วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เกษตรกรทำสวนบ้านถ้ำทะลุ จ.ยะลา แปรรูปยางพาราขยายตลาด

         กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านถ้ำทะลุ ได้รวมกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในพื้นที่ ล่าสุดได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองระบบมาตราฐาน WCS ISO 9001:2015  ด้านคุณภาพกระบวนการผลิตแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากยางพารา (Manufacturinf of Rubber Granules for Synthetic Surface Latex Pillow , Smorked Sheet Rubber and Flexible Guide Post Rubber ) จากประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน  WCS ISO 9001:2015 ซึ่งมีระยะเวลา 3 ปี เป็นการพัฒนาปรับปรุงให้กลุ่มเกษตรมีความเข้มแข็ง และมีความน่าเชื่อถือ สามารถติดต่อการค้าเชื่อมโยงตลาดกับกลุ่มเป้าหมายในระดับนานาชาติ



               นางวรรณดี รัตนอนันต์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านถ้ำทะลุ เปิดเผยว่า เกษตรกรทำสวนบ้านถ้ำทะลุ ปัจจุบัน ทางกลุ่มได้ยกระดับ เป็นสหกรณ์แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราบ้านถ้ำทะลุ จำกัด มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบภายใต้การดูแลของสหกรณ์จังหวัด ยะลา มีสมาชิิกเพิ่มขึ้น ในแต่ละวันโรงงานแห่งนี้ จะรับซื้อน้ำยางสด จากสมาชิกของกลุ่มในพื้นที่ และเกษตรกรชาวสวนยางที่นำน้ำยางมาขาย จากนั้น นำมาผ่านกระบวนการทำยางแผ่นรมควัน ผสมกับสารเคมี มาขึ้นรูปเป็นยางคอมปาวด์ (rubber compound) ตามสูตร มอก.เม็ดยางดำสังเคราะห์ แล้วนำมาตัดเป็นแผ่น ผ่านกระบวนการอบให้ยางสุก ด้วยเครื่องอัด 100 ตัน จากนั้นนำมาเข้าเครื่องบดย่อยเป็นเม็ดยางดำ ตามลูกค้าสั่งมา ขนาด 2-10 มิลลิเมตร แล้วนำบรรจุในถุง 25 กิโลกรัม เพื่อใช้สำหรับสนามกีฬาฟุตซอล ทั่วประเทศขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ในการแปรรูปยางพาราของที่นี่ คือ ผลิตภัณฑ์แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB)  และการผลิตเสาหลักนำทางยางธรรมชาติ  (Rubber Guide Post : RGP) โดยประสานร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย  ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เป็นการผลิตในช่วงเริ่มต้น สำหรับสินค้าตัวต่อไป ในอนาคตจะดำเนินการผลิตเม็ดยางสี เพื่อใช้สำหรับสนามกีฬาใหญ่ และลู่วิ่ง ส่งขาย  ทั่วประเทศ 



         สำหรับระบบมาตรฐาน  WCS ISO 9001:2015 ที่ได้รับ จะทำให้ตลาดกว้างขึ้น สามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น การสั่งซื้อก็จะตามมา เมื่อมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ปริมาณยางยางพาราที่จะซื้อในหมู่บ้านก็จะเพิ่มขึ้น ราคายางจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ โดยการรับซื้อที่สูงขึ้น กว่าท้องตลาด  2-5 บาท เมื่อไหร่ ที่ราคาน้ำยางตกลงมา กิโลกรัมละ 30 กว่าบาท ก็จะมีการซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด กิโลกรัมละ 10 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ สำหรับยอดการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพารา ของสหกรณ์ที่นี่ เฉลี่ย1.5 – 2 ล้านบาทต่อเดือน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น