ตำบลภูเขาทองได้นำชื่อบ้านภูเขาทองมาเป็นชื่อตำบล
โดยที่มาของชื่อหมู่บ้านภูเขาทองมาจากตอนที่ชาวบ้านได้มาขุดหลุมวางเสาที่พักชั่วคราว
แล้วเจอทองคำจึงได้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านภูเขาทอง
ซึ่งครั้งหนึ่งชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำตามที่กล่าวมาข้างต้น
ปัจจุบันบ้านภูเขาทองแม้จะยกเลิกสัมปทานไปแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ทองคำยังคงอยู่
นับเป็นอีกหนึ่งความอะเมซิ่งของตำบลภูเขาทอง
ที่วันนี้ชาวบ้านส่วนหนึ่งของที่นี่ยังคงไว้ซึ่งการร่อนแร่ทองคำในลำน้ำตามวิถีแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน
การร่อนทองที่บ้านภูเขาทอง
หลักๆก็จะเหมือนกับที่อื่นๆ คือจะมีการนำอุปกรณ์ร่อนทองที่ชาวบ้าน (ที่นี่) เรียกกันว่า“ชะเลียง”หรือ“เลียง” อุปกรณ์ร่อนทองรูปร่างคล้ายกระทะทำจากไม้หลุมพอ
ไปยืนในตำแหน่งน้ำไหลที่น่าจะมีแร่ทองคำลงไปร่อนแร่ แล้วร่อนไปเป็นรอบๆ ไม่นานก็ได้ทองคำขึ้นมาให้รวบรวมนำไปขายได้แล้ว พี่ที่ชำนาญการร่อนแร่หาทองคำคนหนึ่งให้คำแนะนำผมว่า
เราต้องรู้จุด รู้ตำแหน่งน้ำไหล แล้วก็วิธีการในการแยกทองออกจากเศษดินทราย
ซึ่งถ้าทำเป็นโอกาสได้ทองที่นี่มีถึง 80-90 % เลยทีเดียว
สำหรับทองคำที่นี่เป็นทองคำบริสุทธิ์
เป็นหนึ่งในวิถีของชาวสุคิรินที่ทำเป็นอาชีพเสริม
โดยเมื่อเสร็จจากอาชีพหลักก็จะลงไปร่อนแร่หาทองคำกันในลำคลอง(นิยมทำกันในช่วงเย็น
เพราะไม่ร้อนมาก) สนนราคาขายกันกรัมละพันกว่าบาท บางคนหาขายทองได้หลักร้อย
หลักหลายร้อยต่อวัน บางคนโชคดีก็ขายได้วันละเป็นพัน นับเป็นรายได้เสริมที่รายได้ดีทีเดียว
านนี้ถ้าหากใครอยากจะลองร่อนทองลุ้นโชคก็สามารถทำกันได้
เพราะทางอำเภอสุคิรินเขามีโครงการเปิดให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมร่วมร่อนทองลุ้นโชค
รวมถึงเปิดพื้นที่ “อุโมงค์เหมืองทองคำ” และ “อุโมงค์ลำเลียง”
แห่ง “เหมืองทองคำโต๊ะโมะ” (บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) ที่วันนี้แม้จะเลิกร้างกิจการไปแล้ว
แต่ก็ยังเหลือร่องรอยของอดีตให้เที่ยวชมกัน
------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น