“หลายคนมองการเล่นเกมเพื่อความสนุก
แต่สำหรับผม สมัยนั้นมองว่า “เกม” คือเรื่องการตลาด
ธุรกิจ การลงทุน การใช้สมาธิและการคิดเป็น ผลดีหลังจากที่เล่นเกมในวันนั้น
ทำให้ผมรู้ในวันนี้ว่า ผมชอบทาง ด้านสื่อ การนำเสนอ การคิดค้นสร้างสิ่งใหม่ๆ
ด้วยตัวเอง การออกแบบดีไซน์ และสามารถต่อยอดนำไป สู่การสร้างอาชีพได้ด้วย
จากความชอบ” นายบูคอรี อีซอ เจ้าของเพจ “แวรุง ไปไหน”
เพจ“แวรุง ไปไหน”เป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะพี่ๆน้องๆในสามจังหวัดชายแดนใต้
เพราะความคิดสร้างสรรค์และการสร้างโลก สร้างสังคม
พร้อมเปิดโลกใบใหม่ออกมาสู่สายตาประชาชน
เกี่ยวกับการเป็นอยู่วิถีชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัด
ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในสามจังหวัดเป็นที่ติดตาถูกใจของท่านผู้ชมเป็นอย่างมาก
กลายเป็นคำบอกเล่าปากต่อปากในโลกโซเชียล เป็นเหตุให้เจ้าของเพจ ดังทะลุจอ
โดยที่เจ้าตัวไม่เคยคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้น จะกลายเป็นที่สนใจของทุกคน
และจริงๆแล้วเจ้าของเพจดังคนนี้ คือ “เด็กทุนนับหนึ่ง”ของผมเอง ใครจะไปรู้ว่า
จากเด็กติดเกม ที่สังคมไม่ยอมรับ ใครก็มองว่าเสียอนาคตตั้งแต่ยังเด็ก
กลายมาเป็นเจ้าของโลโก้ดังๆ ผลงานดี ทั้งภาพถ่าย ป้ายโฆษณา ออกแบบสกรีนเสื้อ
รับถ่ายรูป ส่งตัวเองเรียน จนกลายมาเป็นเจ้าของรายการในเพจดัง “แวรุง ไปไหน” วันนี้คอลัมน์เปิดโลกการศึกษามุสลิม เจาะชีวิตน้อง “เด๊ะยี”
หรือ “น้องบูคอรี” มาเล่าสู่กันฟัง
น้องยี
ยอมรับว่าคำว่า “เกม” หรือ “เด็กติดเกม”
คือ เสียเวลา และกลายเป็นเด็กไม่มีอนาคต
หากแต่เมื่อเวลาผ่านไปการได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนศาสนา
ที่ห้อมล้อมไปด้วยครูผู้มีวิชาทั้งความรู้ศาสนาและสามัญ
กอปรกับรอบๆรั้วเต็มไปด้วยอณูแห่งความรัก การชี้นำทางไปสู้เป้าหมายชีวิตที่ดี ณ
จุดเริ่มต้นที่นี้ ยี จึงมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน
หากแต่ยังคงมีคำล้อและชื่อติดอยู่ในคำว่าเด็กติดเกม
การเข้ามาสู่รั้วมัธยมหลายครั้งที่ยีต้องถามตัวเองว่าจะเอาไงดีกับชีวิตทางเลือกเดินน้อยเหลือเกินเพราะพ่อแม่ก็จน
จึงต้องอดทนเรียนพร้อมๆกับช่วยพ่อแม่ในโรงเรียนจนจบ
เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
ยิ่งต้องคิดหนักเพราะต้องมีค่าใช้จ่ายมากมาย แต่โชคดีที่ตอนอยู่ในชั้นมัธยมได้รับ “ทุนนับหนึ่ง” จากพี่ชายที่อยู่ไคโรประเทศอียิปต์และมีแม่อ้อ
เป็นคนดูแลจัดการ ทุนนี้ไม่ใช่มีแค่เงินทุน แต่มีกำลังใจและแนวทางที่สอนใจอยู่เสมอ
จึงไม่เคยคิดท้อ จึงสานต่อความฝันอย่างมีเป้าหมาย
น้องยีเล่าว่า
ชอบหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา เริ่มต้นชอบกราฟิก ด้านการออกแบบ เริ่มเรียนรู้คำว่า “ลิขสิทธิ์” และการออกแบบที่ดีคือการไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเองหรือแม้แต่การลอกเลียนแบบ
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการคิดสร้างผลงานที่เป็นของตัวเอง และได้เข้าทำการแข่งขันการออกแบบโลโก้
การออกแบบสกรีนเสื้อชุด และการตกแต่งรูป
สามารถเก็บเงินซื้อกล้องถ่ายรูปและเริ่มเรียนรู้การถ่ายรูป และเริ่มรู้สึกสนุก
ทุกๆ
เช้าจะขับรถออกไปถ่ายวิถีชีวิตของคนในปัตตานี
เริ่มอัพรูปพร้อมข้อความสั้นๆลงเฟสบุ๊คส่วนตัว เริ่มมีคนสนใจ พร้อมมีงานถ่ายรูปเข้ามาเป็นงานสร้างเงินส่งเสียตัวเองและให้ทางบ้านได้
จนกระทั้งได้มีโอกาสไปถ่ายวีดีโอหนังสั้น โดยที่เริ่มจากเด็กถือของยกของในกอง
จนเป็นผู้กำกับหนังเอง
เนื่องด้วยสิ่งที่เห็นอยู่และสิ่งที่ทำนั้นเราก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นลูกน้องเขาตลอดไปหลังจากนั้น จึงเริมต้นใช้ชื่อเพจว่า “แวรุง”
น้องยี
เล่าต่อว่า พอขึ้นปีที่ 4
มีโครงการทำเรื่องโปรเจคจบ
จึงเลือกที่จะรวบรวมผลงานต่างๆที่เคยมีอยู่ในเพจแวรุง
คือภาพถ่ายกับวีดีโอและกราฟิก กอปรกับตัวเองเป็นเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้
เลยใช้ชื่อหัวข้อ “พัฒนาสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้”
จึงได้เปลี่ยนจาก
“เพจ แวรุง” เป็น “แวรุง ไปไหน”
เป็นการทักทายภาษาวัยรุ่น “ไปไหน” ซึ่งเป็นคำถามเชิงความห่วงใย “ไปไหน” เที่ยวบ้านเราไหม
เป็นตัวแทนที่จะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญๆในสามจังหวัดชายแดนใต้
ให้คนในพื้นที่เองและคนนอกพื้นที่รับรู้ สิ่งที่จะสื่อ คือ
อยากให้ภาพเหตุการณ์ความรุนแรง คราบน้ำตาที่ผ่านมานั้น
เปลี่ยนเป็นภาพเหล่านี้ที่สวยงามเป็นภาพความจริงอีกมุมหนึ่งที่ดีและงดงามที่มีอยู่ในทุกวันนี้
น้องยีบอกว่า
ขอบคุณการศึกษาด้านศาสนาที่เป็นเกราะแก้วแห่งชีวิตนำไปสู่ความสำเร็จด้วยความสมบูรณ์
และขอบคุณการศึกษาด้านสามัญที่นำไปสู่ด้านอาชีพงานที่ชอบ “นอกกรอบได้แต่ไม่นอกศาสนา”
ท้ายสุดนี้น้องยี
ฝากบอกว่าค้นหาการเป็นตัวตนของตัวเองให้เจอและให้ชัดที่สุดแล้วจะค้นพบกับความสุขทุกวัน
และจะรู้เป้าหมายว่าควรทำอะไรต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น