วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564

ผ้าไทยใส่ให้สนุก

       ลวดลายบนผ้าที่สวยงาม ลายปาเต๊ะ ลายไทย ลายประยุกต์ ล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ ทันที ได้เห็นจะรู้ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ได้ให้ชาวสตูลและผู้ที่สนใจอุดหนุนผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นจังหวัดสตูล นางศุภมาส เหล็นเรือง พัฒนาการจังหวัดสตูล เล่าให้ทีมงานชีวิตดี๊ดีที่ชายแดนใต้ฟังว่า  กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา พระกรุณาประทานพระอนุญาตแบบลายมัดมี่ ชื่อลาย ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน และประทานอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ 

 

       โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้รับสนองพระกรุณาธิคุณ มอบแบบลายผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปสู่กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทั่วภูมิภาคโดยจังหวัดสตูล มอบลายผ้า “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” แก่ผู้แทนกลุ่มทอผ้ากลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผลิตผ้าบาติก ภายในจังหวัดสตูล จำนวน 4 กลุ่ม เพื่อดำเนินการ ผลิตผ้าบาติก “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ของแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสตูลบาติก อำเภอเมืองสตูล , กลุ่มปันหยาบาติก อำเภอละงู , กลุ่มควนขันบาติก อำเภอเมืองสตูล และกลุ่มโยซมาบาติกแฮนเพนท์ (โรงเรียนอนุบาลมะนัง) อำเภอมะนัง ซึ่งผ้าเหล่านี้ราคาไม่แพง ผ้าขนาด 2 หลา เริ่มต้นที่ 650 – 1,000 บาท แล้วแต่ลวดลายสำหรับประชาชนที่สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ สามารถสอบถามเพิ่มได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล หรือเฟสบุ๊ค แฟนเพจ : มาตะ สโตย OTOP Satun หรือกลุ่มไลน์ : อนุรักษ์ผ้าไทย/ผ้าพื้นเมืองสตูล



วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

จิตอาสายะลาร่วมเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม พัฒนาทำความสะอาดพระมหาเจดีย์ อ.เบตง จ.ยะลา

         

        นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง จังหวัดยะลา กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และสร้างความเข้าใจอันดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม เกิดความรักสามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีจิตอาสาในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานพัฒนาทำความสะอาดโดยรอบของพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ

         สำหรับการพัฒนาศักยภาพและสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความแตกต่างทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภาษาจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ โดยอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมาช้านาน โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเกิดความภาคภูมิใจในสถาบันชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564

อำเภอเมืองปัตตานีเปิดจุดเคาน์เตอร์บริการอำเภอ..ยิ้ม ตลาดปัตตานีบาซาร์

         อำเภอเมืองปัตตานี ได้มีการเปิดสำนักทะเบียนอำเภอเมืองปัตตานี สาขาตลาดปัตตานีบาซาร์ หรือจุดเคาน์เตอร์บริการอำเภอ..ยิ้ม ตลาดปัตตานีบาซาร์ เพื่อบริการงานด้านบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนราษฎรแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการ สำหรับงานบริการ ประกอบด้วย 


        1.การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน

        2.การจัดทำทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และการย้ายที่อยู่ ซึ่งจะต้องเป็นการดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

        3.การคัดและรับรองสำเนาเอกสารทะเบียนราษฎร 


            นายอำเภอเมืองปัตตานี ได้กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดจุดเคาน์เตอร์บริการอำเภอ..ยิ้ม ตลาดปัตตานีบาซาร์ นั้น จะมีการเปิดให้บริการเป็นประจำทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของอธิบดีกรมการปกครอง ที่มุ่งหวังให้ “ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น” พร้อมทั้ง เชิญชวนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อำเภอเมืองปัตตานีและพื้นที่ใกล้เคียง มาใช้บริการจุดเคาน์เตอร์บริการอำเภอ..ยิ้ม ตลาดปัตตานีบาซาร์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปัญหายาเสพติด ภัยร้ายแรงในสังคมไทย

 

      ปัญหายาเสพติดเป็นภัยที่ร้ายแรงในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน มีการแพร่ระบาดและขยายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมากขึ้น โดยมีรูปแบบการแพร่กระจายที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งกลุ่มเยาวชนถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสติดยาเสพติดมากกว่ากลุ่มคนกลุ่มอื่น เนื่องจากความอยากรู้อยากลอง และความคึกคะนองเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งสภาพแวดล้อม สื่อ และค่านิยมต่างๆ เป็นแรงผลักดัน ประกอบกับสถานการณ์ราคายาเสพติดที่ลดลง ส่งผลให้หาซื้อยาเสพติดประเภทต่างๆ ได้ง่าย

      แม้ที่ผ่านมาจะได้มีการกำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ แต่กลับพบว่าสถานการณ์เชิงตัวยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นมามากมาย ทั้งปัญหาต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เสพ รวมถึงผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ของประเทศชาติ

       ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหายาเสพติดร่วมกัน ทั้งนี้แล้วไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน โดยสามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1341 ตลอด 24 ชม. หรือ ตู้ ปณ.41 ปณจ.ยะลา 95000

"เดิน-วิ่งการกุศล คืนคนดีสู่สังคม” หารายได้เข้ากองทุนอาสาสมัครคุมประพฤติยะลา

       สำนักงานคุมประพฤติ จ.ยะลา ร่วมกับคณะกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติจัดกิจกรรม เดิน-วิ่งการกุศลเพื่อคืนคนดีสู่สังคม หารายได้เข้ากองทุนอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลา ระยะทาง 6.5 กม. โดยมีนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.เขต 1 จ.ยะลา พรรคพลังประชารัฐและอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลา เป็นประธานปล่อยขบวนเดิน-วิ่ง ร่วมกับนายอำเภอเมืองยะลา ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา  จากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ที่บริเวณหน้าสำนักงานคุมประพฤติยะลาไปตามเส้นทางที่กำหนดใช้ระยะทางการวิ่ง 6.5 กม.

       ซึ่งการเดินวิ่งครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 19 ปี ไปจนถึง 50 ปีขึ้นไป สำหรับรางวัล ก็จะมีทั้งถ้วยรางวัลและเหรียญรางวัล รวมทั้งของที่ระลึกมอบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ขณะที่ตลอดเส้นทางการเดิน-วิ่ง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองยะลา อำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยการดำเนินการเป็นไปตามมาตรการการป้องกันโควิด-19

       นายอดิศร สาและ ประธานคณะกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลา กล่าวว่าสืบเนื่องจากคณะกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติได้มีการจัดกิจกรรมหารายได้เข้ากองทุนอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลาอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันยังมีแผนงานที่จะดำเนินโครงการอีกหลายโครงการซึ่งแต่ละโครงการล้วนมีความสำคัญต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด แต่เงินกองทุนอาสาสมัครคุมประพฤติที่มีคงเหลือไม่เพียงพอต่อการดำเนินการดังกล่าว คณะกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลา และอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดยะลา  จึงได้จัดโครงการ เดิน - วิ่งการกุศล เพื่อ "คืนคนดี สู่สังคม" ดังกล่าวขึ้น เพื่อหารายได้เข้ากองทุนอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูและช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้กระทำผิด ต่อไป

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

ยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว!!!

       ท่านทราบหรือไม่ว่า... หากมีผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเพียงแค่ 1 คน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่คนในหมู่บ้าน-ชุมชนได้ ยาเสพติดจึงเป็นภัยร้ายที่อาจใกล้ตัวมากกว่าที่คิด และไม่ใช่แค่ยาเสพติดผิดกฎหมาย ที่รู้จักกันดี เช่น ยาบ้า ไอซ์ กัญชา และสารระเหย เป็นต้น ยาที่ใช้รักษาโรค หากนำมาใช้ผิดวิธี ใช้ในทางที่ผิดก็ส่งผลร้ายไม่ต่างกับยาเสพติดเช่นกัน ทั้งในกลุ่มยาแก้ไอ แก้แพ้ และแก้ปวด

**โทษและพิษภัยยาเสพติด**

       ต่อตนเอง ยาเสพติดส่งผลร้ายทำลายร่างกายระบบต่างๆ ทำให้ประสาทหลอน ความจำเสื่อม หลอดลมอักเสบ หัวใจวาย โลหิตจาง มะเร็งในเม็ดเลือด ปอดอักเสบหรือมะเร็งปอด ไตอักเสบ มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ปวดท้องรุนแรง ความต้องการทางเพศลดลง หรืออาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ ฯลฯ และนอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้วยังส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์อีกด้วย ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว หงุดหงิดง่าย ขาดการใช้เหตุผล ฯลฯ การนึกสนุกทดลองใช้ยาเสพติดจะส่งผลต่อสมองโดยไม่รู้ตัว และหากมีปัญหาในชีวิตก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาใช้ยาเสพติด เพราะปัญหาจะยิ่งถลำลึกและมีปัญหาอื่นๆ ตามมาได้

       ต่อครอบครัว นอกจากผลร้ายที่เกิดขึ้นจากตัวผู้เสพเอง ยาเสพติดยังส่งผลต่อครอบครัวผู้เสพ ทำให้ต้องเสียเงินทองทรัพย์สินไปกับยาเสพติดโดยไม่จำเป็น เสียค่าใช้จ่ายเพื่อมาดูแลอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจาก ยาเสพติด ทำให้ครอบครัวเสียชื่อเสียง เกิดความไม่เข้าใจกัน ทำให้ครอบครัวแตกแยกได้ 

        ต่อชุมชน ด้วยภาวะการติดยาเสพติดทำให้ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง หากผู้เสพผู้ติดไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อยาเสพติดได้อย่างต่อเนื่องก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการลักขโมย ความไม่ปลอดภัยต่อทรัพย์สินในชุมชน และเมื่อฤทธิ์ยาส่งผลทำให้เกิดอาการทางจิตและประสาท ก็อาจส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยในร่างกายและชีวิตของคนในชุมชนได้ ดังนั้น จากผู้เสพผู้ติดเพียงแค่ 1 คน ก็อาจส่งผลต่อชุมชนได้ หากชุมชนนั้นขาดการเฝ้าระวังและป้องกันภัยยาเสพติดที่ดีพอ


ตัวยาที่ควรระวัง ยาเสพติดมีมากมายกว่าร้อยชนิด แต่ยาเสพติดที่ควรระวังที่สำคัญ มีดังนี้ 

- ยาบ้า ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ระยะแรกทำให้ร่างกายตื่นตัว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด ถ้าใช้ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ 

- ไอซ์ ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทอย่างรุนแรงทำให้หงุดหงิด กระวนกระวาย อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว หวาดระแวง เพ้อ คลั่ง กลัวคนทำร้าย ริมฝีปากแห้ง ร่างกายทรุดโทรม ใบหน้าแก่กว่าวัย เป็นโรคในช่องปาก ฟันผุ ฟันดำ และมีบาดแผลตามใบหน้าและร่างกายเนื่องจากผิวแห้งเสีย ไม่ได้ทำให้ผอม ขาว สวยแต่อย่างใด 

- กัญชา เบื้องต้นมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้เซื่องซึม หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้

- สารระเหย ออกฤทธิ์กดระบบประสาท พบในกาว แลคเกอร์ ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน ยาล้างเล็บ น้ำมันผสมสี น้ำมันก๊าด สีกระป๋องสำหรับพ่น โทษเฉียบพลันหลังสูดดม อาจหมดสติหรือกดศูนย์การหายใจ ทำให้ตายได้ และหากสูดดมติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้เสื่อมสมรรถภาพ พูดไม่ชัด มือสั่น แขนขาสั่น เดินไม่ตรงทาง สมองเสื่อม

 

**ชุมชนปลอดภัย เริ่มต้นจากพลังในชุมชน**

พลังชุมชน คือ พลังสำคัญที่จะหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยความเชื่อมั่น 4 ประการ ดังนี้

1) ปัญหายาเสพติดไม่สามารถแก้ด้วยการปราบปรามอย่างเดียว ต้องควบคู่ทั้งการป้องกัน เฝ้าระวัง บำบัดรักษา

2) เมื่อต้องแก้ปัญหาหลายด้าน จึงไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้โดยลำพังทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

3) ไม่มีใครรู้จักปัญหาได้ดีเท่ากับคนในหมู่บ้าน/ชุมชนเอง

4) ไม่ต้องรอให้ใครมาเริ่ม หมู่บ้าน/ชุมชนต้องเริ่มด้วยตนเองก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564

ยาเสพติดธุรกิจมืด...ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

       การแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างรวดเร็วในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงหลายปีมานี้มีอาการส่อแสดงออกชัดเจนจนน่าเป็นห่วงยิ่ง จนเวลานี้สามารถบอกว่าไม่มี หมู่บ้านปลอดยาเสพติดเหลืออยู่แล้ว แถมครอบครัวไหนไม่มีคนติดยาเสพติดเลยจะถูกจับตามองว่า เป็นสิ่งแปลกปลอมของชุมชนไปแล้ว จริงอยู่ภาคใต้ไม่มีการตั้งโรงงานยาเสพติดตามแนวตะเข็บชายแดนหรือในพื้นที่ เพียงแต่ที่ผ่านๆ มาได้ทำหน้าที่เป็นประตูส่งผ่านไปยังประเทศมาเลเซีย หรือต่อเนื่องไปยังประเทศในทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงทำได้แค่เพียงเป็น สถานที่พักยาก็ว่าได้

       ถ้าติดตามข่าวคราวการจับกุมยาเสพติดได้ระดับบิ๊กล็อต ไม่ว่าจะหลักแสนหรือล้านเม็ด ไม่ว่าจะจับได้ที่ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ หรือกระทั่งในภาคใต้เอง ผู้ต้องหาที่ถูกรวบตัวได้มักจะให้การที่คล้ายๆ กันคือ รับจ้างส่งยาเสพติดไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะนำไปส่งให้ถึงมือผู้รับที่ จ.นราธิวาส หรือ จ.ปัตตานีเสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าคนใต้ที่เข้าร่วมขบวนการค้ายาเสพติดมากที่สุดคือ มุสลิมชายแดนใต้และถ้าตรวจสอบให้ลึกไปกว่านั้นอีกจะพบว่า มีทั้งที่เป็นนายทุน ผู้รับจ้างขน ผู้ค้าปลีก เด็กเดินยา ขณะเดียวกันผู้ติดยาก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจ และที่สำคัญผู้ที่อยู่ในขบวนการเหล่านี้มักจะเป็น ผู้มีฐานะทั้งที่ไม่เคยมีเทือกสวนไร่นา หรือดูจากภาพนอกแล้วไม่น่าจะมีอาชีพที่มั่นคงใดๆ เลย

       อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตต่อแก้ปัญหายาเสพติดของทางการไทยบางประการ กล่าวคือ มาเลเซียที่ถูกจัดว่าเป็นทางผ่านยาเสพติดที่ถูกส่งไปจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แต่ทำไมแทบไม่เคยปรากฏเป็นข่าวให้เห็นว่า ทางการมาเลเซียมีการจับกุมยาเสพติดได้ล็อตใหญ่หรือผู้ค้ารายใหญ่ ทั้งที่นายทุนใหญ่ส่วนหนึ่งก็เป็นคนมาเลย์เชื้อสายจีน และที่ต้องตั้งข้อสังเกตอย่างเป็นพิเศษไว้ด้วยคือ ทั้งนายทุนและผู้ค้ายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังถูกออกหมายจับ พวกเขาจะหลบหนีไปฝั่งตัวอยู่ในมาเลเซียเกือบทั้งสิ้น

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

สังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ “ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม”

      การอยู่ร่วมกันในชุมชน กิจกรรมต่างๆ คนไทยพุทธก็มีไทยมุสลิมก็มีมากมายให้เห็นในสังคม กรณีกิจกรรมคนไทยมุสลิมก็มีคนไทยพุทธเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเรื่องปกติในพื้นที่ ซึ่งหลังจากสถานการณ์เบาบางไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณที่ดีขึ้น ส่งผลเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ลดความหวาดกลัวมากขึ้น

      หากพิจารณาถึงหลักคำสอนทุกศาสนา คงต้องปฏิเสธความรุนแรงและการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ อิสลามและพุทธเรียกร้องการให้อภัย การประนีประนอม การให้ความร่วมมือช่วยเหลือ การทำความรู้จักเชื่อมสัมพันธ์ต่อกัน และความยุติธรรม ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ ชาวมุสลิม ชาวพุทธ เชื่อว่าการสนทนาคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือความบาดหมางระหว่างกัน

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

“สวรรค์บนดิน สนามบินเบตง” เตรียมเปิดใช้บริการปลายเดือนเมษายนนี้

      สวรรค์บนดิน สนามบินเบตงเตรียมเปิดใช้บริการปลายเดือนเมษายนนี้ หลังจากที่เลื่อนการเปิดมาหลายรอบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

       นางดวงพร สุวรรณมณี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนราธิวาส ปฏิบัติงานในฐานะผู้อำนวยการท่าอากาศยานเบตง เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมหารือการขอรับการสนับสนุนเพื่อประกอบการพิจารณาเปิดเส้นทางบิน ดอนเมือง-เบตง และเบตง-ดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ล่าสุดลำดับที่ 29 ของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ตามสโลแกนที่ว่า สวรรค์บนดิน สนามบินเบตง

       โดยที่ประชุมมีมติรับ 9 ข้อเสนอของสายการบินนกแอร์ เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนในการปฏิบัติการบิน อาทิ การรับประกันจำนวนผู้โดยสารและที่นั่งในการทำ Block seat 6 เดือนแรกไม่น้อยกว่า 75% หรือ 64 ที่นั่ง, การยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ และสนับสนุนด้านการขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้เบื้องต้นคาดว่าท่าอากาศยานเบตงจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายเดือน เม.ย.นี้ โดยมีสายการบินนกแอร์เป็นสายการบินแรกที่จะให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ โดยทางผู้บริหารสายการบินนกแอร์ ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า สายการบินนกแอร์จะทำการบินในเส้นทาง ดอนเมือง-เบตง 6 เที่ยวบินต่อสัปดาห์(ไป-กลับ) ใช้เครื่องบินแบบใบพัด รุ่น Q400 ใช้เวลาทำการบินประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที ทั้งนี้ก่อนช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ มีบริษัททัวร์ และหน่วยงานราชการติดต่อเข้ามาสอบถามและให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก คาดว่าเมื่อเปิดบริการจะได้รับการตอบรับที่ดี

        ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเบตง กล่าวอีกว่า ท่าอากาศยานเบตงปัจจุบันมีความพร้อมมาก ทางด้านบุคลากร ก็พร้อมที่จะดำเนินการเปิดใช้สนามบินและพร้อมที่จะรับการตรวจจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ขณะนี้ที่ยังไม่สามารถเปิดใช้สนามบินก็เหลือเพียงแค่การทดสอบระบบนำร่อนที่จะดำเนินการทดสอบในวันที่ 19 ก.พ.นี้ หากไม่มีปัญหาอะไร คาดว่าจะได้รับใบรับรองสนามบินสาธารณะจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ภายในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งนอกจากสายการบินนกแอร์ที่จะมาทำการบินที่ท่าอากาศยานเบตงแล้ว ยังมีสายการบินบางกอกแอร์เวย์ที่จะมาทำการบินด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาการเปิดเส้นทาง เบื้องต้น อาจจะเปิดทำการบิน 2 เส้นทาง ได้แก่

        1. เส้นทาง หาดใหญ่-เบตง ซึ่งจะเปิดทำการบินในตางรางบินฤดูหนาว หรือประมาณเดือน ต.ค.นี้ 6 เที่ยวบินต่อสัปดาห์(ไป-กลับ) ทำการบินโดยเครื่องบินแบบ ATR 86 ที่นั่ง ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถประหยัดเวลาการเดินทางได้มาก ซึ่งหากเดินทางโดยรถยนต์จะใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง

        2. เส้นทาง ภูเก็ต-เบตง โดยเส้นทางนี้จะขอพิจารณาการตอบรับจากผู้โดยสารในเส้นทางเบตง-หาดใหญ่


        สำหรับสนามบินเบตง หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง ตั้งอยู่บนพื้นที่ 920 ไร่กลางหุบเขา ใน ต.ยะรม อ.เบตง ซึ่งห่างจากตัวเมืองราว 12 กม. ใช้วงเงินก่อสร้างกว่า 1,900 ล้านบาท ระยะแรกสร้างรันเวย์ 1,800 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดเล็ก เช่น เครื่องบินแบบใบพัด ATR ประมาณ 70-80 ที่นั่ง อนาคตมีแผนจะเพิ่มความยาวรันเวย์เป็น 2,100 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ ขณะนี้การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร งานทางวิ่ง (รันเวย์) ทางขับ(แท็กซี่เวย์) ลานจอดเครื่องบิน และระบบไฟฟ้าสนามบิน ระบบรักษาความปลอดภัย เครื่องเอ็กซเรย์ และกล้องวงจรปิด เสร็จสมบูรณ์ 100% มีอาคารรองรับผู้โดยสาร ได้ถึง 3 เเสนคนต่อปี

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

น้ำพริกส้มแขก ผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.ธารโต จ.ยะลา

      “ส้มแขกแปรรูปเป็นน้ำพริกส้มแขกเพื่อสุขภาพรับประทานคู่ข้าวเหนียวร้อนๆ รสชาติอร่อย ผลิตภัณฑ์ของฝาก จากยะลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรธารโต ได้เวลาฤดูส้มแขกในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ต้นส้มแขกที่ปลูกไว้ตามบ้าน ตามสวน ต่างออกลูกจำนวนมาก ชาวบ้านในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอธารโต ได้เร่งนำผลผลิตส้มแขกสด ไปแปรรูปเป็นเป็นน้ำพริกส้มแขกส่งขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับทางกลุ่ม 

       สำหรับการทำน้ำพริกส้มแขกนั้น จะมีวัสดุหลัก คือ ผลส้มแขกซึ่งจะต้องนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมเข้ากับส่วนประกอบอื่น อาทิ ปลาป่น พริกป่น หอมแดง กระเทียม น้ำตาลทรายแดง เกลือ ผงชูรส ฯลฯ นำลงผัดในกระทะซึ่งตั้งไฟร้อนๆ ผัดไปผัดมาจนแห้งได้ที่ เสร็จแล้วนำมาตั้งให้เย็นบรรจุกล่อง รอส่งขาย ซึ่งผู้ที่ได้ชิมน้ำพริกส้มแขกกับข้าวเหนียวร้อนๆ และผัก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่ารสชาติอร่อย เข้มข้นถูกปากจริงๆ


        คุณดาวรงค์ พิทักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา บอกว่าจากจุดเริ่มต้นทำน้ำพริกดาหลา ซึ่งในพื้นที่ อำเภอธารโตมีเป็นฤดูกาลค่อนข้างหายาก ก็เลยเปลี่ยนแนวคิดที่จะนำผลส้มแขก ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นมีปลูกกันจำนวนมากในพื้นที่ มาทำเป็นน้ำพริกส้มแขก ซึ่งแต่เดิมมีการนำผลส้มแขกไปทำทั้งแช่อิ่ม น้ำส้มแขก ก็เลยคิดว่าน่าจะนำผลส้มแขกมาทำน้ำพริกส้มแขกได้ ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่ผลส้มแขกออกจำนวนมาก โดยจะเน้นน้ำพริกส้มแขกเพื่อสุขภาพเป็นฮาลาล ใช้ปลาป่นเป็นหลักทุกคนจะได้กินได้ สำหรับส้มแขกก็สามารถทำได้ตลอดทั้งปี ถึงจะหมดส้มแขกสดแล้ว สามารถที่จะไปซื้อของชาวบ้านมาเก็บแช่ไว้ในตู้เย็นใช้ได้ตลอด



        การทำน้ำพริกส้มแขก กว่าจะมาถึงวันนี้เกือบครึ่งปีแล้ว ที่ได้ลองผิดลองถูกจนกลายมาเป็นสูตรที่มีความแน่นอนได้มาตรฐาน มีใบรับรองจาก อย. จนกระทั่งนำออกขาย โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ สำหรับน้ำพริกส้มแขกจะเก็บไว้ได้นาน เราผัดแห้งปิดผนึกอย่างดี โดยการแช่ตู้เย็นไว้สามารถที่จะอยู่ได้ถึงสองเดือน เสียงตอบรับดี ผู้ที่ได้ลิ้มชิมรสบอกว่ากินแล้วอร่อย ผู้ใหญ่ หน่วยงานต่างๆ จะนิยมซื้อไปเป็นของฝากจากทางใต้ ส่วนตลาดนั้นก็จะขายทั้งทางออนไลน์ และนำไปขายเวลาไปออกงานต่างๆ ด้วย ราคาขายอยู่ที่ 3 กระปุกหนึ่งร้อยบาท เดือนหนึ่งก็จำหน่ายได้ประมาณ 600-700 กระปุก อยากฝากน้ำพริกส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรธารโต ที่ต่อยอดมาจากการทำปลาส้มด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายผลิตภัณฑ์ทั้ง ไข่เค็ม กล้วยฉาบ



       สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง เลขที่ 51/1 ถนนสุขยางถนนสุขยางค์ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โทร 087-2987206 , 073-280232 

หินลานงาม บูเกะโต๊ะบีแด" แหล่งท่องเที่ยวชุมชน อ.ยะหา จ.ยะลา

        เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ดีขึ้น ประชาชนทั้งในพื้นที่ และต่างจังหวัดเดินทางมาสัมผัสแสงแรกและแสงสุดท้ายของวัน บนเขา หินลานงาม บูเกะโต๊ะบีแด ม.5 ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา ซึ่งก่อนหน้านี้ สถานการณ์โควิด ทางชุมชนกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเกะโต๊ะบีแด จึงประกาศงดรับนักท่องเที่ยว เพราะสถานการณ์โควิด 19 ล่าสุด ทางชุมชน กลุ่มรักษ์บ้านเกิด  บูเกะโต๊ะบีแด มีความเห็นว่า โควิด 19  เริ่มคลี่คลายลงแล้ว จึงเปิดรับนักท่องเที่ยวตามปกติ ท่ามกล่างความเข็มงวดในการป้องกันโควิด 19 และเที่ยวอย่าง Social Distancing เว้นระยะห่าง ทางสังคม ทางรอดโควิด-19ส่งผลให้วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แห่เดินทางขึ้นไปกางเต็นท์นอนชมแสงแรกและแสงสุดท้ายของวันใหม่ สำหรับเขาหินลานงาม หรือ ยอดเขาโต๊ะบีแด ใครก็ตามหากได้ขึ้นไปเยือน จะได้ยลทั้งแสงแรกในยามเช้า คลื่นทะเลหมอก และแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ที่กำลังจะลับของฟ้า เพราะยอดเขาแห่งนี้มีลานหินกว้างไร้สิ่งบดบัง มองเห็นได้ทั้งทิวทัศน์ฝั่ง อ.บันนังสตา จ.ยะลา และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ซึ่งทั้งสองอำเภอเป็นเขตติดต่อกับ อ.ยะหา เพียงแต่อยู่คนละฝั่งกัน 

        เมื่อดวงตะวันอำลาเส้นขอบฟ้าไปแล้ว ยังมีอันซีนในภาคกลางคืนให้ได้ชมกัน นั่นก็คือแสงจันทร์ แสงดาว และไฟวับแวมจากชุมชนเชิงเขา ทั้งบ้านบ้านเจาะกลาดี บ้านตาชี และบ้านหาดทราย นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเกะโต๊ะบีแด หินล้านงาม ได้ที่เพจหินล้านงาม     บูเกะโต๊ะบีแด หรือ ที่รอกีเยาะ อาบู ประธานกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเก๊ะโต๊ะบีแด 0864407260 , 083 - 1715419


        นางสาวรอกีเยาะ อาบู ประธานกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเก๊ะโต๊ะบี กล่าวว่า ที่นี้ นักท่องเทียวมาตลอด ต่อเนื่อง ถือว่าได้รับความสนใจจากคนทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด แม้ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มประสบปัญหาโควิด 19 ระบาด ส่งผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ทางชุมชนจึงต้องประกาศงดรับนักท่องเทียว มีพี่น้อง ทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ประสานเข้ามา เป็นจำนวนมากมีตลอดทุกสัปดาห์


         ขอบคุณทุกท่านที่ประสานเข้ามา ในขณะที่เรางดรับนักท่องเที่ยว เห็นชัดว่า พื้นที่ตรงนี้ มีความสวยงามมากจน คนที่เคยมาแล้ว ต้องมาอีก เพราะ ที่นี้เต็มไปด้วยธรรมชาติ พวกเราพัฒนา ตรงนี้ไปพร้อมๆกับเกสรดูธรรมชาติ ต้นไม้ล้ม 1 ต้น เราปลูกทดแทน อีก10 ต้น และเราก็จะต้องดูแลรักษาให้ต้นไม้โตด้วยเพราะที่นี้คือบ้านเรา 

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

“ข้าวช่อขิง” ข้าวพื้นถิ่นพันธุ์ดีของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

 


ข้าวช่อขิงเป็นข้าวเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ มีกลิ่นหอม ปลูกง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีสารเบต้าแคโรทีนช่วยต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าข้าวกล้องหอมมะลิทั่วไปถึง 6 เท่า แถมยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ช่วยบำรุงดวงตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกและชะลอความแก่ก่อนวัยอีกด้วย

ข้าวช่อขิงนอกจากจะเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว กลุ่มสตรีฟื้นฟูนาร้างบ้านพรุชิง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาได้รวมตัวกันเพื่อร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ ผลผลิตและการแปรรูปที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัวและชุมชน เช่น การแปรรูปข้าวช่อขิงเป็น ขนมครกข้าวช่อขิงซึ่งมีความนุ่มละมุนลิ้น มีความหอมเฉพาะตัว และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านกระอาน ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ยังได้จัดโครงการโรงเรียนยุวชนชาวนา Young Smart Farmer ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ วิทยาลัยชุมชนสงขลา กลุ่มปลูกข้าวช่อขิงบ้านกระอาน และโรงเรียนบ้านกระอาน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนส่งเสริมและร่วมมือกันทำนาแบบเกษตรปลอดภัยผ่านการปลูกข้าวช่อขิง ยิ่งไปกว่านั้นประโยชน์ที่ได้มากกว่าการทำนา หรือผลผลิตจากการทำนา คือ เด็กนักเรียนที่เป็นแกนนำยุวชนชาวนาและเหล่ายุวชนชาวนาในระดับประถมศึกษา ได้เรียนรู้การทำนาจากการปฏิบัติจริง เกิดคุณธรรมความดีงามให้กับยุวชนชาวนาในหลายๆด้าน เช่น ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความอดทน มีวินัย คณะครูและบุคลากร รวมถึงประชาชนในพื้นที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย

ทั้งนี้ โครงการโรงเรียนยุวชนชาวนายังเกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ทั้งด้านความมั่นคงด้านพื้นที่ พี่น้องประชาชนได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ด้วยกัน ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ด้านความมั่นคงด้านอาหาร ประชาชนส่วนหนึ่งที่เริ่มทิ้งที่นา ได้กลับมาทำนาอีกครั้ง และด้านความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ซึ่งข้าวช่อขิงเป็นข้าวพันธุ์ดีที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ และนำไปจำหน่ายสู่ท้องตลาด นับเป็นการกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านและชุมชนบ้านกระอานได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564

เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยว สัมผัสแสงแรกและแสงสุดท้าย "หินลานงาม บูเกะโต๊ะบีแด”

 


ประชาชนทั้งในพื้นที่ และต่างจังหวัดเดินทางมาสัมผัสแสงแรกและแสงสุดท้ายของวัน บนเขา หินลานงาม บูเกะโต๊ะบีแด ม.5 ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา ซึ่งก่อนหน้านี้ สถานการณ์โควิด ทางชุมชนกลุ่มรักษ์บ้านเกิด บูเกะโต๊ะบีแด จึงประกาศงดรับนักท่องเที่ยว เพราะสถานการณ์โควิด 19 ล่าสุด ทางชุมชน กลุ่มรักษ์บ้านเกิด บูเกะโต๊ะบีแด มีความเห็นว่า โควิด 19 เริ่มคลี่คลายลงแล้ว จึงเปิดรับนักท่องเที่ยวตามปกติ ท่ามกล่างความเข็มงวดในการป้องกันโควิด 19 และเที่ยวอย่าง Social Distancing เว้นระยะห่าง ทางสังคม ทางรอดโควิด-19

ส่งผลให้วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แห่เดินทางขึ้นไปกางเต็นท์นอนชมแสงแรกและแสงสุดท้ายของวันใหม่ สำหรับเขาหินลานงาม หรือ ยอดเขาโต๊ะบีแด ใครก็ตามหากได้ขึ้นไปเยือน จะได้ยลทั้งแสงแรกในยามเช้า คลื่นทะเลหมอก และแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ที่กำลังจะลับของฟ้า เพราะยอดเขาแห่งนี้มีลานหินกว้างไร้สิ่งบดบัง มองเห็นได้ทั้งทิวทัศน์ฝั่ง อ.บันนังสตา จ.ยะลา และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ซึ่งทั้งสองอำเภอเป็นเขตติดต่อกับ อ.ยะหา เพียงแต่อยู่คนละฝั่งกัน

            เมื่อดวงตะวันอำลาเส้นขอบฟ้าไปแล้ว ยังมีอันซีนในภาคกลางคืนให้ได้ชมกัน นั่นก็คือแสงจันทร์ แสงดาว และไฟวับแวมจากชุมชนเชิงเขา ทั้งบ้านบ้านเจาะกลาดี บ้านตาชี และบ้านหาดทราย

            นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเกะโต๊ะบีแด หินล้านงาม ได้ที่เพจหินล้านงาม บูเกะโต๊ะบีแด หรือ ที่รอกีเยาะ อาบู ประธานกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเก๊ะโต๊ะบีแด 0864407260 , 083 - 1715419

            นางสาวรอกีเยาะ อาบู ประธานกลุ่มรักษ์บ้านเกิดบูเก๊ะโต๊ะบี กล่าวว่า ที่นี้ นักท่องเทียวมาตลอด ต่อเนื่อง ถือว่าได้รับความสนใจจากคนทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด แม้ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มประสบปัญหาโควิด 19 ระบาด ส่งผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ทางชุมชนจึงต้องประกาศงดรับนักท่องเทียว มีพี่น้อง ทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ประสานเข้ามา เป็นจำนวนมากมีตลอดทุกสัปดาห์

            ขอบคุณทุกท่านที่ประสานเข้ามา ในขณะที่เรางดรับนักท่องเที่ยว เห็นชัดว่า พื้นที่ตรงนี้ มีความสวยงามมากจน คนที่เคยมาแล้ว ต้องมาอีก เพราะ ที่นี้เต็มไปด้วยธรรมชาติ พวกเราพัฒนา ตรงนี้ไปพร้อมๆกับกสรดูอลธรรมชาติ ต้นไม้ล้ม 1 ต้น เราปลูกทดแทน อีก10 ต้น และเราก็จะต้องดูแลรักษาให้ต้นไม้โตด้วยเพราะที่นี้ คือบ้านเรา






*******************************

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

ฝึกอาชีพจักสานยามว่าง ชาวบ้านท่าสาป จ.ยะลา

        การจักสานเครื่องใช้จากไม้ไผ่ เป็นงานฝีมือที่ชาวบ้านในตำบลท่าสาป อำเมือง จังหวัดยะลา  เคยฝึกฝนสืบทอดกันมาหลายชั่วคน แต่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ภายหลังจากความเจริญและเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆมีมากขึ้น ทำให้การผลิตข้าวของเครื่องใช้ขึ้นมาเองถูกหลงลืมจนเกือบจะหายไปจากชุมชน ด้วยเหตุนี้ อิสมะแอ  เลาะแม เด็กหนุ่มรุ่นใหม่ที่มองเห็นว่าหากปล่อยไว้ ไม่มีการส่งเสริมสืบทอด ภูมิปัญญาการจักสานเหล่านี้ ก็อาจสูญหายไปได้ ดังนั้นเขาจังริเริ่มจัดตั้งกลุ่มจักสานงานไม้ไผ่ขึ้นมา โดยมีนายเจ๊ะอาแซ เลาะแม พ่อของเขาซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่ยังคงสืบทอดงานจักสานนี้อยู่ เป็นครูผู้สอนสำหรับคนในชุมชนที่สนใจ


        ภายหลังจากที่รวบรวมเป็นกลุ่มฝึกสอนกันเองในชุมชนแล้ว ทางหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล  ตำบลท่าสาป หรือสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ก็ได้เข้ามาให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และสถานที่ โดยขณะนี้มีชาวบ้านในชุมชนที่สนใจเข้ามาฝึกเป็นอาชีพกว่ายี่สิบคน เนื่องจากมองเห็นว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว    


      ในช่วงเวลาที่หลายคนว่างงานจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 หากเราสามารถหาอาชีพเสริมไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าของที่ระลึก หรือการจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้และงานฝีมือ อย่างเช่นชาวบ้านในตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา กลุ่มนี้ ก็จะสามารถลดภาระความเดือดร้อนจากการว่างงานอีกทางหนึ่ง และนอกจากจะมีรายได้แล้วยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญางานฝีมือที่มีมาของบรรพบุรุษอีกด้วย