พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความ หลากหลายและการอยู่ร่วมกันของผู้คนต่างศาสนิกเป็นภาพที่ชินตามาอย่างยาวนาน โดยภาพที่สะท้อนให้เห็นคือการอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธ มุสลิม ในชุมชนเดียวกัน วัดและมัสยิดอยู่คนละฝั่งถนน หันหน้าเข้าหากัน ผู้คนเดินทางมาด้วยกันและแยกเดินเข้าวัดหรือมัสยิดตามศาสนาที่ตนเองนับถือ นี่คือความสวยงามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และเพื่อเป็นการสะท้อนภาพเหล่านั้นออกมาให้สังคมได้เห็นถึงวิถีชีวิตที่สวยงามและเป็นสุข
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา
นาคอุไรรัตน์ พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย
ชัยสุขโกศล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นำพระภิกษุ ภิกษุณี
และผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี
ร่วมลงพื้นจัดกิจกรรมเพื่อนรักต่างศาสนา ผู้นำการขับเคลื่อนถักทอสันติภาพและการปรองดองในสังคมไทย ณ
วัดและมัสยิดในพื้นที่จังหวัดสตูล สงขลา และตรัง
กิจกรรมที่จัดขึ้นนี้เพื่อลดมุมมองปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จากภายนอก
โดยการอยู่ร่วมกันของประชาชนที่นับถือศาสนาแตกต่างกันในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป
ซึ่งกิจกรรมนี้ได้นำหลักสุขภาพเป็นตัวนำ โดยให้พระภิกษุ ภิกษุณี
และผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่ร่วมเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ
และเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ดูแล
พร้อมสวดมนต์ให้พรแก่ผู้ป่วยที่นับถือศาสนาพุทธหรือขอดุอาร์ให้แก่ผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอิสลาม
และยังเป็นการสร้างความคุ้นเคย
ความปรองดองให้แก่คณะที่ร่วมกิจกรรมจากการลงพื้นที่ร่วมกัน
นอกจากจะได้เยี่ยมเยียนผู้ป่วยแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็นต่าง ๆ
นำไปสู่ความร่วมมือและการทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน
สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดสตูลนั้น
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลนำคณะลงพื้นที่วัดชนาธิปเฉลิม
พระอารามหลวง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิเทศก์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง , ประธานคริสต์จักรจังหวัดสตูล และผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล
ร่วมให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางต่อไปมัสยิดบูเก็ตบูหงา ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล โดยมีนายอรุณ อุมาจิ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล
และกรรมการมัสยิดบูเก็ตบูหงา ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมจัดกิจกรรมเสวนาสร้างสันติภาพ
และการปรองดองในพื้นที่และติดตามการดำเนินงานของมัสยิดบูเก็ต บูหงา โดยยกให้จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่มีความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น