วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 จังหวัดยะลา


ความเป็นมาของหมู่บ้าน
จากการที่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ได้ยุติการสู้รบด้วยอาวุธ และสลายกองทัพออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามข้อตกลงในการลงนามสัญญาสันติภาพ 3 ฝ่าย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2532 กองทัพภาคที่ 4 โดยกองพลทหารราบที่ 5 ได้จัดทำโครงการรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยมีระยะทางของโครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533 ถึงปีงบประมาณ 2538 โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น 4 หมู่บ้านเรียกว่า หมู่บ้านรัตนกิตติ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
ต่อมาศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัคราชกุมาร องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระราชประสงค์จะทำการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสเพื่อเกิดความมั่นคงในพื้นที่ตามชายแดน จึงโปรดรับหมู่บ้านรัตนกิตติ 3 เป็นหมู่บ้านจุฬาภรณ์ 11 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2536 หมู่ที่ 7 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา

ที่ตั้ง
หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 11 หมู่ที่ 11 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา QG 661701 มีอาณาเขต
- เหนือ จด บ้านแยะใน ม. 5 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา
- ทิศใต้ จด บ้านคลองขุด ม. 2 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา
- ทิศตะวันออก จด บ้านคลองน้ำใส ม. 2 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา
- ทิศตะวันตก จด บ้านใหม่ ม. 6 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา
พื้นที่เป็นภูเขาและป่าทึบ อากาศชื้น มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ในช่วงกลางคืนอากาศจะหนาวเย็น มีเส้นทางเข้าหมู่บ้านเส้นทางเดียว จากบ้านบาละ อ.กาบัง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากสามแยกบันนังดา มาประมาณ 20 กิโลเมตร

วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง ในขณะที่สมาชิกอยู่ในโครงการฯ เพื่อให้เป็นอาชีพพื้นฐานให้พร้อมที่จะพัฒนาเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไป
2. จัดระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วยการปรับปรุง ก่อสร้างและบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาต่อไป
3. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ป่าไม้, สัตว์ป่า และต้นน้ำลำธารในขีดความสามารถ
4. จัดให้เป็นแหล่งสำหรับศึกษาค้นคว้าพืชสมุนไพร เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้าของสถาบันจุฬาภรณ์
5. จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยวางแผนรวมจุดขายของแหล่งท่องเที่ยว
6. เพื่อเตรียมการให้เป็นหมู่บ้านต่อสู้แบบเบ็ตเสร็จ
7. เพื่อเตรียมการส่งมอบหมู่บ้านให้กับฝ่ายพลเรือนต่อไป
เป้าหมาย
เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของราษฎรดูแลรักษาสภาพแวดล้อมด้านป่าไม้และน้ำ ตลอดจนพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งนันทนาการ พื้นที่เป้าหมายหลัก พื้นที่โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 มีพื้นที่รับผิดชอบเนื้อที่ 11,250 ไร่ และหมู่บ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงบริเวณพื้นที่โครงการ

ประโยชน์ต่อประชาชน
1. การเพิ่มพื้นที่ป่า พันธุ์ไม้ป่านานาชนิด พันธุ์หวายนานาชนิดให้ป่าที่เสื่อมโทรมได้รับการพัฒนาดูแล ซึ่งเป็นการช่วยให้สภาพสิ่งแวดล้อมตลอดจนระบบนิเวศวิทยาที่ทรุดโทรมได้ฟื้น ตัวดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
2. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ราษฎร ได้นำพันธุ์ไม้ต่าง ๆ พันธุ์หวายต่าง ๆ ไปปลูกในพื้นที่ของตนเองและพื้นที่รอบ ๆ หมู่บ้าน ตลอดจนที่สาธารณะเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า พื้นที่สีเขียวต่อไปในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก http://royal.dnp.go.th/paro6/
-นักเดินทาง-



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น