“ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
ประวัติจังหวัด ยะลา เดิมเป็น
ท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ
ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง
7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา
ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476
เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตาม พระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง
การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ
และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ
ยะลาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
(หรือเห็นในข่าว) บ้านเมืองสงบ ผู้คนออกมาใช้ชีวิตแบบปกติ
เพิ่มเติมด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ ถึงแม้ว่าจะมีหลาย ๆ คน
เตือนก่อนเดินทางมายะลาว่าตอนกลางคืนไม่ควรออกไปไหน เพราะอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้
แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นอีกมุมที่แตกต่าง อย่างถนนสิโรรส ที่เราจะได้เห็นร้านโรตี
หรือร้านอาหารตั้งอยู่เต็ม 2 ฝั่งถนน
กลายเป็นสถานที่ทำให้เราได้พบกับมิตรภาพของชาวยะลา
วัฒนธรรมอาหารของยะลามีความน่าสนใจ
เพราะเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมการกินของทั้งไทย จีน และอิสลามเข้าไว้ด้วยกัน อย่าง
นาซิดาแฆ เมนูสุดฮิตของชาวไทยมุสิลมที่สามารถหาทานได้ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
หรือจะเป็นไก่เบตง เนื้อไก่นุ่ม ๆ กับหนังไก่หนุบหนับ ราดด้วยซีอิ๊วเบตง
และน้ำมันงา แค่คิดก็ท้องร้องแล้ว
ขนาดบังเกอร์ (กันระเบิด) ยังน่ารักเลยดูสิ!
การวาดภาพต่าง ๆ ลงไปบนบังเกอร์ เพื่อสร้างสีสันและบรรยากาศแห่งความผ่อนคลาย
สามารถไปดูภาพความน่ารักและอารมณ์ของคนยะลาได้ที่ ถนนจงรักษ์
ถนนสายหลักและเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญกลางใจเมือง
ยะลาเป็นเมือง 2 ศาสนา
คือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่แตกต่างกัน
แต่ในดินแดนปลายด้ามขวาน เรามักจะเห็นมัสยิดตั้งอยู่ข้าง ๆ วัด ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะต่างศาสนาและต่างความเชื่อ
แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือความรักในเพื่อนมนุษย์
ที่ทำให้ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา
ขอบคุณข้อมูลจาก
เพจ BAREFOOT
magazine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น