้่่้้่้่hjghjgj

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

10 ที่เที่ยวปัตตานี สุดฮิต ต้องไปเยือนสักครั้ง!!



       ปัตตานี เป็นหนึ่งในห 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้ คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายูปัตตานี ڤطاني  ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini (ชายหาดแห่งนี้) อีกทีหนึ่ง
ปัตตานี สำหรับหลายคน จะบอกว่า “ไปทำไม น่ากลัวจะตาย”, “อันตรายขนาดนั้น ไม่กลัวเหรอ” หรือ “มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทุกวัน ยังจะกล้าลงไปอีกหรือ?” และอีกหลายคำพูดที่คนทั่วไปกล่าวถึงปัตตานี และพื้นที่อื่นๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ถ้าหากได้มีการเปิดใจ ปัตตานีก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวรอไว้ให้ทุกคนมาได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นแลนด์มาร์คประจำจังหวัด แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หาดทรายที่ยังคงความสวยงามทั้งผืนน้ำและบรรยากาศ หรือการผจญภัยตามไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ทุกเพศทุกวัย
ขอรวบรวม สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี อัญมณีแห่งปลายด้ามขวาน กับ10 ที่เที่ยวปัตตานี สุดฮิต ต้องไปเยือนสักครั้ง!!


1. มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี 
   มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามมีความโดดเด่น และยังเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง




2. มัสยิดกรือเซะ หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์  จังหวัดปัตตานี
    มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี ในจังหวัดปัตตานี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถาน ที่สร้างขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิกของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง)



3. วังหนองจิก จังหวัดปัตตานี
    ตั้งอยู่ที่บ้านตุยง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เจ้าเมืองหนองจิกคนสุดท้าย คือ พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์วาปีเขตมุจลินท์นฤบดินทร์ สวามิภักดิ์ (พ่วง ณ สงขลา ) เป็นผู้อยู่อาศัยในวังนี้ ประวัติการก่อสร้างสันนิษฐานว่าอาจสร้างมาตั้งแต่เจ้าเมืองหนองจิกคนก่อน (ทัด ณสงขลา) ก่อนปี พ.ศ.2437 ตัววังที่เหลืออยู่ประกอบด้วยอาคารบริวาร 2 หลังเป็นอาคารชั้นเดียว แต่ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร สำหรับอาคารที่เป็นตัววังนั้น ถูกรื้อถอนไปในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา วังหนองจิกล้อมรอบด้วยกำแพงวัง แถบซุ้มประตูแบบสถาปัตยกรรมจีนภายในบริเวณวังมีบ่อน้ำ แผ่นอิฐปูพื้นขนาด 1*1 ฟุต สภาพยังสมบูรณ์ ส่วนอาคารบริวารที่เหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กรมศิลปากรมีโครงการบูรณะในปีงบประมาณ 2543



4. วังยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
    วังยะหริ่ง สร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปีพ.ศ.2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลยามู ในเขตจังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U) ชั้นบนภายในอาคาร จัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของ เจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน

5. เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี
เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี  ตั้งอยู่ในบริเวณ หมู่ที่ 3 ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี  เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. 700 - 14000 ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี
เมืองโบราณยะรัง เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12



6. แหลมตาชี จังหวัดปัตตานี
    แหลมตาซี หรือแหลมโพธิ์  เป็นหาดทรายขาวต่อจากหาดตะโละกาโปร์ เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย (Sand Spit) ไปในทะเลอ่าวไทยทางทิศเหนือ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางไปแหลมตาชีไปได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำ นั่งเรือจากปากแม่น้ำปัตตานีตรงไปยังแหลมตาชีเลย ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษ หรือ นั่งเรือจากท่าด่านอำเภอยะหริ่ง ออกมาตามคลองยามู จนถึงทะเลในไปจนถึงแหลมตาชี ทางบก จากอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูมาตามสะพานไม้ มีถนนตัดเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร จนถึงปลายแหลมตาชี


7. หาดตะโละกาโปร์ จังหวัดปัตตานี
หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูตามสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ ผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนและหมู่บ้านไปจนถึงทางแยกเข้าสู่หาด รวมระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เคยประกวดแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้ที่ 2 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประจำปี 2529 หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม


8.  ตลาดนัดรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี 
    ตลาดนัดรูสะมิแล เป็นตลาดเสื้อผ้ามือสองชื่อดังแห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี อยู่ไม่ไกลจาก มอ.ปัตนานี จึงเป็นที่นิยมของเหล่าบรรดานักศึกษาของที่นี่ นอกจากเสื้อผ้ามือสองแล้วยังมีพวกของเล่นเด็กแบรนเนมคุณภาพดี และ ของพรีเมียม อีกด้วย ตลาดนี้มีเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น แอดมินแนะนำให้นำร่มไปด้วยเพราะเดินยาวมากๆ แต่ก็สนุกสำหรับคนที่ชอบของเก่าของมือสอง



9. สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี
   สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าว่า ลิ้มกอเหนี่ยว ได้ลงเรือสำเภามาตามพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งมาแต่งงานกับธิดาพระยาตานี และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกลับประเทศจีนไม่สำเร็จ จึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงได้ฝังศพลิ้มกอเหนี่ยวไว้ที่นี่ ต่อมาชาวปัตตานี นำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตาย มาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้าขึ้น



10. สกายวอล์ค จังหวัดปัตตานี 
สถานที่สุดท้ายใครพลาดถือว่ามาไม่ถึงกับ สกายวอล์ค (Skys walk) ที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ปัตตานี ตั้งอยู่ที่ระหว่างทะเลหาดรูสะมีแล กับสวนสมเด็จศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ในสวนแม่สวนลูก  ต.รูสะมีแล อ.เมือง จ.ปัตตานี  สกายวอล์ค แห่งนี้สามารถชมวิวทิวทัศน์แบบพาโนรามา ชมเมืองปัตตานี วิถีชีวิตชาวประมง รวมถึงชมความงดงามของ พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น