ประวัติความเป็นมา
ตำบลบางปูเล่ากับว่าหมู่บ้านแห่งนี้เดิมๆ
(อ่าว) ในทะเลมีปลาชุกชุม ชาวบ้านจะประกอบอาชีพประมงน้ำตื้น
ทุกครอบครัวจะมีเรือและเครื่องจับปลา ลักษณะเดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่
และบางปูได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลบางปูตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาล
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่16 ตอน ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีพื้นที่ประมาณ 4.90 ตารางกิโลเมตร โดยฐานะจากสุขาภิบาลบางปู เป็นเทศบาลตำบลบางปู
ราษฎรส่วนใหญ่ร้อยละ 99 เป็นชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม
มีถนนสายหลักตัดผ่านในเขตเทศบาล 2 สาย
คือถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 คลองแงะ – นราธิวาส และถนนทางหลวงแผ่นดอนสายเอเชีย (สายเกาหลี )
ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดปัตตานีประมาณ 15 กิโลเมตร
สภาพภูมิศาสตร์
การท่องเที่ยวบางปูตั้งอยู่
หมู่2 ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มดินปนทราย
ทางตอนเหนือของพื้นที่ติดต่อกับอ่าวบางปูเหมาะสำหรับทำการประมงชายฝั่ง
ช่วงน้ำทะเลหนุ่นน้ำจะทะลักเข้า
ทำให้พื้นที่ในส่วนดังกล่าวมีน้ำท่วมอยู่ตลอดพื้นที่เป็นดินทราย
เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ติดกับทะเล สภาพชุมชนแออัด
วิถีชีวิต
คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีอาชีพการประมง
และวิถีชีวิตที่ติดทะเลทำให้คนส่วนเลือกอาชีพนี้เพื่อมาดำรงชีวิตเลี้ยงครอบครัว
และคนส่วนใหญ่จะมีเรือเป็นของตัวเองเพื่อทำมาหากินหรือไปไหนมาไหน
วิถีชีวิตที่ติดชายทะเลเป็นวิธีชีวิตที่น่าสนใจมาก สามารถหาอาหารสด ๆ จากทะเลมาทำอาหารได้โดยไม่ต้องซื้ออาหารที่ไม่ค่อยสดจากตลอด
ทั้งนี้คนส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะดำรงอย่างนี้ต่อไปโดยไม่คิดที่จะย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น
ชุมชนท่องเที่ยวบางปู เป็นชุมชนประมงพื้นที่บ้านอาศัยบริเวณป่าชายเลนเป็นที่ทำกิน
เป็นชุมชนมุสลิมทั้งหมดเดิมทำการประมงพื้นที่ประมาณ 70% เลี้ยงเป็ด 30%
แต่ปัจจุบันอาชีพหลักค้าเสื้อผ้ามือสอง ยังคงเหลือประมงพื้นบ้านประมาณ 30% เป็นชุมชนไม่มีของมึนเมาแต่งกายสุภาพ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่
คนในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่
จะอยู่แบบวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิม เป็นชุมชนที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก
ทำให้ชาวบ้านมีความรักใคร่กันดี อยู่ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่อย่างสงบ
และเป็นมิตรทีดีต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และมีความพร้อมรับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้มและความจริงใจ
มีอาหารพื้นเมืองที่รสชาติเป็นเลิศ เช่น ข้าวยำ ยำสาหร่าย ไส้กรอกเนื้อ
การร่วมกิจกรรม
การเป็นธรรมชาติของผู้คน
ความเป็นกันเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ้งกันและกัน มีความสามัคคี ความใสบริสุทธิ์
ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตน
รวมถึงแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้รองรับความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว
โดยยึดความพึงพอใจของผู้มาเยี่ยมเยียนเป็นหลัก
แนวทางในการพัฒนาฐานทรัพยากรในพื้นที่
1.ไม่ทำการประมงที่ผิดต่อกฎหมายการทำประมง
2.รัฐวิสาหกิจชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีการดูแลในเรื่องของขยะเช่นมีการเก็บขยะและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศในบริเวณรอบๆที่รับผิดชอบ
3.ดูแลในเรื่องของน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมรมที่ปล่อยน้ำเสียออกมาโรงงานสู่ทะเลและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบอ่าว
4.มีการจัดตั้งเครือข่ายในการดูแล จัดการ แก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ
5.มีการประสานงานของกลุ่มวิสาหกิจในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน และบริเวณโดยรอบ
6.ปกป้องดูแล ทรัพยากรไม่ให้เกิดการบุกรุก ทำลายป่าชายเลนและได้มีการปลูกป่าให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย
7.กรมการประมงได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของวิธีการเลี้ยงกุ้ง อย่างกุ้งแช่บ๊วย
สัตว์น้ำต่างๆ และในเรื่องของอาหารปลา
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่
1.ในอนาคตมีแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนบานาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติโดยผ่านความร่วมมือของประชากรในหมู่1.ไม่ทำการประมงที่ผิดต่อกฎหมายการทำประมง
2.รัฐวิสาหกิจ ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีการดูแลในเรื่องของขยะเช่นมีการเก็บขยะและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศในบริเวณรอบๆ
ที่รับผิดชอบ
3.ดูแลในเรื่องของน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียออกมาโรงงานสู่ทะเลและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบอ่าว
4.มีการจัดตั้งเครือข่ายในการดูแล จัดการ แก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ
5.มีการประสานงานของกลุ่มวิสาหกิจในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายเลน และบริเวณโดยรอบ
6.ปกป้อง ดูแล ทรัพยากรไม่ให้เกิดการบุกรุก ทำลายป่าชายเลนและได้มีการปลูกป่าให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย
7.กรมการประมงได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของวิธีการเลี้ยงกุ้ง อย่างกุ้งเเช่บ๊วย
สัตว์น้ำต่างๆ และในเรื่องของอาหารปลา
ข้อเสนอแนะอยากให้ในชุมชนบานามีที่พักโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้าท่องเที่ยวในชุมชนและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมงริมชายฝั่ง
--------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น