วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

มัสยิด 300 ปี ศิลปไทยพื้นเมืองประยุกต์ จีน ไทย มลายู



         ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพียง 4 กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย 18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นมัสยิดเก่าแก่และมีประวัติอันยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ามัสยิด 200 ปีบ้าง มัสยิด 300 ปีบ้าง มัสยิดวาดิลฮูเซ็น (มัสยิดตะโละมาเนาะ : 200 ปี) ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาสเพียง 4 กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย 18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

         มัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นมัสยิดเก่าแก่และมีประวัติอันยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ามัสยิด 200 ปีบ้าง มัสยิด 300 ปีบ้าง ตามประวัติโดยหะยีอับดุลฮามิ อูเซ็น อายุ 89 ปี ชาวบ้านเรียกว่าปะดอดูกู ได้เล่าให้ฟังว่ามัสยิดแห่งนี้ได้สร้างมาแล้ว 3 ชั่วอายุคน โดยท่านหะยีซายฮูซึ่งเป็นครูสอนศาสนาเป็นผู้ก่อสร้าง มีนายแซมะเป็นนายช่าง สันนิษฐาน ว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.231 ลักษณะการก่อสร้าง ก่อสร้างจากไม้ตะเคียนทั้งหลัง ใช้สลักไม้แทนตะปูหรือสกรู การก่อสร้างในสมัยนั้นไม่มีเลื่อย ขวาน สิ่วแต่จะใช้บือจือตา(รูปร่างคล้ายขวาน) ตัดไม้ ใช้บันลีโยง(ลิ่ม) ผ่าไม้ ใช้บายิ (รูปร่างคล้ายจอบ) ถากไม้ให้เรียบ เสาไม้มีจำนวน 26 ต้นสี่เหลี่ยมขนาด 10 X 10 นิ้ว พื้นหนา 2 นิ้ว ฝาประกบหน้าต่างทำด้วยไม้ทั้งแผง แกะสลัก เป็นลวดลายต่าง ๆ ตัวมัสยิดสร้างเป็นอาคาร 2 หลังติดกันมีขนาด 14.20 X 6.30  เมตร เฉพาะหลังที่เป็นมิหรอบ (บริเวณที่อิหม่ามนั่งละหมาด) มีขนาด4.60 X 5.60 เมตร

      มัสยิดแห่งนี้สร้าง แบบศิลปไทยพื้นเมืองประยุกต์กับศิลปแบบจีน และศิลปแบบมลายู ส่วนที่เด่นที่สุดของมัสยิดนี้จะอยู่ที่หลังคาอาคารหลังแรกส่วนที่เป็นมิหรอบ หลังคามี 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 3 มีโดมเป็นเก๋งจีนอยู่บนหลังคา เป็นศิลปะแบบจีนแท้ เสาจะแกะสลักเป็นรูปดอกพิกุล ในสมัยนั้นเก๋งจีนจะใช้เป็นหออาซาน(สำหรับตะโกนเรียกคนมาละหมาด) ส่วนหลังที่ 2 จะมีหลังคา 2 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 2 จะมีจั่วอยู่บนหลังคาชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง มีรูปแบบทรงไทย แบบหลังคา โบสถ์วัดทั่ว ๆ ไปรอบ ๆฐานดอกพิกุลหงายจะแกะสลักเป็นลายเถาว์ก้านมุมหลังคาด้านบนของอาคารทั้ง 2 หลัง ใช้ปูนปั้นเป็นลายกนก ลายเถาว์ก้าน มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมาหลายชั่วอายุคนซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชุมชนมาก


----------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น