กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟคั่ว มีการปลูกต้นกาแฟมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตร ซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
นายคอลิด วาลีดง หนุ่มชาว จ.สตูล/ผู้เชี่ยวชาญด้านคั่วกาแฟโบราณ เปิดเผยว่า ตนเองเป็นคนพื้นเพจังหวัดสตูล เกิดมาในครอบครัวการทำกาแฟโบราณ ซึ่งสืบทอดกันมา ประมาณ 100 ปี และได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ได้ร่วมงานกับบริษัทกาแฟบราวน์คอฟฟี่ที่ประเทศลาว และทำงานอยู่ที่นั่นนานถึง 10 ปี ในระหว่างนั้น ได้เดินทางเข้า-ออกหลายพื้นที่และหลายประเทศ เพื่อดูกระบวนการผลิตกาแฟ อีกทั้งได้ไปดูการทำกาแฟในเวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า และมาเลเซีย ซึ่งลักษณะการปลูกกาแฟในแต่ละพื้นที่มีคุณภาพที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุผลของภูมิอากาศ แร่ธาตุในดิน ซึ่งทำให้กาแฟแต่ละที่จึงมีรสชาติและกลิ่นที่รับรสที่ต่างกัน หลังจากนั้นได้มีโอกาสกลับมาอยู่บ้าน ด้วยความที่เรามีความรู้ของกาแฟอยู่แล้วก็เลยตัดสินใจทำสวนกาแฟ
นายคอลิด วาลีดง ยังกล่าวด้วยว่า การที่สนใจจะปลูกกาแฟนั้น เกษตรกรต้องมั่นใจในเรื่องของสายพันธุ์ด้วยว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นดิน และสภาพอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ส่วนเรื่องของคุณภาพในรสชาติและการให้ผลผลิตนั้น จากการเดินทางเก็บเกี่ยวสายพันธุ์เพื่อที่จะมาคัดพันธุ์เป็นเวลาประมาณ 3 ปี ตนเริ่มเก็บพันธุ์กาแฟตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง สตูล สงขลา ยะล นราธิวาส และพัทลุง จึงได้สายพันธุ์แล้วจึงนำไปเพาะในแปลงเดียวกันเพื่อที่จะมีการผสมข้ามสายพันธุ์ ดูว่ายีนเด่นผสมกับตัวไหนได้บ้าง เพื่อให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาโดยใช้ระยะลาเวลา 3 ปีจึงได้ผลผลิตขึ้นมา ส่วนตัวมองว่ากาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าซึ่งเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองเหมาะสมกับพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้หมายว่าว่า พื้นที่แห่งนี้จะปลูกกาแฟสายพันธุ์อื่นไม่ได้ เพียงแต่ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรสชาดหรือแม้กระทั่งโรคต่างๆ
อย่างไรก็ตาม
ผลผลิตเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสายพันธุ์อาราบิก้ากับโรบัสต้าที่ได้ต่อต้น
อาราบิก้า จะได้ต้นละประมาณ 5 กก.ส่วนโรบัสต้า จะได้ผลผลิตต้นละประมาณ
15 กก.และจะขายกิโลกรัมละ 80 บาท
รายได้ เฉลี่ยต่อปี ได้ประมาณไร่ละ 32,000 ต่อปี
ซึ่งหากเกษตรท่านใดที่ต้องการจะแปรรูปเป็นสินค้าท้องถิ่นหรือสินค้าชุมชนตนพร้อมที่จะไปให้ความรู้ยังพี่น้องเกษตรกรทุกคน
สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-515-3368
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น