‘ลมใต้ สายบุรี’
ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของคนไทยทั้งประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่
7
สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลการนับคะแนนประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเห็นชอบรัฐธรรมนูญ
และเห็นชอบคำถามพ่วง อย่างไรก็ตามในส่วนของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่
ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี
จำนวนประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิไม่รับร่างมากกว่ารับร่างประชามติ
แต่เมื่อดูในภาพรวมของประชาชนในพื้นที่
จชต. จำนวน 65%
ที่ออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ
โดยไม่มองว่าประชาชนรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มีนัยบางอย่างที่บ่งบอกว่าเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในพื้นที่ยอมรับอำนาจรัฐ
และเห็นด้วยกับ Road Map ของ คสช. ในการปฏิรูปประเทศ
ในขณะเดียวกันประชาชนที่ออกมาลงประชามติ
65% ปฏิเสธกลุ่ม BRN
ที่พยายามขัดขวางทุกวิถีที่ไม่อยากให้ประชาชนในพื้นที่ออกมาใช้สิทธิ
เกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ดังกล่าวขณะที่ปัญหาความรุนแรงที่ยืดเยื้อมาสิบกว่าปีสาเหตุทำไมประชาชนในพื้นที่จึงไม่รับร่างประชามติ
ประชาชนคิดอะไร?
เป็นความต้องการโดยแท้จริงหรือมีผู้อยู่เบื้องหลังคอยชี้นำทางความคิด
หากย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะมีการรับร่างประชามติ
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีกลุ่มนักการเมืองหน้าเก่าๆ ทำการบิดเบือนรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะในประเด็นการศึกษา
ศาสนา เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกคล้อยตาม
เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และนิยมส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
ในขณะเดียวกันสถานการณ์ความรุนแรงกลุ่มขบวนการคอยเติมเชื้อไฟด้วยการสั่งการให้สมาชิกแนวร่วมฉกฉวยโอกาสในการก่อเหตุ
ผลลัพธ์ที่เกิด
ชาวบ้านต่างได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวตามหลักแนวคิดของรัฐบาลในการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจที่ได้ประกาศ
กลุ่มนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล
และกลุ่มขบวนการได้พยายามขัดขวางไม่ให้มีการพัฒนาให้มีความเจริญ
อีกทั้งไม่อยากให้เกิดขึ้นในพื้นที่
บทสรุปคือทำเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนโดยไม่มีอุดมการณ์และทำเพื่อประชาชน
ไม่อยากให้พื้นที่มีความเจริญทัดเทียมพื้นที่อื่นๆ
ไม่อยากให้ประชาชนฉลาดและรู้เท่าทันเพื่อหวังผลในการชี้นำในเรื่องต่างๆ ในวันหน้า
หากนักการเมืองเหล่านี้มีความบริสุทธิ์ใจประกาศให้พี่น้องประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิมีความมั่นใจในความปลอดภัย
ด้วยการออกไปใช้สิทธิลงประชามติให้มาก และใช้ดุลยพินิจของตนเองโดยไม่ต้องกลัวกรงอิทธิพลใดๆ
ผลที่ออกมาคงไม่เป็นเช่นนี้
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างจากพื้นที่อื่นๆ
ของประเทศ ความไม่รู้ภาษาไทยของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นปัจจัยหนึ่ง
การเชื่อฟังผู้นำศาสนาก็อีกปัจจัยหนึ่ง นักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดก็มีความสำคัญในการชี้นำ
เมื่อมีการบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่มีความละเอียดอ่อนต่อความคิดความเชื่อและวิถีชีวิต
ผสมโรงกับปัจจัยเร่งในการก่อเหตุของกลุ่มขบวนการคือตัวปลุกเร้าเพื่อคนกลุ่มนี้จะนำผลการรับร่างประชามติดังกล่าวมาทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับประเด็นสิทธิการกำหนดใจตนเองเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชตามแนวทางของปีกการเมืองฝ่ายขบวนการ
นักการเมืองบิดเบือนรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นการศึกษา
และศาสนา มีการปลุกเร้าชี้นำในเวทีต่างๆ
สอดรับกับกลุ่มขบวนการทำการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ด้วยการก่อกวนด้วยการลอบวางระเบิดในหลายจุดพื้นที่จังหวัดยะลาก่อนการลงประชามติ
เพื่อมุ่งสร้างความหวาดกลัวให้ประชาชนไม่กล้าออกไปใช้สิทธิ หรือหากออกไปใช้สิทธิให้ทำการกาในช่องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อไม่ให้การยอมรับรัฐธรรมนูญไทย
ก่อนหน้านี้ได้มีการก่อกวนด้วยการเขียนป้ายผ้า
และทำการพ่นสีสเปรย์ปูพรมในหลายพื้น เพื่อทำการสื่อว่าพี่น้องมลายูไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ตามติดด้วยเสียงระเบิดก่อกวนหลายจุดก่อนวันลงประชามติ เพื่อหวังไม่ให้พี่น้องมลายูออกมาใช้สิทธิ
ซึ่งเมื่อตัวเลขออกมาของผู้ใช้สิทธิทั้งสามจังหวัดในภาพรวมแสดงว่าการก่อเหตุระเบิดก่อกวนไม่เป็นผล
ถ้าคิดง่ายๆ
ว่าผู้ที่รับร่างน่าจะเป็นกลุ่มคนที่ติดตามข่าวสารและเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
รวมทั้งเข้าใจต่อบทบาทของ คสช.
และคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในการที่ผ่านวิกฤติของประเทศไทย
เพื่อก้าวไปสู่การปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนผู้ที่ไม่รับร่างอาจยังเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
อาจเนื่องมาจากปัญหาในเรื่องของภาษาหรือการสื่อสารไม่ทั่วถึง
รวมทั้งเกิดจากพื้นฐานการศึกษาของประชาชนด้วย
จึงส่งผลให้ถูกชี้นำจากฝ่ายที่ต้องการบิดเบือนในร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งแท้จริงแล้วคนที่ออกมารับร่างส่วนหนึ่งลงคะแนนด้วยความบริสุทธิ์ใจในความคิดที่มีอิสระ
ส่วนผู้ที่เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองอย่างไรเสียก็ไม่รับร่างอยู่แล้ว
ส่วนหนึ่งอาจหลงเชื่อการปลุกระดมบิดเบือนในเนื้อหารัฐธรรมนูญในประเด็นบางมาตราเกี่ยวกับการศึกษาที่ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเสียเงินอุดหนุน
หรือ บางมาตราที่เขียนเป็นประโยชน์ต่อชาวพุทธ
จากการรุกหนักด้วยการบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ
ตามติดด้วยการลอบระเบิดสร้างสถานการณ์ก่อกวนเพื่อสกัดกั้นมิให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ
แต่เมื่อไม่สามารถระงับยับยั้งให้พี่น้องประชาชนออกมาใช้สิทธิ
ความป่าเถื่อนด้วยการใช้ความรุนแรงก็บังเกิดด้วยการใช้ความรุนแรงด้วยการลอบระเบิดรถขนหีบบัตรประชามติในจังหวัดปัตตานี
เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 2 นาย (ส.ต.ต. กฤษฎา หลวงสนาม, ส.ต.ต. นาวิน
แสงทองสุข) และ นายอารีซี มาหามะ อายุ 51
ปี ครู รร.บ้านแซ๊ะโม๊ะ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมหน่วยออกเสียงประชามติ
ได้รับบาดเจ็บสาหัส
นักการเมืองบางคน
กลุ่มขบวนการและกลุ่มผลประโยชน์จากภัยแทรกซ้อนเกื้อหนุนให้ปัญหา จชต.
มีความสลับซับซ้อน เนื่องจากทั้ง 3 กลุ่มมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องในการคอยเติมเชื้อไฟใต้
นอกจากนี้ยังมีปีกการเมืองของกลุ่มขบวนการหน้าเดิมๆ
ที่อย่างเช่นกลุ่มนักศึกษา PerMAS, LAMPAR ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจัดเวทีเพื่อชี้นำมวลสมาชิกและประชาชนไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง
จากพฤติกรรมที่ผ่านมาได้บ่งชี้ชัดว่าปีกการเมือง 2 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เชิงลึกกับกลุ่มนักการเมือง
และฝ่ายทหารที่ใช้กำลังก่อความรุนแรง
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความพยายามของกลุ่มบุคคล
3
กลุ่ม รวมไปถึงปีกการเมืองกลุ่มขบวนการอย่างเช่นกลุ่มนักศึกษา PerMAS,
LAMPAR ที่กระทำทุกวิถีทางเพื่อระงับยับยั้งไม่ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ
หรือหากออกมาใช้สิทธิให้ออกมาน้อยที่สุด และจะต้องกาในช่องไม่รับเท่านั้น
แต่จากข้อมูลของผู้ออกมาใช้สิทธิ 65% ยอมรับอำนาจรัฐ
และเห็นด้วยกับ Road Map ของ คสช. ในการปฏิรูปประเทศ
และในปัจจุบันประชาชนในพื้นที่
จชต. ได้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มที่แสวงประโยชน์เพื่อกลุ่มตน
โดยไม่เคยเหลียวแลความต้องการของประชาชนว่าต้องการอะไร?
ผลลัพธ์ที่ประชาชนได้รับจากการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ คือความเดือดร้อนแสนสาหัส ยัดเยียดความเจ็บปวด
ความขมขื่นให้กับพี่น้องมลายูมานานนับสิบกว่าปี และในวันนี้วันที่มีการลงประชามติของประชาชนทั้งประเทศในการรับร่างรัฐธรรมนูญ
ถึงแม้ว่าในพื้นที่ จชต.
ผลการรับหรือไม่รับจะออกมาเช่นไรแต่สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนคือประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ปฏิเสธกลุ่ม
BRN
ที่พยายามขัดขวางทุกวิถีทางในการออกมาใช้สิทธิ รู้ซึ้งถึงธาตุแท้ของผู้ที่กล่าวอ้างว่ามีอุดมการณ์...แท้จริงแล้วเป็นแค่กลุ่มโจรปล้นความสุขประชาชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง.
---------------------
ที่มา: http://www.southernreports.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น