"มาแกปูโล๊ะ - มาแกแต" ประเพณีไทยดั้งเดิมของชาวมุสลิมท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนใต้
ประเพณีมาแกปูโล๊ะเป็นประเพณีไทยดั้งเดิมของชนชาวมลายูท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน ตั้งแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อท้องถิ่นมลายูก่อนที่จะรับเอาศาสนาอิสลามในเวลาต่อมา ช่วงที่ยังนันถือศาสนาพราหมณ์นั้นในการจัดงานแต่ละครั้งจะมีวัฒนธรรมและพิธีกรรมที่ไม่เหมือนกับปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วจะนับถือพวกผี เทวดา เจ้าที่ เจ้าทาง พิธีกรรมบางอย่างจะอยู่ในรูปของการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามีบทบาทมากขึ้นมีการเผยแพร่ศาสนากระจายในวงกว้างขึ้น และมีอิทธิพลต่อคนในพื้นที่มาก ซึ่งได้สอนถึงการนับถือพระจ้าองค์เดียว (อัลลอฮฺ) เท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ประเพณีบางอย่างในอดีตค่อยๆหายไปเพราะเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการของอิสลาม (ซิริก) แต่ไม่ใช่ว่าสูญหายไปแต่จะถูก ปรับ เปลียนอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินอยู่ได้ในชุมชนมุสลิมบางชุมชนถึงทุกวันนี้ได้ และจากที่วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปทำให้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในสังคนนั้นอย่างไร
มาแกปูโล๊ะเป็นภาษามลายูท้องถิ่นของ 3 จังหวัดภาคใต้ ตรงกับภาษาไทยว่า "กินเหนียว" มาแกปูโละเป็นประเพณี "กินเลี้ยง" ของท้องถิ่น นิยมทำกันทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมภาคใต้ ในกลุ่มของชาวมุสลิมนั้น "มาแกปูโละ" หมายถึงงานกินเลี้ยงใน งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัด หรือเพื่อหาเงินกิจกรรมอะไรสักอย่างก็ได้ แต่สำหรับชาวไทยพุทธหมายถึงงานเลี้ยงแต่งงานอย่างเดียว ความจริงเมื่อไปในงานนี้แล้ว ไม่ได้ไปกินข้าวเหนียว หากแต่ไปกินข้าวเจ้าเหมือนงานกินเลี้ยง ทั่วไป สันนิษฐานว่า เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจน กลายเป็นข้าวเจ้า แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่ากินเหนียวอยู่
ในท้องถิ่นมลายูในจังหวัดชายแดนใต้มีการเรียกงานมาแกปูโล๊ะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละงาน เช่น งานดุหรี งานมาแกแต งานมาแกปูโล๊ะ งานแบะเวาะห์ หรือกินเหนียวและกินบุญของชาวไทยพุทธนั้นเอง และอีกความหมายหนึ่งนั้นหมายถึง เป็นการตั้งคำถามกับหนุ่มสาวว่าเมื่อไหรจะมาแกปูโล๊ะกับเขาบ้าง( เมื่อไหรจะมีงานแต่งงานเป็นของตนเอง )
คำว่า "กินเหนียว" ในกลุ่มชาวพุทธมักจะหมายถึงงาน "แต่งงาน" มากกว่างานอย่างอื่น เช่น บ้านใดมีลูกสาวหรือลูกชายควรแก่วัยจะมีเหย้ามีเรือนได้แล้ว ก็มะมีคนถามว่า "บ้านนี้เมื่อไร จะได้กินเหนียว" การกินเหนียวในกลุ่มชาวพุทธ แขกได้กินเหนียวจริง ๆ กล่าวคือ หลังจาก รับประทานอาหารคาวซึ่งจะมีอาหารชนิดต่างๆ เสร็จแล้ว เจ้าของงานจะถอนชามกลับ แล้วยกเอา "ข้าวเหนียว" มาเลี้ยงต่อ "ข้าวเหนียว" ที่ได้รับประทานกันในงานแต่งงาน มีหลายแบบ เช่น เหนียว สีขาวธรรมดาหรือสีเหลืองคู่กับสังขยา หรือมะพร้าวผัดกับน้ำตาลเรียกว่า "หัวเหนียว" บางแห่งก็ใช้ ข้าวเหนียวแก้ว บางแห่งใช้กะละแมเป็นหัว ถ้าเป็นสมัยก่อนลงไปอีกหน่อย แขกสตรีเมื่อไปช่วยงาน จะเอาข้าวสาร ขมิ้น พริกขี้หนู กระเทียม ตลอดจนเครื่องครัวอื่น ๆ ใส่ "หม้อเหนียว" ไปช่วยงานแทน เงิน กรณีนี้เจ้าของงานจะต้องห่อข้าวเหนียวใส่ "หม้อเหนียว" กลับไปให้เจ้าของหม้ออีกด้วย แต่ โดยทั่วไปแล้ว สำหรับแขกสตรีแม้ไม่มี "หม้อเหนียว"ไปก็จะได้รับห่อข้าวเหนียวกลับบ้านเสมอ
อาหารที่นิยมเลี้ยงในงานมา แกปูโล๊ะก็จะเป็นอาหารธรรมดา เช่น พะแนงเนื้อ มัสมั่น กอและ คั่วเนื้อ นาสิกราบู (ข้าวยำ) ขนมจีนเป็นต้น ในชนบทจริง ๆ เครื่องเคียงอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะขาดไม่ได้ คือ "ษมา" พริกตำกับเกลือ ปรุงรสให้อร่อยมีสีแดงน่ารับประทาน) สำหรับในตัวเมืองอาหารก็พิสดารไปตามความนิยม ถ้า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้รับเชิญไปในงานกับข้าวที่ต้อนรับก็จะจัดกันพิเศษไปจากการต้อนรับแขกทั่วไป ถือว่าเป็นการให้เกียรติกันเป็นพิเศษ
ประเพณีมาแกแต เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปล่ว่า กินน้ำชา เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเพณีมาแกแต หรือกินน้ำชา ไม่ใช่วัฒนธรรมทางศาสนาอิสลาม แต่เป็นเรื่องที่สังคมในท้องถิ่นคิดจัดขึ้นมาเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหาเงิน เนื่องในกรณีต่างๆ เช่น
1.หาเงินเพื่อสร้างโรงเรียน มัสยิด สุเหร่า ศาลา ฯลฯ ซึ่งเป็นศาสนสถานต่างๆ
2.หาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมกกะฮฺ ซึ่งไม่ใช่บัญญัติของศาสนา
3.หาเงินไปใช้จ่ายในกรณีต่างๆ เช่น ขับรถยนต์ชนคน ชำระหนี้สิน ซื้อปืน หรือถูกจับในข้อหาต่างๆ
สำหรับชุมชนบางตาวานั้นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นยังมี มาแกแต กรณีลูกต้องไปเกณฑ์ทหารแต่ผู้ปกครองไม่อยากให้ไปอาจจะด้วยเหตุผลต่างๆ จึงต้องการจ่ายเพื่อให้ลูกพ้นจากที่ต้องไปเกณฑ์ทหาร และยังมีกรณีเรือล้มด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น