วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

OTOP นวัตวิถี “บ้านปาเระ” เสน่ห์ความงดงามของวิถีชีวิตในชุมชน



     "การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยให้ภาคเอกชน ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP"

        หนึ่งในแนวคิด OTOP นวัตวิถี ที่ภาครัฐผลักดันจนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชุมชน ความกระตือรือร้น การร่วมแรงแข็งขันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อันเป็นภูมิปัญญานำสู่ความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ผ่านเรื่องราวเสน่ห์ความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นต้นทุนของชุมชนที่มีอยู่แต่เดิมให้กลายเป็นจุดดึงดูด เพื่อนำพานักท่องเที่ยวมาสู่ชุมชน และผลักดันให้เกิดกำลังซื้อสินค้าและบริการของชุมชนที่มีชาวบ้านเป็นผู้ผลิต เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ฐานราก

        ในความเป็นชุมชนที่ติดทะเล คนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ในแนวทางเดียวกัน สามารถทำทุกอย่างร่วมกันได้ อย่างไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้น จึงทำให้ชุมชนบ้านปาเระ หมู่ที่ 1 ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งใน 50 ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบนวัตวิถีโดยการนำภูมิปัญญาการทำว่าวบูลันและกระต่ายขูดมะพร้าว (บาราโหม)การทำว่าวบูหลัน ซึ่งตำบลบาราโหมขึ้นชื่อเรื่องว่าวเป็นอย่างมาก เพราะเคยแข่งขันชนะในระดับ 3 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการแข่งด้านทักษะหรือความสวยงาม ว่าวที่นี่ก็ไม่เคยแพ้ที่ไหนมาก่อน นอกจากว่าวบูหลันแล้ว ก็ยังมี ว่าวดอกชบา ว่าวมลายูพื้นบ้าน ว่าวนก ว่าวโนราห์ ว่าวลาแย เป็นต้น สำหรับวิธีการผลิตว่าวนั้น ใช้ไม้ไผ่มาเหลาโดยใช้มีดเหล่าที่ใช้ทำว่าวโดยเฉพาะ สีที่ใช้คือสีโปสเตอร์วาดลวดลาย ระยะเวลาการทำขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของว่าว ใช้เวลาตั้งแต่ 20 วัน ถึง 1 เดือน

       กระต่ายขูดมะพร้าว หรือ กอแร ในภาษาถิ่น เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นโดยชาวบ้านเอง สลักลายมลายูเป็นรูปสิงห์อันนี้เป็นงานแฮนด์เมดแกะสลักไม้ล้วนๆอยู่ในราคาตั้งแต่ 3,000- 25,000 ใครที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ต.บราโหม ยังคงมีร่องรอยอารยธรรมจากสุสานพญาอินทิรา หรือสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี อันเป็นสถานที่ฝังพระศพของเจ้าเมืองปัตตานีพระองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และสถาปนาเมืองปัตตานีเป็นนครปาตานีดารุสสาลาม นอกจากนั้นยังมีสุสานราชินี 3 พี่น้อง หรือสุสานกษัตริย์หญิงสามพระองค์คือ รายาฮีเยา รายาบีรู และรายาอูงู ให้เข้าชมได้อีกด้วยจ้ะ

        "เราใช้สื่อในการบอกเล่า คนที่เข้ามาท่องเที่ยวจริงๆ คนที่เข้ามาสัมผัสจริงๆ จะเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดในเรื่องของการท่องเที่ยว กระแสท่องเที่ยวภูมิปัญญานับว่าเป็นส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอันที่จะส่งเสริมด้านเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งได้มาจากนักท่องเที่ยวที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ชาวมาเลเซียและจากกรุงเทพ ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่โด่งดังและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กระแสตอบรับดีมากด้วย" นายอูเซ็ง เบญนูรุดดีน กำนันตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
การท่องเที่ยวที่ผูกพันกับชุมชน คือการที่คนในขุมขนสร้างความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวจะกลับมาหาชุมชนอีกครั้ง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น