ่านไปแล้ว ชีวิตของบรรดาบรรพชนรุ่นแรกนั้นช่างมีความผูกพันกับรอมฎอนเป็นอย่างยิ่ง เราในฐานะที่เป็นผู้ที่ต้องการเจริญรอยตามแบบอย่างของพวกเขาทั้งหลายก็ควรที่จะสร้างความรู้สึกเหล่านี้ให้เกิดให้ได้ ความรู้สึกผูกพันกับวันเวลาในการทำอิบาดะฮฺ ผูกพันกับบรรดาช่วงเวลาอันประเสริฐที่อัลลอฮฺ ทรงมอบให้กับเรา การใกล้ชิดเช่นนี้จะช่วยให้ตารางชีวิตของเรามีรสชาดและยังเป็นการเพิ่มพูนความสุขให้กับชีวิตมากขึ้น มีฮะดีษหนึ่งรายงานจากท่านอนัส อิบนุ มาลิก จากท่านรอซูล (เป็นสายสืบที่อ่อน) บันทึกโดยอะหฺมัดและอัตฏ๊อบรอนียฺ ท่านรอซูล ได้กล่าวดุอาอฺ ขณะที่ท่านได้อยู่ในเดือนรอญับว่า
“ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้เรามีความจำเริญในเดือนรอญับและเดือนชะอฺบาน และขอให้เราบรรลุสู่เดือนรอมฎอนด้วยเถิด... ”
บรรดาผู้ศรัทธาควรเตรียมพร้อมต้อนรับรอมฎอนด้วยการชุโกรขอบคุณและสำนึกในความกรุณาที่พระองค์อัลลอฮฺ ทรงประทานชีวิตและสุขภาพพลานามัยอันสมบูรณ์ให้เราได้มีโอกาสเข้าสู่รอมฎอนและทำอิบาดะฮฺอีกปีหนึ่ง มีกี่คนที่อยากจะทำความดีในเดือนรอมฎอนแต่ก็หมดโอกาสเสียแล้ว มีกี่คนที่ขอแค่ได้มีโอกาสกลับมาละหมาดเพียงสองร็อกอะฮฺหรือถือศีลอดเพียงแค่วันเดียวในเดือนรอมฎอน เพราะรู้แล้วว่าจะได้รับผลบุญมากมายมหาศาลเพียงใด แต่เขาก็ไม่มีโอกาสอีกแล้วที่จะกลับมาบนโลกดุนยานี้ อัลลอฮฺ ยังให้โอกาสเราทำความดีในเดือนรอมฎอนอีกปีหนึ่ง พระองค์ยังให้โอกาสเราละหมาดตะรอเวียะฮฺ บริจาคทาน อ่านกุรอาน เปิดโอกาสให้เรากลับเนื้อกลับตัว ทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรก ทรงประทานคืนอัลก็อดรฺซึ่งดียิ่งกว่าพันเดือน ทรงประทานความโปรดปรานต่างๆมากมายให้แก่เราเพื่อให้เราได้แสวงหาและมุ่งมั่นในการใกล้ชิดกับพระองค์ ดังนั้นในเดือนอันมีเกียรตินี้ เราควรที่จะแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮฺด้วยการตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี ให้สมกับที่พระองค์ได้โปรดปรานเราอย่างมากมาย อัลลอฮฺ ได้ทรงตรัสไว้ว่า...
ความว่า “ ดังนั้น หากพวกเขาจริงใจต่ออัลลอฮฺแล้ว ก็จะเป็นการดีแก่พวกเขา ”
แน่นอนว่าการที่เราตั้งใจการทำความดีเพื่ออัลลอฮฺ ผลตอบแทนก็จะได้แก่ตัวเราเอง พระองค์ไม่ได้ต้องการอะไรจากเรา เพราะพระองค์คือพระผู้เป็นเจ้า ทรงเพียงพอมั่งมี ทรงได้รับการสรรเสริญ พระองค์ไม่ต้องพึ่งเรา แต่เราต่างหากที่ต้องการพระองค์ และเราต้องกลับไปรับผิดชอบต่อพระองค์ในความโปรดปรานต่างๆที่พระองค์ให้วัน เราได้รับสายตาสามารถมองเห็นสัญญาณของพระองค์ เราได้คิดและไตร่ตรองแค่ไหน เราได้รับสติปัญญา ได้รับการได้ยิน เราได้ใช้มันพิจารณาการมีอยู่ของพระองค์มากเท่าไหร่ เราขอบคุณพระองค์บ้างหรือไม่ ??? ขอให้พวกเราทั้งหลายจงตระหนักในสิ่งเหล่านี้ให้มากๆ เมื่อเราตระหนักแล้วก็จงแสดงการขอบคุณด้วยการเชื่อฟังพระองค์เถิด จงปฏิบัติความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์ ขอให้เมื่อพระองค์ทรงมองมายังเราแล้ว เห็นเราอยู่ในสถานะของบ่าวที่จงรักภักดี เห็นเราในสถานที่ที่พระองค์ทรงโปรดปราน และเห็นเราในเวลาที่พระองค์ทรงพอพระทัย อย่าให้เมื่อพระองค์ทรงมองมายังเราแล้วเห็นเรากำลังทำในสิ่งไร้สาระ กำลังดูในสิ่งที่ต้องห้าม ไม่ได้เห็นเราอยู่ในมัสยิด ไม่ได้เห็นเราบริจาค ไม่ได้ละหมาด ไม่ได้อ่านกุรอาน เอาแต่ดูหนัง ดูละคร ฟังเพลง เที่ยว ไม่แม้แต่จะเสนอตัวต่อพระองค์ แล้วอย่างนี้ อัลลอฮฺ จะทรงประทานความรักความเมตตาให้กับเราได้อย่างไรกัน ??...
การตั้งใจทำความดีให้มีประสิทธิภาพนั้น สิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกันก็คือการวางแผน การวางแผนทำความดีจะช่วยให้เรารู้ว่าในเดือนรอมฎอนนี้เราต้องทำอะไร อย่างไร ที่ไหนและเมื่อไหร่ ซ้ำยังเป็นการกระตุ้นให้เรานั้นมีความกระตืนรือร้นในการทำความดีมากขึ้นด้วย หากเราเข้าเดือนรอมฎอนโดยไม่ได้มีแผนการอะไรเลย อาจจะทำให้รอมฎอนของเราเป็นรอมฎอนที่ไร้ระเบียบและขาดประสิทธิภาพได้ จะทำอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนก็แล้วแต่โอกาสแล้วแต่อารมณ์ จนบางครั้งอาจจะไม่ได้ทำอะไรเลย ซึ่งน่าเสียดายและขาดทุนเป็นอย่างยิ่ง ท่านรอซูล ขณะที่ท่านกำลังก้าวขึ้นบันไดมิมบัร ท่านได้กล่าวอามีนสามครั้ง บรรดาศอฮาบะฮฺแปลกใจจึงถามท่านว่าทำไม่ท่านจึงกล่าวอามีน หนึ่งในสามเหตุผลที่ท่านรอซูล ได้กล่าวอามีน ท่านได้กล่าวว่า...
ความว่า “ ..แท้จริงญิบรออีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้วกล่าวว่า ผู้ใดเข้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น