้่่้้่้่hjghjgj

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

#ข้าวหอมกระดังงา​ #ข้าวพันธุ์พื้นเมืองตากใบ

#ข้าวหอมกระดังงา​ #ข้าวพันธุ์พื้นเมืองตากใบ
       หลายท่านคงจะสงสัยว่า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการทำนาปลูกข้าวบ้างหรือไม่ คำตอบคือมีค่ะ และมีหลายพื้นที่ด้วย ซึ่งวันนี้ทีมงาน​#ชีวิตดี๊ดีที่ชายแดนใต้​ จะนำทุกท่านไปที่​ #อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อไปดูการรวมกลุ่มกันปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองพร้อมแปรรูปเป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้านกันค่ะ

     ผืนนาเขียวขจี กว่า 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมกระดังงา พันธุ์ข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมที่ขึ้นชื่อของอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ด้วยลักษณะพิเศษเมล็ดมีสีแดง เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมดุจดอกกระดังงา และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการไม่ด้อยกว่าข้าวพันธุ์ใดๆ หลายคนที่ได้ลิ้มลองจึงต้องติดใจในรสชาติ ทำให้ชาวนาซึ่งเดิมทำนาปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักต้องขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น พร้อมกับรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางขุนทองพัฒนา (โคกงู) 📍✨ผลิตข้าวหอมกระดังงาขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังมีการปลูกข้าวสังข์หยด ข้าวไรซ์เบอรี่ ก่อนที่จะนำมาแปรรูปเป็นข้าวกล้อง และแป้งข้าวหอมกระดังงา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมกระดังงาอีกด้วยค่ะ
      คุณประนอม พรมเจียม ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางขุนทองพัฒนา (โคกงู) บอกกับทีมงานของเราว่า ในอดีตชาวบ้านที่นี่นิยมปลูกข้าวไว้กินในครอบครัวของตนเอง แต่เมื่อเหลือกินก็ไม่รู้จะเอาไปขายที่ไหนเพราะทุกบ้านก็ทำนาเหมือนกันหมด ตลาดข้างนอกก็ยังไม่มี จากนั้นเมื่อมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาแนะนำไม่ว่าจะเป็นพัฒนากรอำเภอ เกษตรอำเภอ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมรับฟังความต้องการของชาวบ้าน จึงมีการลงความเห็นร่วมกันว่าเราน่าจะแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นข้าวหอมกระดังงาบรรจุถุง ที่สามารถเปิดหุงได้ทันทีเมื่อผู้บริโภคต้องการ🍚🍚 ดังนั้นจึงได้ของบประมาณเพื่อซื้อเครื่องสีข้าว เครื่องบรรจุถุง และสร้างโรงเรือนไปยังหน่วยงานต่างๆข้างต้น จนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและสามารถส่งผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมกระดังงาออกขายจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
      การทำนาปลูกข้าวและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมกระดังงาของชาวบ้านบางขุนทองพัฒนาหรือบ้านโคกงู นอกจากจะสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาวบ้านแล้ว สิ่งหนึ่งที่ได้จากโครงการนี้ก็คือการได้พลิกฟื้นอาชีพการทำนาที่กำลังถูกปล่อยทิ้งร้างให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญาและรักษาพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่อำเภอตากใบ ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษเพื่อส่งอาชีพการทำนานี้ไปยังคนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น