พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในรัชกาลที่ 9 พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จในท้องถิ่นชนบท ทั่วประเทศไทย
ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ที่นำไปสู่ความแห้งแล้งของ
แผ่นดิน
และได้ทรงห่วงใยทรัพยากรธรรมชาติ และพสกนิกรของพระองค์มาโดยตลอด
ทรงอุทิศพระองค์ในการจัดหาแหล่งน้ำให้ราษฎรในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกล
และทุรกันดารมาเป็นเวลานาน และทรงทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้งที่ทวีความรุนแรงมากที่สุดในภาคอีสาน
ทรงวิตกว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้ จะต้องกลายเป็นทะเลทรายอย่างแน่นอน
พระองค์ทรงวินิจฉัยหาสาเหตุและทรงทราบว่า
สาเหตุหนึ่งของการตัดไม้ทำลายป่าก็คือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความยากจน
และด้วยปณิธานของพระองค์ในการช่วยเหลือประชาชน
พระองค์จึงมีพระราชดำริตั้งโครงการฝายชะลอน้ำเพื่อเป็นการฟื้นฟูทรัพยากร
ธรรมชาติขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชน
ซึ่งโครงการฝายชะลอน้ำได้ถูกสร้างขึ้นหลายภูมิภาคในพื้นที่ประเทศไทย
ในส่วนของพื้นที่ จชต.
ก็ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำขึ้นมา
ซึ่งจากการประชุมการแก้ไขสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลาง
ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินโครงการ สร้างฝายประชารัฐ อนุรักษ์ดินน้ำ ป่าไม้
เพื่อถวายความอาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจะสร้างฝาย 890 ฝาย ปลูกต้นไม้ 8,900
ต้น ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบางลาง และสวนป่าพระนามาภิไธย (ป่าต้นน้ำ)
ขั้นต้นกำหนดสร้างฝายมีชีวิตเพื่อเป็นต้นแบบให้กับ 3 จชต. ณ อุทยานแห่งชาติบางลาง
จ.ยะลา โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ซึ่งกำหนดพิธีเปิดโครงการใน 11 ธ.ค.59
โดยจะเรียนเชิญ ผอ.รมน.ภาค 4
เป็นประธาน
พิธีเปิดจะมีกิจกรรมปลูกต้นไม้
และพิธีเปิดฝายมีชีวิต
เบื้องต้นกำหนดชื่อว่า ฝายมีชีวิต
"บาตูตาโมง"
ได้เริ่มสร้างฝายเมื่อ 29 พ.ย.59
ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างหลายวัน ขณะนี้กำลังเร่งสร้าง
เพื่อให้เป็นรูปร่างฝายมากที่สุดให้พร้อมในวันเปิดพิธี
“ฝายมีชีวิต
เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ การอยู่ดี
กินดีของประชาชน สภาพดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าขาดความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากร
เช่น ดิน น้ำ ป่า ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้น้ำเต็มคลองตลอดทั้งปี
จะทำให้น้ำซึมแผ่กระจายไปในดิน เมื่อดินชุ่มน้ำ ป่าก็จะสมบูรณ์
สามารถทำการเกษตรได้ทุกพื้นที่ ส่งผลให้คนกลับถิ่น เพราะทรัพยากรเกิดขึ้นในชุมชน
เป็นฐานการผลิต เกิดเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น