แข่งทำ
”สะเตไก่” อาหารพื้นบ้าน วชช. อนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น ในสังคมพหุวัฒนธรรม
จังหวัดยะลา
วิทยาลัยชุมชนยะลา
ได้จัดให้มีการแข่งขันการทำสะเตไก่ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้าน
ภายใต้โครงการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดยะลา
ขึ้น โดยมีกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ครู นักเรียน
รวมทั้งนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนให้ความสนใจส่งทีมเข้าร่วมทำการแข่งขัน จำนวน 6 ทีม 18 คน
ซึ่งการแข่งขันเป็นไปอย่างคึกคัก
สนุกสนาน แต่ละทีมก็จะช่วยกันคนละไม้ละมือ ในการทำสะเตไก่
ในส่วนของน้ำแกงซึ่งมีน้ำตาลทราย หัวหอม กระเทียม ลูกผักชี ยี่หร่า ถั่ว กะทิ
พริกแดง น้ำตาลแว่น ตะไคร้ ก็จะนำมาปั่นและนำไปปรุง ส่วนเนื้อไก่ก็จะหั่นเป็นชิ้นและนำมาเสียบไม้ก่อนนำไปย่าง
พร้อมกับนำข้าวอัดมาหั่นเป็นชิ้น หั่นผัก ทำอาจาด
และจัดตกแต่งประดับประดาลงในจานอย่างสวยงาม ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนการตัดสินก็จะมี
คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นางสาวนิฟาตีฮาห์
สนิ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยะหา , นางนินุสรา มินทราศักดิ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และนางสุภาพรรณ
คลล้ายมณี ข้าราชการบำนาญ เป็นผู้ให้คะแนน จากรสชาติ
การจัดตกแต่งอาหารและภาชนะใส่อาหาร ความสะอาด และคุณลักษณะ ความคิดสร้างสรรค์ และความพร้อมของทีม
โดยผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ก็จะได้รับเงินรางวัล จำนวน 4,000 บาท , อันดับ 2 จำนวน 3,000 บาท , อันดับ 3 จำนวน 2,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 1,000 บาท
นางสาวนุชไนลา
ลายี ชาวบ้านตำบลบันนังสาเร็ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ผู้เข้าร่วมแข่งขันซึ่งมาพร้อมกับนางมะรุณี ลายี มารดา กล่าวว่า
ตามปกติก็จะทำสะเตขายอยู่แล้ว สืบทอดมาจากแม่ซึ่งเป็นผู้สอนให้
โดยตนเองก็เป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยชุมชน สาขาพัฒนาชุมชน จบมาได้ 2 ปี แล้ว พอทราบข่าวว่าวิทยาลัยฯ จะมีการแข่งขันการทำอาหารพื้นบ้าน
ก็อยากมาแข่งขัน ด้วยจะได้นำไปพัฒนาฝีมือตนเอง เป็นมือใหม่หัดแข่ง
นอกจากนี้ก็ยังได้ช่วยอนุรักษ์อาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นที่เกือบจะสูญหายไปให้คงอยู่
ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ได้เรียนรู้วิธีการทำ เป็นการสืบต่อวัฒนธรรมภาคใต้ อีกด้วย
สำหรับสะเตเริ่มแรกก็มาจากชาววังที่จังหวัดปัตตานี
สืบทอดต่อๆ กันมา ส่วนในจังหวัดยะลาทราบว่าร้านขายสะเตไก่มีเหลือเพียง 2-3 ร้าน สะเต จะมาจากสเต๊กในภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นสเต๊กเนื้อไม่มีข้าว
สะเตก็จะเพี้ยนมาจากสเต๊ก แต่สเต๊กจะไม่นิยมทานกับข้าว ทานเนื้อกับผัก
ส่วนสะเตจะเน้นทั้งข้าว เนื้อ น้ำแกง อาจาด ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่จะทำรับประทานกันในงานประเพณีต่างๆ
ส่วนความอร่อยของสะเตไก่ก็จะอยู่ที่รสชาติของน้ำแกง
ที่จะต้องกลมกล่อมหวานนำเค็มเล็กน้อย และจะต้องมีความหอมของเครื่องเทศ
ซึ่งเป็นจุดเด่นของสะเตไก่ ขณะที่กลุ่มแม่บ้าน บ้านบาโงยซิแน อำเภอยะหา
จังหวัดยะลา ซึ่งได้มาร่วมทำการแข่งขัน
ก็รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กๆ
รุ่นหลังได้สืบทอด
ส่วนครู
นักเรียน โรงเรียนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ก็เช่นกัน
ทุกคนดีใจที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันทำอาหารพื้นบ้าน โดยครูบอกว่าเด็กๆ
ต่างมีความสุขที่จะได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคี
จะแพ้หรือชนะก็ไม่เป็นไร นอกจากนี้ก็ยังได้สืบทอดการทำอาหารพื้นบ้าน อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น