วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อาราบิก้าคืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้ เอกลักษณ์รสชาติของกาแฟจังหวัดยะลา

       เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ รุ่นใหม่ (YCOT) ที่เข้าอบรมโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ ซึ่งจัดโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการเพาะปลูก และการดูแลกาแฟอาราบิก้าอย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถนำไปปรับใช้ในการปลูกเพาะปลูกกาแฟของเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งนี้ เกษตรกรเครือข่าย YCOT ที่เข้าอบรมจะได้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ เกี่ยวกับการเพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าด้วยเมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้อง รวมถึงการดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้า ทั้งการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การตกแต่งกิ่ง การกำจัดศัตรูและการป้องกันกำจัดโรคและแมลง นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการตัดแต่งต้นกาแฟอาราบิก้า การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูป และช่องทางการตลาด



         ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมเครือข่าย YCOT จำนวน 250 ราย คิดเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟ 700 ไร่ โดยมีการปลูกกาแฟเป็นพืชทางเลือกทดแทนยางพาราที่เสื่อมโทรม และมีปัญหาด้านราคา ตามนโยบายการลดพื้นที่ปลูกยางพาราของรัฐบาล หรือปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ในระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง​ โดยพล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้เดินทางลงพื้นที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อ.ธารโต จ.ยะลา เพื่อมอบต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าเกษตรกรในพื้นที่ ทั้ง 3 อำเภอ ตามโครงการ อาราบิก้าคืนถิ่น แดนดินกาแฟใต้ ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่สร้างเอกลักษณ์ รสชาดของกาแฟจังหวัดยะลา ที่มีแตกต่างจากพื้นที่อื่น ซึ่ง อ.เบตง อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล เป็นพื้นที่เชิงเขา อากาศดี ทำให้กาแฟมีรสชาติที่ดี คิดว่ากาแฟที่นี่ ต่อไปก็จะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ของจังหวัดยะลา ประชาชนก็จะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยการปลูกเสริมในสวนยางพาราของเกษตรกร



        สำหรับโครงการนี้เป็นริเริ่มโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่เสริมสร้างให้ประชาชนมีรายได้ที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในภาพรวมของโครงการยังมี ศอ.บต. จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมขับเคลื่อน ซึ่งกาแฟจะเป็นส่วนสำคัญในมิติของพืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาต่อยอด สู่ความสำเร็จต่อไป ส่วนรสชาตินั้น มีทั้งหอม เปรี้ยว กลมกล่อม หลายรสชาติ เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น