“จะถือเป็นปลาน้ำจืดราคาแพงที่สุดในโลกหรือเปล่าไม่แน่ใจ
แต่ถ้าบอกว่าแพงที่สุดในอาเซียนน่าจะได้ ราคาซื้อขายในบ้านเราอยู่ที่ กก.ละ 2,000
บาท แต่ถ้าในฮ่องกง 8,000 บาท”
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง
กล่าวถึง “ปลาพลวงชมพู” ที่กรมประมง
โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา
ได้ศึกษาจนสามารถขยายพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ได้แล้ว
เป็นปลาน้ำจืดประจำท้องถิ่น
จ.ยะลา และ นราธิวาส มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า อีแกกือเลาะห์
หรือปลากือเลาะห์ อยู่ในตระกูลเดียวกับปลาเวียน และปลาพลวงหิน มีความโดดเด่นในสีของเกล็ดที่มีลักษณะเป็นสีชมพู
ครีบหลังและครีบหางสีแดง เป็นปลาพลวงชนิดเดียวที่รับประทานทั้งเกล็ด
นิยมบริโภคในประเทศแถบอินโดจีน
โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่ยังไม่สามารถวิจัยเพาะขยายพันธุ์ได้
และมีกฎหมายห้ามจับจากธรรมชาติมารับประทาน
สาเหตุที่มีราคาสูงลิ่ว
เพราะเป็นปลารสชาติดี หาได้ยากอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์
“เราเริ่มทดลองเลี้ยงมาตั้งแต่ปี
2515
และมาศึกษาหาวิธีการขยายพันธุ์อย่างจริงจังเมื่อปี 2548
การเลี้ยงจะต้องเป็นพื้นที่มีน้ำไหลตลอดเวลา น้ำต้องมีปริมาณออกซิเจนสูงอย่างน้อย 6
ppm ขึ้นไป ถ้าน้อยกว่านี้จะตายทันที
ในขณะที่ปลาน้ำจืดชนิดอื่นยังสามารถมีชีวิตรอดได้ นอกจากนั้น
ยังเป็นปลาที่ให้ไข่น้อย แค่ 500-1,000 ฟอง ต่างกับปลาน้ำจืดชนิดอื่นๆ
ให้ไข่ตั้งแต่หมื่นฟองขึ้นไปจนถึงแสนฟอง
เลยเป็นเหตุให้เสี่ยงสูญพันธุ์ได้ง่ายในธรรมชาติ และการนำมาผสมเทียมเพื่อขยายพันธุ์ยังยากกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่น
เนื่องจากระยะไข่สุกพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ไข่ที่มีอยู่น้อยแล้ว
ยังสุกแก่ไม่พร้อมกันอีก
นายนภดล
จินดาพันธ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา
อธิบายถึงความยากของการขยายพันธุ์ เจ้าหน้าที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
สังเกตระยะที่มีไข่สุกพร้อมมากที่สุด ถึงจะทำได้สำเร็จ และส่งเสริมให้เกษตรกร 50
ราย ในพื้นที่ อ.ธารโต และ อ.เบตง จ.ยะลา เลี้ยงในบ่อดิน ต่อท่อตรงมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติและปล่อยให้ไหลผ่านระบายออกไป
โดยปล่อยลูกปลาขนาด
2-3 นิ้ว หนัก 20
กรัม ในอัตรา 1-5 ตัวต่อพื้นที่บ่อ 1
ตร.ม. ให้อาหารปลาปลาดุกวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น มื้อละ 2-3%
ของน้ำหนัก ตัว...ใช้เวลาเลี้ยง ปีครึ่งถึงสองปี ถึงจะมีน้ำหนัก 2.3 กก.
ได้ขนาดตรงความต้องการของตลาด
และจากการคำนวณต้นทุนค่าอาหาร
ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา บอกว่า ปลาพลวงชมพูให้ผลตอบแทนสูง
มีอัตราแลกเนื้ออยู่ที่ 2-3 : 1 ถ้าจะเลี้ยงให้ได้ขนาด 2.3
กก. ใช้อาหารไม่เกิน 7 กก.
ฉะนั้นจะมีต้นทุนค่าอาหารแค่ตัวละ
210 บาท...แต่สามารถขายได้สูงถึง 4,600
บาท
เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ขณะนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลากำลังอยู่ระหว่างศึกษาการเลี้ยงปลาพลวงชมพูในบ่อซีเมนต์
ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน...สนใจสอบถาม รายละเอียดได้ที่ 0-7329-7042.
---------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น