วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

นราฯ เตรียมจัดงาน OTOP ทั่วไทย ประสานใจ สู่แดนใต้ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ครั้งที่ 2

          ผู้ว่าฯนราธิวาส เปิดแถลงข่าวเตรียมจัดงาน OTOP ทั่วไทย ประสานใจ สู่แดนใต้ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 11 ก.ค.60  ณ สนามกีฬามหาราช อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส คาดจะมีเงินสะพัดในการจัดงานในครั้งนี้  ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส นายสิทธิชัย  ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP ทั่วไทย ประสานใจสู่แดนใต้ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-11 ก.ค.60  โดยมีนายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก นายเมธา ภมรานนท์ นายด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก นายไกรวุฒิ ช่วยสถิตย์ พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส พ.ท.พงศกร แสงกูล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30  และ พ.ต.ต.จรูญ ด้วงไข่ สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เป็นการยกระดับสินค้า OTOP ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยดำเนินการจัดขึ้น 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกสามารถทำยอดขายกว่า 17 ล้านบาท  

          โดยพิธีเปิดงาน OTOP ทั่วไทย ประสานใจสู่แดนใต้ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 6 กรกฏาคม 2560 เวลา19.30 น. ณ เวทีกลางสนามกีฬามหาราช อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และคาดว่าในการจัดงานครั้งที่ 2 นี้ จะมีเงินสะพัดมากถึงกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งการจัดงานครั้งนี้จะมีเงินสะพัดมากมายทั้งร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม รถรับแจ้ง จะมีรายได้มากขึ้นจากปกติหลายเท่าตัว รวมทั้งมีการเพิ่มจำนวน บูธ ร้านค้าจาก 110 บูธ เป็น 150 บูธ สินค้าโอทอเกรดระดับ 3 – 5 ดาว เพิ่มจำนวนอาหารจากเดิม 47 บูธ เป็น 65 บูธ ตามคำเรียกร้องของประชาชน พร้อมทั้งเพิ่มเวลาจำหน่วยในแต่ละคืนจากเดิม 14.00 น.มาเป็น 11.00 น.คาดหวังว่าพี่ใน 2 จ.ใต้รวมถึงชาวต่างประเทศจะมาเที่ยวและสนับสนุนสินค้าโอทอปในงานครั้งนี้เป็นจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก 


          ส่วนการพัฒนาพื้นที่ในระดับนโยบายนั้น การสร้างสะพานข้ามพรมแดนที่ อ.ตากใบ และสุไหงโก-ลก นั้น อยู่ในแผน IMTGT ที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้จับมือร่วมกันในแผนปี 2562 ที่จะบรรจุเข้าไป โดยในรายละเอียดต่างๆนั้น เป็นเรื่องความสำพันธ์ระหว่างประเทศที่จะต้องไปคุยในรายละเอียดระดับรัฐบาลต่อไป ด้านนายไกรวุฒิ ช่วยสถิตย์ พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดงาน OTOP ทั่วไทย ประสานใจสู่แดนใต้ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ครั้งที่ 2 จะมีผู้ประกอบการจาก 4 ภาค ทั่วประเทศไทย ได้แก่ ภาคใต้ จำนวน 85 บูธ ภาคกลางจำนวน 27 บูธ ภาคอีสาน จำนวน 21 บูธ และภาคเหนือ จำนวน 17บูธ ส่วนประเภทผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประกอบด้วย5ประเภท คือ ประเภทอาหาร จำนวน 65 บูธ ประเภทเครื่องดื่ม จำนวน 20 บูธ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 21 บูธ ประเภทของใช้ ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก จำนวน 26 บูธ และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน18 บูธ ส่วนการแสดงบนเวที มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดนราธิวาส การเทศนาธรรม และการแสดงของศิลปินดารา นักร้องทุกค่ำคืน โดยในวันที่ 5 ก.ค. พบกับดีเกฮูลู เป๊าะแต๊ะกุแบอีแก วันที่ 6 ก.ค.พบกับศิลปินตั๊กแตน ชลดา วันที่ 7 ก.ค.พบกับศิลปินวงมอร์แกน วันที่ 8ก.ค.พบกับศิลปินวงลี แบนวาไรตี้ วันที่ 9ก.ค.พบกับศิลปินวง Lก-ฮ วันที่ 10ก.ค.พบกับศิลปินวงไฉไลวาไรตี้ และวันที่ 11ก.ค.พบกับศิลปินวงกลม  นอกจากนี้ยังมีการแสดงนิทรรศการการเชื่อมโยงศักยภาพของเมือง

          3 เมืองต้นแบบ ได้แก่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมืองต้นแบบการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมืองต้นแบบการท่องเที่ยวครบวงจร การแสดงนิทรรศการเด่นจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ผ้าท่อนราธิวาส และผลการดำเนินงานบริษัทประชารัฐสามัคคี (นราธิวาส)จำกัด และการสาธิต ด้านนายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก กล่าวในภาพรวมในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวก ว่า การจัดงานครั้งนี้ทางหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงและภาคประชาชนได้มีการหารือในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกโดยได้ศึกษาการรักษาความปลอดภัยจากการจัดงานครั้งแรกมาปรับเปลี่ยนและเพิ่มความปลอดภัยจากเดินให้มากขึ้น โดยมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวงานในครั้ง ด้าน พ.ท.พงศกร แสงกูล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 และ พ.ต.ต.จรูญ ด้วงไข่ สารวัตรป้องกันปราบปราม สภ.สุไหงโก-ลก รับผิดชอบด้านความมั่นคงและการจัดการจราจร ได้เสริมกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ทหาร ฝ่ายปกครอง และกำลังภาคประชาชน ในการดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนที่จะเข้ามาในงาน โดยทุกคนต้องผ่านการตรวจตราอย่างละเอียดด้วยเครื่องตรวจวัตถุระเบิดหน้าประตูทางเข้าก่อนเข้างาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการและดูแลระบบจราจร และสถานที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ทุกชนิด โดยแบ่งโซนอย่างชัดเจนห่างจากจุดจัดงานเพื่อป้องกันการลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ โดยมีกำลัง อส.และกำลังภาคประชาชนจะคอยดูแลความปลอดภัยทั้งในและนอกบริเวณงานอย่างเต็มที่เพื่อดูแลความเรียบร้อยรักษาความสงบในพื้นที่บริเวณงานตลอดทั้ง 7 วัน


นามปากกา-นักเดินทาง

ร้านขายต้นไม้ยะลา เตรียมเพาะดาวเรืองนับพันต้นเพื่อให้ออกดอกในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9


ร้านขายต้นไม้ยะลา เตรียมเพาะดาวเรืองนับพันต้นในเดือนสิงหาคม ให้ประชาชน เลือกซื้อนำไปปลูก แสดงความจงรักภักดีแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมออกดอกเหลืองบานสะพรั่งในช่วงงานพระราชพิธี ขณะชาวบ้าน หน่วยงาน เลือกซื้อ สั่งจอง ต่อเนื่อง

ร้านขายต้นไม้ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เริ่มเพาะต้นดาวเรืองนำมาวางหน้าร้าน เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้มาซื้อและมาสั่งจอง โดยมีประชาชนให้ความสนใจมาเลือกซื้อ สอบถามวิธีการปลูก เพื่อให้ออกดอกในช่วงงานพระราชพิธี พร้อมสั่งเพาะดาวเรืองกันอย่างต่อเนื่อง


ร้านขายต้นไม้ยะลา เตรียมเพาะดาวเรืองนับพันต้นในเดือนสิงหาคม ให้ประชาชน เลือกซื้อนำไปปลูก แสดงความจงรักภักดีแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมออกดอกเหลืองบานสะพรั่งในช่วงงานพระราชพิธี ขณะชาวบ้าน หน่วยงาน เลือกซื้อ สั่งจอง ต่อเนื่อง

ร้านขายต้นไม้ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เริ่มเพาะต้นดาวเรืองนำมาวางหน้าร้าน เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้มาซื้อและมาสั่งจอง โดยมีประชาชนให้ความสนใจมาเลือกซื้อ สอบถามวิธีการปลูก เพื่อให้ออกดอกในช่วงงานพระราชพิธี พร้อมสั่งเพาะดาวเรืองกันอย่างต่อเนื่อง
โดยส่วนใหญ่ถ้าซื้อช่วงนี้ก็จะปลูกกันไปก่อน โดยจะมาเลือกซื้อทั้งต้นเล็ก ราคาต้นละ 10-15 บาท และต้นใหญ่ พร้อมออกดอก ราคาต้นละ 35 บาท 3 ต้น 100 บาท และก็จะมาซื้อกันอีกครั้งหนึ่งในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อให้ออกดอกทันในช่วงงานพระราชพิธี นอกจากนี้ก็ยังมีทางหน่วยงานราชการต่างๆ มาสั่งเพาะดาวเรืองบ้างแล้ว โดยแต่ละหน่วยงานก็จะสั่งไม่ต่ำกว่า 100 ต้น เพื่อให้บานสะพรั่งออกดอกสีเหลืองสวยงามตามวันที่กำหนด ซึ่งทางร้านก็จะกำหนดวันเพาะ วันออกดอกไว้ให้



หลังจากรุ่นแรกที่เพาะไว้ ทางร้านก็ได้เพาะดาวเรืองรุ่น 2 รุ่น 3 ไว้แล้ว พร้อมทั้งได้จัดซื้อเมล็ดพันธุ์เกรดดีเตรียมไว้เป็นร้อยซอง ซองหนึ่งจะมี 50 เมล็ดพันธุ์ ก็จะปลูกได้เป็นพันต้น เพื่อให้ประชาชน หน่วยงาน โรงเรียน ได้มาเลือกซื้อ โดยจะเริ่มเพาะทั้งหมดในช่วงต้นๆ เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป เพื่อจะได้ทันกับงานพระราชพิธี

สำหรับการปลูกดาวเรืองนั้น จะใช้ระยะเวลาการเพาะ ประมาณ 45 วัน ก็จะออกดอก ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่นำเมล็ดพันธุ์ลงเพาะไว้ในกระบะ โดยใช้ดินผสมมูลไส้เดือนก่อนที่จะนำลงใส่ถุง ใช้ระยะเวลาเพาะ 3 วัน ดาวเรืองก็จะขึ้นเป็นต้น สำหรับประชาชนที่ต้องการปลูกและขยายพันธุ์ต่อนั้น ก็จะต้องซื้อดาวเรืองบ้านไปปลูก หลังจากดอกแห้งเป็นสีดำก็สามารถนำเมล็ดไปตากแดดและเพาะ ต่อได้ ส่วนดาวเรืองพันธุ์ดอกใหญ่ ซึ่งซื้อเมล็ดพันธุ์เป็นซองมาเพาะไว้นี้ จะไม่สามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากทางผู้ขายเมล็ดพันธุ์ได้ตัดพันธุกรรมไว้



ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจ จะซื้อดาวเรืองนำไปปลูกก็สามารถมาเลือกซื้อ และสั่งเพาะดาวเรืองได้ที่ ร้านขายปุ๋ยมูลไส้เดือน ตรงข้ามวัดหลักห้า หมู่ที่ 2 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ร้านขายโรตีชาวมุสลิมในพื้นที่ ยะลา เพิ่มเมนู ”โรตีทุเรียน” เจ้าแรก ขายดี มีรายได้เพิ่มเป็นเท่าตัว


ร้านขายโรตีชาวมุสลิมในพื้นที่ ยะลา เพิ่มเมนู โรตีทุเรียนเจ้าแรก ขายดี มีรายได้เพิ่มเป็นเท่าตัว หลังถูกใจคนชอบทุเรียน

ร้านขายโรตีชาวมุสลิมยะลา ปรับกลยุทธการขาย เพิ่มเมนูใหม่ โรตีทุเรียนพร้อมบริการเดลิเวอรี่ส่งฟรีในเขตเมือง ได้รับการตอบรับจากแฟนพันธุ์แท้ที่ชอบรับประทานทุเรียนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เจ้าของร้านขายดี มีรายได้เสริมเพิ่มเป็นเท่าตัว หลังงานประจำ ขณะลูกค้าชอบใจรสชาติอร่อย ถูกใจคนชอบรับประทานทุเรียนเป็นอย่างมาก



นางสาวนุสรี นิมะเต๊ะ เจ้าของร้านโรตีเดลิเวอรี่ เปิดเผยว่า ปกติตนเองก็จะมีงานประจำทำกับแฟนในช่วงกลางวัน พอหลัง 6 โมงเย็นถึงสองทุ่มของทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ ก็จะนำรถเข็นมาเปิดร้านขายโรตี ที่บริเวณถนนรวมมิตรเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง เมื่อก่อนก็จะทำขายเฉพาะโรตีธรรมดา โรตีใส่ไข่ โรตีกล้วย โรตีไข่กับกล้วย โรตีไมโล และโรตีรวมมิตร ไข่ กล้วย ไมโล ช็อกโกแลต แต่เนื่องจากว่าตนเองเป็นคนชอบรับประทานทุเรียนมาก แฟนก็เลยทดลองทำโรตีทุเรียนให้ทานดู โดยซื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี มาทดลองทำ ชิมดูก็อร่อยดี หอมทุเรียนมาก ก็ได้ให้เพื่อนๆ ช่วยกันชิม ก็ชอบ ก็เลยมาทำขายดูเป็นเจ้าแรกในจังหวัดยะลา




นอกจากนี้ตนเองก็ยังได้เพิ่มบริการส่งถึงบ้าน โดยไม่คิดค่าส่งด้วยแต่จะต้องซื้อโรตีราคา 50 บาทขึ้นไป จะเป็นโรตีอะไรก็ได้ ซึ่งจะนำไปส่งให้ถึงบ้านภายในเขตตัวเมืองยะลา โดยจะเริ่มส่งตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึงสองทุ่ม แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขายหน้าร้านก่อน ซึ่งบางครั้งอาจจะช้าเล็กน้อยแต่ลูกค้าที่สั่งก็จะรอ เนื่องจากสะดวกไม่ต้องออกมาซื้อถึงที่ร้าน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สถิติการก่อเหตุความไม่สงบห้วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปี 60 ลดลง


ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deepsouthwatch : DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้สรุปเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 60-24 มิ.ย. 60 เกิดเหตุร้ายขึ้นทั้งหมด 11 เหตุการณ์ แบ่งเป็นจังหวัดปัตตานี จำนวน 4 เหตุการณ์ , จังหวัดนราธิวาส จำนวน 4 เหตุการณ์ , จังหวัดยะลา จำนวน 3 เหตุการณ์ ส่วนพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ไม่มีเหตุรุนแรง มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 14 ราย และได้รับบาดเจ็บ 23 ราย จำแนกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 7 นาย บาดเจ็บ 14 นาย ประชาชนเสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 9 ราย

เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ในห้วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

ปี 2556 (10 ก.ค. ถึง 7 ส.ค.) เกิดเหตุการณ์รวมทั้งสิ้น 170 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 47 ราย บาดเจ็บ 117 ราย
ปี 2557 (29 มิ.ย. ถึง 27 ก.ค.) เกิดเหตุการณ์รวมทั้งสิ้น 77 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 34 ราย บาดเจ็บ 124 ราย
ปี 2558 (18 มิ.ย. ถึง 16 ก.ค.) เกิดเหตุการณ์รวมทั้งสิ้น 116 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 39 ราย บาดเจ็บ 71 ราย
ปี 2559 (7 มิ.ย. ถึง 5 ก.ค.) เกิดเหตุการณ์รวมทั้งสิ้น 81 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 30 ราย บาดเจ็บ 61 ราย

โดยพบว่าในห้วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 60-24 มิ.ย. 60 เกิดเหตุร้ายขึ้นทั้งหมด 11 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 14 ราย และได้รับบาดเจ็บ 23 ราย จำแนกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 7 นาย บาดเจ็บ 14 นาย ประชาชนเสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ถือว่าเหตุการณ์ความรุนแรงลดลงมาก.
——————–

นามปากกา-นักเดินทาง

เล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย ณ ชายแดนใต้

เล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย ณ ชายแดนใต้



               สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลาจึงกำหนดจัดนิทรรศการภาพถ่ายที่ชนะการประกวด เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพถ่ายที่สะท้อนเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในชายแดนใต้  

               เพื่อเสริมสร้างให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ผ่านภาพถ่ายและนำไปเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบ ตามโครงการประชาสัมพันธ์สร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

สำหรับผลการประกวด รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายสันติ เศษสิน ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  ชื่อภาพ มิตร + ภาพ สถานที่ถ่ายภาพ วัดคูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายพารี แมเล๊าะ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  ชื่อภาพ วิถีธรรม สถานที่ถ่ายภาพ บ้านภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายรุสลี แยนา ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  ชื่อภาพ พลังศรัทธา เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สถานที่ถ่ายภาพ หน้าศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จ.ปัตตานี 

และรางวัลชมเชย จำนวน 8 รางวัล ๆละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร







นามปากกา-นักเดินทาง

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

28 มิถุนายน "วันทหารนาวิกโยธิน"

            หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (Royal Thai Marine Corps) มีหน้าที่บังคับบัญชา นาวิกโยธิน คือ ทหารเรือที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากในน่านน้ำตามปกติ โดยมุ่งเน้นการรบภาคพื้นดิน นับ เป็นการรบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสนับสนุนการรบของทหารเรือ และอาจทำการรบร่วมกับทหารจากหน่วยรบอื่นๆ เช่น ทหารบก หรือ ทหารอากาศก็ได้ นาวิกโยธินจึงเปรียบเสมือนทหารเหล่าราบของกองทัพเรือนั่นเอง

               ทหารเรือฝ่ายนาวิกโยธินนับว่ามีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น     
             ทหารนาวิกโยธิน มีประวัติมาช้านานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีคำว่า นาวิกโยธิน” แต่เดิม ทหารนาวิกโยธิน ไทยใช้ชื่อว่า ทหารมะรีน” ทับศัพท์ตามภาษาต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงเหล่าทหารเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบอย่างทหารบก โดยให้ทหารมะรีนลงประจำเรือรบ ประจำตามป้อมค่ายของทหารเรือและตามฐานทัพเรือทั้งในประเทศและนอกประเทศทหารมะรีนที่ลงประจำในเรือรบสมัยเรือใบ มีหน้าที่ ยิงปืนใหญ่ และเมื่อเรือเข้าเทียบกันก็จะตะลุมบอนรบกันด้วยอาวุธสั้น เช่นดาบ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งหมดกำลังต่อสู้ต้องยอมแพ้ในที่สุด
                    สำหรับทหารนาวิกโยธินของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ในปัจจุบันมีภารกิจในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การรบทางบกและการรบพิเศษ การรักษาความปลอดภัยให้แก่ที่ตั้งหน่วยทหารของกองทัพเรือ ณ ที่ตั้งปกติบนบก จัดเตรียมและฝึกอบรมกำลังทหารนาวิกโยธินให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะปฏิบัติตามภารกิจ ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยาการของทหารนาวิกโยธิน รวมทั้งปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่กองทัพเรือจะมอบหมาย โดยมีที่ตั้งหน่วยระดับกองพลอยู่ที่ กรมทหารราบที่ ๑ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หน่วยรองในระดับกรมและกองพัน มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส นอกจากนั้น หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้ส่งกำลังไปปฏิบัติภารกิจในภาคต่าง ๆ ของประเทศ ดังนี้

ภาคตะวันออก
                     ได้ประกอบกำลังกับหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ เป็น กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ดำเนินการรักษาความมั่นคงและรักษาความสงบเรียบร้อย รวมทั้งต่อสู้ภัยคุกคามจากภายในและภายนอกประเทศในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                    ได้จัดกำลังกองร้อยปืนเล็ก เพิ่มเติมกำลังไปสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.) ในภารกิจป้องกันสถานีเรือ และหน่วยเคลื่อนที่เร็วตามลำแม่น้ำโขง
ภาคใต้
                   ได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเดิมมีภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ที่มีการก่อตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ค่ายกรุงชิง ทหารนาวิกโยธินได้เข้าปราบปรามและยึดค่ายกรุงชิงได้สำเร็จ และได้รับมอบหมายให้มีภารกิจดูแลความสงบเรียบร้อยและปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้กลุ่มต่าง ๆ ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ต่อมาจนปัจจุบัน

                    เนื่องในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือได้รับพระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช ราชนาวิกโยธิน” จึงได้กำหนดให้วันดังกล่าว เป็น วันทหารนาวิกโยธิน” สำหรับความเป็นมานั้น พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ อดีต ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้เคยกล่าวไว้โดยสังเขป ดังนี้
                    “วันหนึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ๒๕๐๒ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้ปฏิบัติหน้าที่เวรราชองครักษ์ ณ ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญกับการทรงดนตรีอยู่นั้น ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ขึ้นไปร้องเพลงนาวิกโยธิน นาวาเอก สนองฯ ได้กราบบังคมทูลข้อเท็จจริงว่า เพลงนาวิกโยธิน” ยังไม่มีและได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธินต่อพระองค์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เหล่าทหารนาวิกโยธิน ต่อมาในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช ราชนาวิกโยธิน” แด่ทหารนาวิกโยธิน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ทหารนาวิกโยธินเป็นอย่างยิ่ง และต่อมาคณะนายทหารนาวิกโยธิน ก็ได้ร่วมกันประพันธ์คำร้องขึ้น และได้กำหนดให้วันที่ ๒๘ มิถุนายนของทุกปี เป็น วันทหารนาวิกโยธิน” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒ วงโยธวาทิตของนาวิกโยธินสหรัฐและวงดุริยางค์ราชนาวี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช ราชนาวิกโยธิน” บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นปฐมฤกษ์ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ นับตั้งแต่นั้นตราบจนปัจจุบัน เพลง มาร์ช ราชนาวิกโยธิน” จึงเป็นเพลงประจำหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินที่มีคุณค่ายิ่งแก่ทหารนาวิกโยธิน สืบต่อมา  วันทหารนาวิกโยธิน” 
                  เพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน  หรือ Royal Marines March เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๙ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ พล.ร.ต.สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธินใน ขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำกรมนาวิกโยธิน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ และได้โปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒ โดยวงดนตรีประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกัน ประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย ประพันธ์คำร้องโดย พลเรือโทจตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และ พลเรือโทสุมิตร ชื่นมนุษย์

นามปากกา-นักเดินทาง

จ.ปัตตานีจัดขบวนแห่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของดีเมืองตานีและงานกาชาดจังหวัด


เมื่อวันที่ ( 27 มิ.ย. 60 ) ที่ บริเวณลานวัฒนธรรมหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดขบวนแห่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ตามโครงการเสริมสร้างความเข็มแข็งทางสังคมการศึกษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตพสกนิกรรอบอ่าว กิจกรรมจัดงานปัตตานีเมืองงามวัฒนธรรม 3 วิถี โดยมีอำเภอเมืองปัตตานีและอำเภอแม่ลาน ร่วมขบวนแห่พหุวัฒนธรรม แต่งกายชุด 3 วัฒนธรรมไทย จีน มุสลิมเข้าร่วมขบวนแห่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของดีเมืองตานีและงานกาชาดจังหวัดปัตตานี มีขบวนเชิดสิงโต ขบวนกลองยาว ขบวนศิละฮารีเมา ซึ่งขบวนแห่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมดรั้งนี้ จัดขึ้นควบคู่กับงานแสดงสินค้า วัฒนธรรม ของดีเมืองตานี และงานกาชาดจังหวัดปัตตานี ปี 2560 ที่จัดขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึงวันที่ 7 กรกฏาคม











โดยจังหวัดปัตตานีได้ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดและทุกภาคส่วน ในจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมสนับสนุนกิจการสาธารณกุศลกับเหล่ากาชาดจังหวัด ส่งเสริมการท่องเที่ยว และนำสินค้าผลิตภัณฑ์สินค้าภาคเกษตร สอดคล้องตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล





รวมถึงการจัดนิทรรศการมีชีวิตจากทุกภาคส่วนเป็นโซนถนนอุตสาหกรรม ถนนการเกษตร ถนนผลิตภัณฑ์ ถนนสนับสนุนธุรกิจ ถนนวัฒนธรรม ซึ่งมีกิจกรรมบ้านวัฒนธรรม พุทธ จีน อิสลาม มีการออกร้านภูมิปัญญาปัตตานี อาหาร เครื่องจักรสาน สาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน การแกะสลัก การแข่งขันชกมวย และการพาเหรดวัฒนธรรมจากทุกอำเภอ ยังมีการประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และถนนการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่องานว่า “งานแสดงสินค้า วัฒนธรรม ของดีเมืองตานี และงานกาชาดจังหวัดปัตตานี” นอกจากนี้ ยังมีการแสดงของศิลปินดารา นักร้อง นักแสดง บนเวทีทุกคืน






วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระราชประวัติ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" รัชกาล ที่ 10


พระราชสมภพ
       เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เมื่อเวลา 17.45 น.

        พระองค์ทรงมีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์บรมขัตติยราชกุมารเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ


ขณะเมื่อทรงพระราชสมภพนั้น ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศที่เฝ้ารอคอยพระประสูติกาลต่างปลาบปลื้มปีติ ชื่นชมโสมนัส แซ่ซ้องในพระบุญญาธิการ ดังที่ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้บรรยายถึงบรรยากาศก่อนเวลาพระราชสมภพ ตราบจนถึงนาทีอันเป็นมงคลฤกษ์เสด็จพระราชสมภพว่า

 “...วันนี้ ครึ้มฟ้าครึ้มฝนตั้งแต่เช้า ฝนไม่ได้ตกมานาน นายแพทย์ผู้ถวายการประสูติเข้าประจำที่สักครู่ก็ประสูติพระราชกุมาร เวลา 17 นาฬิกา กับ 45 นาที ในนาทีเดียวกันนั้นเอง ฝนที่แล้งมาตลอดฤดูก็เริ่มโปรยปรายละอองลงมา ดูคล้ายๆ ฟ้าก็รู้เห็นเป็นใจกับการประสูติครั้งนี้ อารามดีใจสมประสงค์ของดวงใจทุกๆ ดวง นายแพทย์ที่ถวายการประสูติ ซึ่งพร้อมที่จะบอกแก่ที่ประชุม ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ว่า พระราชโอรส หรือพระราชธิดา กล่าวออกมาด้วยเสียงอันตื่นเต้นกังวานว่า ผู้ชาย แทนที่จะว่าพระราชโอรส ฝนโปรยอยู่ตลอดเวลา แตรสังข์ดุริยางค์เริ่มประโคม ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีปืนใหญ่ทั้งบกและเรือยิงสะเทือนเลื่อนลั่น เสียงไชโยโฮ่ร้องก็ดังอยู่สนั่นหวั่นไหว สมใจประชาชนแล้ว...ดวงใจทุกดวงมีความสุข...

       นับแต่นั้นมา ประชาชนชาวไทยต่างเฝ้าติดตามข่าวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ด้วยความจงรักภักดี และต่างปลาบปลื้มปีติ ชื่นชมโสมนัสยิ่งขึ้นเมื่อพระองค์ทรงเจริญวัย มีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยวัตรและพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ตลอดมา

     มีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี



การศึกษา

     เมื่อทรงเจริญวัยพระชนมมายุได้ 4 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นอนุบาลที่ 1 ณ โรงเรียนจิตรลดา เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2499 ขณะนั้นโรงเรียนนี้ยังตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต ต่อมาในปีพุทธศักราช 2500 จึงย้ายไปอยู่สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ได้ทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯไปศึกษาต่อในโรงเรียนคิงส์ มิด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช 2509 ต่อจากนั้นเสด็จฯไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2509


ตั้งแต่ยังทรงเยาว์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระอุปนิสัยโปรดความมีระเบียบวินัยและความสะอาดเรียบร้อย ไม่ทรงนิยมการฝ่าฝืนหรือละเมิดระเบียบข้อบังคับต่างๆ มีความสนพระราชหฤทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพ และขณะที่ประทับอยู่ในประเทศไทยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนที่ตั้งในกองทหารหน่วยต่างๆหลายแห่ง




  โดยที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามกุฎราชกุมาร ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงดำริเห็นว่า การศึกษาวิชาทหารในประเทศออสเตรเลียมีหลักสูตรการสอนกว้างขวางและมีการฝึกอย่างเข้มงวด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินจากประเทศอังกฤษไปทรงศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2513 ในขั้นแรกทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนคิงส์สกูล ตำบลพารามัตตา นครซิดนีย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร

     ต่อจากนั้นทรงเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ซึ่งทรงใช้เวลาในการทดสอบและฝึกอย่างหนักถึง 5 สัปดาห์ ทรงเข้าศึกษาและทรงเข้าประจำเหล่านักเรียนนายร้อยที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน ตั้งแต่ภาคแรกแห่งปีการศึกษาพุทธศักราช 2515 จนทรงจบการศึกษาในปีพุทธศักราช 2518


ในการศึกษาทุกระดับชั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษาเหมือนอย่างนักเรียนทั่วไปและเมื่อทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารซึ่งมีการฝึกอบรมอย่างเข้มงวด ก็ได้ทรงปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยสมบูรณ์ในระหว่างเวลาที่ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนคิงส์สกูล ตำบลพารามัตตา นครซิดนีย์ ทรงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าบ้านแมคอาเทอร์เฮาส์และได้ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างดีเด่น โดยเฉพาะในการฝึกทหาร

พุทธศักราช 2499-พุทธศักราช 2509 - ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่พระนั่งอุดร พระราชวังดุสิต และโรงเรียนจิตรลดา

มกราคม-กันยายน พุทธศักราช 2509 - ทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์ มิด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ
พุทธศักราช 2509-พุทธศักราช 2513 - ทรงเข้ารับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตีท แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ

พุทธศักราช 2513-พุทธศักราช 2514 - ทรงเข้าศึกษาเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์สคูล ตำบลพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

พุทธศักราช 2515-พุทธศักราช 2519 - ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา และทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านการทหาร) คณะการศึกษาด้านการทหาร มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

พุทธศักราช 2520-พุทธศักราช 2521 - ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 56

พุทธศักราช 2527-พุทธศักราช 2530 - ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรุงเทพฯ ประเทศไทย

มกราคม-ธันวาคม พุทธศักราช 2533 - ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร / ที่มาข้อมูล : หนังสือ 62 พรรษามหาวชิราลงกรณ์

พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย

      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ไม่มีพระราชพิธีสถาปนาองค์รัชทายาทหรือมงกุฎราชกุมาร เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ไม่ทรงมีพระราชโอรส การสืบราชสมบัติในรัชกาลที่ 7 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน จึงเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อพุทธศักราช 2467 พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลาถึง 78 ปี บัดนี้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชิราลงกรณ ได้มีพระชนมายุ 20 พรรษาบริบูรณ์ ทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายจึงกำหนดให้มีการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2515 ทางราชการได้กำหนดให้มีพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ในครั้งนี้ได้กำหนดพระราชพิธีอกกเป็น 3 อันดับ คือ


พระราชพิธีอันดับแรกได้แก่ การจารึกพระสุพรรณบัฏพระนามาภิไธย รวมทั้งพระราชสัญจรคือตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีนี้จัดทำขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 1 นาฬิกา 56 นาที

     พระราชพิธีอันดับที่สอง ได้แก่ พระราชพิธีเสกน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งจัดทำ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกัน ในวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 เวลา 15 นาฬิกา ในเวลา 16 นาฬิกา 30 นาที เป็นพระราชพิธีทักษิณานุปทาน ถวายสักการะ พระสยามเทวาธิราช และสดับปกรณ์พระบรมอัฐิพระบรมราชบูรพการี พระราชพิธีนี้จัด ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

    พระราชพิธีอันดับที่สาม คือ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีนี้จะจัดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชวังดุสิต ในวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 พระราชพิธีนี้จะเริ่มตั้งแต่เวลา 12 นาฬิกา 23 นาที เป็นต้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังขทักษิณาวรรตพระราชทานแต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพแตวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ยิงปืนใหญ่ เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด ขณะเดียวกันตามวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรรัวระฆังพร้อมกัน 3 ลา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 พระราชทานน้ำพระมหาสังข์แล้วจะได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏพระนามาภิไธย พระราชลัญจกร พระแสงดาบ และเครื่องราชอิสริยยศ ตามลำดับ

     พระราชพิธีนี้จัดขึ้นท่ามกลางมหาสมาคมอันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน และคณะทูตานุทูต นอกจากนั้นในวันเดียวกันนี้ เวลา 15 นาฬิกา 30 นาที สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งพราหมณ์ได้ทิธีไว้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

     หลังจากวันสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 เวลา 07:00 นาฬิกา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ไปยังพลับพลาพิธี ณ ท้องสนามหลวง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบาตรร่วมกับประชาชน ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนเฝ้าฯ รับเสด็จ ต่อมาในเวลา 16 นาฬิกา 30 นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ ศาลาสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตในตอนค่ำเวลา 18 นาฬิกา 30 นาที คณะรัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตถวาย ณ ทำเนียบรัฐบาล

     ในโอกาสพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทางราชการจะได้จัดงานเฉลิมฉลอง คือ มีการตกแต่งพระนครเช่นเดียวกับวันเฉลิมพระชนมพรรษารวม 3 วัน ระหว่างวันที่ 27-29 ธันวาคม ทั้งนี้จะมีงานมหรสพฉลอง ณ ท้องสนามหลวง เช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่และหน่วยราชการต่างๆ ก็จะได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

      เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า จอมพลถนอม กิตติขจรหัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่าสภาบริการคณะปฏิวัติได้ประชุมปรึกษาลงมติให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให้ทรางสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ให้ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทรงพระราชดำริพิจารณาแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ให้ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารโดยอนุโลมตามขัตติยราชประเพณีที่เคยมีมาแล้ว และเมื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดการพระราชพิธีต่อไปนี้ / ที่มาข้อมูล : หนังสือ 62 พรรษามหาวชิราลงกรณ
ทรงผนวช


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.00 น. ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาลผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช / ที่มาข้อมูล : หนังสือ 62 พรรษามหาวชิราลงการณ



ทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์

     สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับทราบวาระพิเศษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ตามที่ ครม.แจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นองค์พระรัชทายาทไว้แล้ว เตรียมกราบบังคมทูลเชิญขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป

     วันที่ 29 พ.ย.2559 ที่อาคารรัฐสภา เมื่อเวลา 11.00 น.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดประชุมครั้งที่ 76/2559 เป็นนัดพิเศษ เพื่อพิจารณาระเบียบวาระตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรัฐมนตรี

     โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานการประชุม สนช.เพื่อพิจารณาวาระสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ในการรับทราบวาระเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ตามที่คณะรัฐมนตรีส่งให้ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ระบุไว้ในมาตรา 23 ว่ากรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยสืบราชสันตติวงศ์แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ

    นายพรเพชร กล่าวว่า ในขั้นตอนต่อไป สนช.จะได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 2 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 23

     บทบัญญัติของหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ระบุว่า ให้บทบัญญัติของหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550 ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งมาตรา 23 ในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติไว้ว่า

     "ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ"

  ต่อจากนั้น นายพรเพชรได้ขอให้สมาชิก สนช.น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลใหม่

     “ในโอกาสอันเป็นมหามงคล ผมขอให้สมาชิกทุกท่านโปรดยืนขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระ หม่อมถวายพระพรชัยแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลใหม่” นายพรเพชรกล่าวให้สมาชิกสนช.ถวายพระพรพร้อมกัน จากนั้นสมาชิก สนช.พร้อมใจกันเปล่งเสียงว่า “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ” ก่อนที่นายพรเพชรจะสั่งปิดการประชุมในเวลา 11.25 น.