หลังจากที่คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วยCOVID
– 19 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนักจากโรงพยาบาลอื่นๆ ใน 14
จังหวัดภาคใต้ และเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 ณ
ศูนย์บ่มเพาะคนดี สวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม
ติณสูลานนท์และศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
เพื่อรองรับและดูแลผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษาและต้องพักฟื้นร่างกายให้ปลอดภัย
ซึ่งจากการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยจากการทำหน้าที่ใน 2
พื้นที่ดังกล่าวแล้ว ทางคณะแพทยศาสตร์ ได้ส่งทีมแพทย์
พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในด้านอื่นๆ ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ณ
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ภูเก็ต (รพ.สนาม 2)
รศ.นพ.พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ทำหน้าที่ผลิตแพทย์
และมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยโรคยากและซับซ้อนใน 14
จังหวัดภาคใต้ ซึ่งในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVID -19
ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่มีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
จนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องทำงานหนักเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น
ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นับเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะการช่วยเหลือครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยเพื่อนแพทย์เท่านั้น
แต่ยังเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยอีกด้วย
การสร้างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
(รพ.สนาม 2) ในครั้งนี้
เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานในหลายๆฝ่าย
นับตั้งแต่ผู้บริหารของจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส
ที่สนับสนุนเครื่องบิน 1 ลำ เที่ยวบิน PG8401
นำทีมแพทย์ พยาบาล และทีมงานเดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต รวมถึงผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ของศูนย์กีฬา ภายในมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ในการดูแลผู้ป่วย
ซึ่งศูนย์กีฬา เมื่อปรับให้เป็นโรงพยาบาลสนาม จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 140
เตียง โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล ให้การดูแลรักษา ประมาณ 50 คน
ทำการรักษาผู้ป่วยโรคCOVID – 19 ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด
เพื่อให้ทุกคนปลอดเชื้อก่อนที่จะกลับไปอยู่บ้านกับครอบครัวต่อไป
นอกจากนี้
ทางคณะทำงานได้นำต้นแบบและประสบการณ์การทำงานที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
สาขา 2 ได้รับการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น