พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งโดยการนำของโต๊ะครู
มาหะมะลุตฟี หะยีสาแม (ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสมานวิทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2500) ท่านได้สะสมคัมภีร์อัล-กุรอาน
พร้อมเอกสารโบราณที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมุสลิม ที่ได้มาจากทั่วทุกมุมโลก เช่น
อียิปต์ อินโดนีเซีย เยเมน ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
และได้จากชาวมุสลิมที่เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศรวมถึงชาวมุสลิมที่เคยติดต่อกับประเทศไทยในอดีต
ผ่านการซ่อมแซมและการดูแลรักษาอย่างดี จากทั้งผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศ
(โดยเฉพาะประเทศตุรกี ได้ช่วยบูรณะเคลือบสารพิเศษ
เพื่อเป็นหลักฐานโบราณคดีโลกอิสลาม) คัมภีร์เหล่านี้
บางเล่มเป็นคัมภีร์ที่ใช้ประกอบพิธีการสาบานตน เพื่อเข้ารับตำแหน่งของข้าราชการของรัฐปาตานีต่อหน้ากษัตริย์ในอดีต
ซึ่งใช้มาตั้งแต่ซุลต่าน มูซัฟฟาร์ ชาห์ กษัตริย์คนแรกของรัฐปาตานี
ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชายแดนใต้อันเก่าแก่ ซึ่งประเมินค่ามิได้
นอกจากนั้นยังมีตำราดาราศาสตร์และตำราโหราศาสตร์โบราณต่างๆ
ของไทย และมีห้องจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านโบราณของชุมชนชาวมุสลิมอีกด้วย
มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะชาวเอเชียและกลุ่มประเทศมุสลิมทั้งแถบตะวันออกกลาง รวมถึงนักเรียน
นักศึกษา ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัล-กุรอาน
เมื่อ ปี พ.ศ. 2558
ปัจจุบันกำลังดำเนินการสร้างอาคารจัดแสดงถาวรไว้ด้านหน้าโรงเรียน
ริมถนนสายหลัก ซึ่งที่นี่จะกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมอิสลาม อาเซียน
(นูซันดารา) ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น