วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

กปิเยาะห์ และผ้าคลุมผม ...อาชีพบนฐานวัฒนธรรม

กปิเยาะห และ ผ้าคลุมผม เป็นองค์ประกอบสำคัญในวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมุสลิมที่จำเป็นต่อวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งความต้องการนี้ได้กลายเป็นช่องทางใน การสร้างอาชีพ-สร้างรายได้ ให้กับพี่น้องมุสลิมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา โดยปัจจุบันมีการรวมกลุ่มผลิตผ้าคลุมผมสตรี จำนวน ๑๐๙ กลุ่ม สมาชิก ๒,๘๒๖ คน และมีผู้ผลิตหมวกกปิเยาะห์จำนวน ๑๘๘ กลุ่มสมาชิก ๒,๑๖๗ คน โดยมีตลาดรองรับทั้งในและตลาดต่างประเทศ สำหรับตลาดต่างประเทศนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ พบว่ามีการส่งออกกปิเยาะห์สูงถึง ๒๗๕ ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อีกมาก แต่ชุมชนกลับไม่ได้ประโยชน์จากโอกาสนี้

ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิต “กปิเยาะห์” แหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัด มีจำนวนผู้ผลิตกปิเยาะห์มากถึง ๗๘ กลุ่ม แต่ด้วยต่างคนต่างผลิต ต่างคนต่างขาย ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ส่งผลให้ราคาของกะปิเยาะห์ต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งที่ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาเนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตขาดเงินทุนหมุนเวียนไม่สามารถกักตุนสินค้าไว้จนถึงฤดูกาลตลาดได้ หรือบางรายที่ใช้วิธีฝากกปิเยาะห์ไปกับกลุ่มผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ แล้วถูกโกงกลายเป็นหนี้สินนับล้านบาท ซึ่งปัญหาของผู้ผลิตกปิเยาะห์ส่วนใหญ่มักจะวนเวียนอยู่เช่นนี้...



อับดุล เล่าว่า จากการทบทวนสภาพปัญหาอาชีพการผลิตกปิเยาะห์ร่วมกัน ทำให้พบว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กลุ่มไม่เข้มแข็งก็คือ “ความไม่รู้” กลุ่มผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตลาดอยู่ที่ไหน ไม่รู้ว่าตลาดต้องการอะไร เพราะไม่รู้จึงคอยแต่พึ่งพาพ่อค้าคนกลาง ที่จะคอยบงการว่าต้องผลิตรูปแบบใด จำนวนเท่าไหร่ และที่สำคัญคือ การกำหนดราคา แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่กลุ่มได้เรียนรู้ก็คือการที่หมวกกปิเยาะห์ถูกตีราคาต่ำ เป็นเพราะคุณภาพการตัดเย็บไม่ได้มาตรฐาน สมาชิกขาดทักษะด้านฝีมือ ขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ด้วยที่ผ่านมาประธานกลุ่มจะเป็นผู้จัดการทุกอย่างเพียงผู้เดียวแก้ไขอย่างเท่าทัน



         เมื่อรู้ถึง “เหตุแห่งปัญหา” ที่ชัดเจนการแก้ไขจึงทำได้ “ตรงจุด” จุดอ่อนต่างๆ ค่อยๆ ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นจุดแข็ง เริ่มการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตกปิเยาะห์ในตำบลทั้งหมดศึกษารูปแบบ ระบบตลาดและเส้นทางการค้าของกปิเยาะห์ทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาทางเลือกในการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับอำเภอ และจังหวัด พร้อมทั้งแสวงหารูปแบบการรวมกลุ่ม แหล่งทุน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยศึกษาดูงานรูปแบบการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็ง


กระบวนการศึกษาเรียนรู้ทั้งหมดนี้ไม่เพียงทำให้กลุ่มค้นพบข้อด้อยของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังพบ “ศักยภาพ” หรือ “ทุน” ที่มีอยู่ในชุมชนหลายอย่างที่เอื้อให้กลุ่มผู้ผลิตสามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายด้วยตัวเอง เช่น รู้ว่า มีบุคลากรที่มีทักษะ มีความรู้ มีประสบการในการนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย มีแหล่งทุน ที่พร้อมจะให้การสนับสนุน และมีภาคีที่จะช่วยหนุนเสริมในส่วนที่ขาด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น