นาซิดาแฆ
เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้
ซึ่งนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คำว่า "นาซิดาแฆ" มีหลายความหมาย
หมายถึง ข้าวสำหรับคนอนาถา
การได้ชื่อเช่นนี้สืบเนื่องมาจากส่วนประกอบสำคัญของนาซิดาแฆเป็นส่วนผสมระหว่างข้าวจ้าวกับข้าวเหนียวผู้มีรายได้น้อยถ้ามีข้าวจ้าวกับข้าวเหนียวเพียงบางส่วนก็สามารถนำมาปนกันทำเป็นอาหารได้แล้ว
วิธีการทำ/เครื่องปรุง
นาซิดาแฆประกอบด้วย ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ขิง
ลูกซัด (ฮาลีมอ)
หอมซอย น้ำกะทิ
วิธีปรุง
ใช้ข้าวจ้าว ๓ ลิตร ข้าวเหนียว ๑ ลิตร มาปนกันแช่น้ำ ๑ คืน
การนึ่งจะนึ่ง ๓ ครั้ง ครั้งแรกเป็นการนึ่งให้พอสุกเป็นไต
เมื่อนึ่งสุกแล้วให้เทใส่ภาชนะ
แล้วเอาหางกะทิคั้นไว้ผสมเกลือเล็กน้อยราดลงในข้าวคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วมูนกะทิไปนึ่งอีก
เป็นครั้งที่สองเสร็จแล้วยกลงเทใส่ภาชนะเอาหัวกะทิที่แยกไว้มามูนอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่สาม
เพื่อให้ข้าวนิ่มและกะทิที่ใช้มูนให้ข้าวสุก เมื่อได้ข้าวเหนียวสุกแล้ว ผสมกับขิง
หอมซอย ลูกซัด สามารถเก็บไว้ได้ทั้งวันไม่บูด นาซิดาแฆนิยมรับประทานกับแกงไก่
แกงปลา หรือแกงไก่และซามาโญ (มะพร้าวคั่วตำรวมกับน้ำตาล เกลือ) ที่ต่างปรุงพิเศษ
สำหรับรับประทานกับนาซิดาแฆโดยเฉพาะ
ประโยชน์
นาซิดาแฆมักจะทำแจกจ่ายให้รับประทานกันในวันฮารีรายอซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลามนอกจากนี้ยังนิยมทำรับประทานในวันธรรมดาด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่ามาเลเซียไม่มีนาซิดาแฆแบบมุสลิมภาคใต้ แต่จะมีนาซิลือเมาะ
ซึ่งใช้ข้าวเหนียวมากกว่าข้าวจ้าวและเครื่องเคียงจะใช้ปลาอิกาบิริ
(ปลาเค็มตัวเล็กๆ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น