วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“ปันจักสีลัต” การต่อสู้แห่งวิถีชนแถบมลายูชายแดนใต้

         ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า "ปันจัก" (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า "สีลัต" (Silat) หมายถึงศิลปะรวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า สิละ” “ดีกาหรือ บือดีกาเป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิลปะ ภาษาสันสกฤต



           ด้วยความสวยงามและเป็นศิลปะป้องกันตัว กลุ่มเด็กๆเยาวชน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ได้รวมกลุ่มเล็กๆเพื่อฝึกซ้อม โรงเรียนห่างไกลแต่มีครูผู้ฝึก ร่วมกันฝึกฝน พัฒนา ใส่ใจ จนเยาวชนได้ไปแข่งขันจนได้รับเหรียญทอง เหรียญรางวัลระดับประเทศมากมาย



         อ.มารูวรรณ อัจญีอะดุลเลาะห์ และ อ.ศุภมาส ไชยรัตน์ โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม และ อ.ซาดห์ดัน อาแว โรงเรียนบ้านมือแล อ.กะพ้อ จังหวัดปัตตานีกล่าวว่า เดิมมีกลุ่มเด็กๆที่สนใจเล่าเรียนปันจักสีลัต แต่ด้วยความที่อยู่ห่างไกล และขาดแคลนครูผู้ฝึกสอนจนเด็กจากทั้ง 2 โรงเรียนมีความตั้งใจมุ่งมั่น จริงใจในการฝึกซ้อม ประกอบกับมีอาจารย์ที่ใส่ใจ คอยดูแล และมองเห็นความสามารถของเด็ก จึงร่วมกันพัฒนาหาความรู้จัดตั้งชมรมขึ้นมาอย่างจริงจัง และมีนายมูฮัมมัดอิบนูรอฎี แวหะมะ อดีตนักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติ และผู้ฝึกสอนนักกีฬาปันจักสีลัตชาติไทย เข้ามาร่วมสอน ทำให้เด็กๆ มีกำลังใจ สิ่งที่เห็นได้ชัดจากเดิม ที่เด็กบางคนอาจจะไม่ตั้งใจเรียน แต่เมื่อเข้าชมรม กลับมีความสนุก และสนใจใฝ่รู้มากขึ้น มาโรงเรียนตั้งแต่เช้า และกลับเย็นตั้งใจที่จะฝึกปันจักสีลัตอย่างเต็มที่ จนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง ระดับประเทศมาได้



          น้องมะรอวี นิคม นักเรียนชั้น ม.5 ที่เป็นตัวแทนเพื่อนกล่าวๆ ชื่นชอบในกีฬาปันจักสีลัตเป็นอย่างมากด้วยท่วงท่าที่สวยงาม แข็งแรง และเป็นศิลปะพื้นบ้านที่ต้องรักษาไว้ เป็นความภาคภูมิใจที่จะฝึกฝน และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาตนเองและเพื่อนในทีมก็ทำการฝึกซ้อมอย่างจริง และเดินทางไปแข่งขันในระดับประเทศซึ่งได้รางวัลกลับมาด้วย ยิ่งทำให้ตนเองและเพื่อนๆ น้องๆ ยิ่งต้องเรียนรู้ ฝึกฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง เพื่อรักษาศิลปะการต่อสู้แขนงนี้ ให้คงอยู่สืบไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น