สถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ จังหวัดปัตตานี
1.เมืองโบราณยะรัง
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะรัง เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายูและอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรังสันนิษฐานว่ามีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะรัง เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายูและอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรังสันนิษฐานว่ามีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร
2. ศาสนสถาน มัสยิดกรือเซะและศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2121 – 2136)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2121 – 2136)
3. มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
4.ศาลเจ้าเล่งจูเกียง (ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง เป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานรูปสลัก ทำด้วยไม้มะม่วงหิมพานต์เป็นรูปของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว (ไม้ประเภทเดียวกับที่นางลิ่มกอเหนี่ยวผูกคอตาย) และเป็นที่เคารพของชาวปัตตานีและเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน นอกจากนี้จะมีพิธีไหว้เทพธิดาและขบวนแห่องค์เทพไปตลอดเส้นทางต่าง งานจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 15 วัน หรือในวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติของไทย
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง เป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานรูปสลัก ทำด้วยไม้มะม่วงหิมพานต์เป็นรูปของเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว (ไม้ประเภทเดียวกับที่นางลิ่มกอเหนี่ยวผูกคอตาย) และเป็นที่เคารพของชาวปัตตานีและเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน นอกจากนี้จะมีพิธีไหว้เทพธิดาและขบวนแห่องค์เทพไปตลอดเส้นทางต่าง งานจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 15 วัน หรือในวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติของไทย
5.วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
สถานที่ตั้ง : อำเภอโคกโพธิ์เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ มณฑป อุโบสถและหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ทวดวัดช้างให้เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถาต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซียแล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้ งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ช่วงเดือนเมษายน วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
6.อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
สถานที่ตั้ง : อำเภอปะนาเระตั้งอยู่ที่ตำบลโคกโพธิ์ ห่างจากตัวอำเภอโคกโพธิ์ประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะ จากนั้นเข้าสู่ตัวอุทยานฯ อุทยานน้ำตกทรายขาวเป็นส่้วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและประกอบด้วยน้ำตกต่างๆ ซึ่งน้ำตกทรายขาว จะเป็นน้ำตกที่สวยที่สุด รองมาเป็นน้ำตกโผงโผง และน้ำตกอรัญวารินตามลำดับ
สถานที่ตั้ง : อำเภอปะนาเระตั้งอยู่ที่ตำบลโคกโพธิ์ ห่างจากตัวอำเภอโคกโพธิ์ประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะ จากนั้นเข้าสู่ตัวอุทยานฯ อุทยานน้ำตกทรายขาวเป็นส่้วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและประกอบด้วยน้ำตกต่างๆ ซึ่งน้ำตกทรายขาว จะเป็นน้ำตกที่สวยที่สุด รองมาเป็นน้ำตกโผงโผง และน้ำตกอรัญวารินตามลำดับ
7.หาดตะโละกาโปร์
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 เป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นมีถนนลาดยางเข้าสู่หาดอีกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม บนฝั่งปลูกทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนนอกจากนี้จะมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 เป็นระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นมีถนนลาดยางเข้าสู่หาดอีกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม บนฝั่งปลูกทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนนอกจากนี้จะมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก
8.แหลมตาชี
สถานที่ตั้ง : อำเภอยะหริ่ง แหลมตาชี ตั้งอยู่ที่ตำบลตะโละกาโปร์ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตรและห่างจากทะเลเพียง 5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่น่าประทับใจกับพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและตกในยามเย็น
9.งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมืองเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวจีนและไทยในจังหวัดปัตตานีอย่างดี ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติจีนหรือหลังตรุษจีน 15 วัน ซึ่งจัดเป็นงานฉลองใหญ่โตทุกปี โดยการเคลื่อนขบวนแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและเทพอื่นๆ เดินลุยน้ำตรงริมแม่น้ำปัตตานีจากนั้นแห่ไปรอบเมืองตามกำหนดและกลับมายังลานกว้างหน้าศาลเพื่อทำพิธีลุยไฟก่อนที่จะนำกลับไปประดิษฐานที่ศาลในช่วงตอนกลางคืน จะมีการจัดงานมหรสพสมโภช บริเวณลานกว้างมีทั้งงิ้ว มโนราห์ รำลง ภาพยนต์ การแสดงของนักเรียนและร้านขายของราคาถูกมากมาย
10.งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรีจัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่บริเวณชายหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี กีฬาตกปลาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและจากสภาพภูมิศาสตร์ของหาดที่มีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาเกมส์ อาทิ ปลาสกุลกระโทงแทง ปลาอีโต้มอญ และปลาเศรษฐกิจหลายชนิด จึงเป็นกีฬาที่น่าตื้นเต้นนอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านเช่น การชนแกะและขายสินค้าพื้นเมือง รวมไปถึงอุปกรณ์การประมงด้วย
สถานที่ตั้ง : อำเภอสายบุรีจัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่บริเวณชายหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี กีฬาตกปลาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและจากสภาพภูมิศาสตร์ของหาดที่มีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาเกมส์ อาทิ ปลาสกุลกระโทงแทง ปลาอีโต้มอญ และปลาเศรษฐกิจหลายชนิด จึงเป็นกีฬาที่น่าตื้นเต้นนอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านเช่น การชนแกะและขายสินค้าพื้นเมือง รวมไปถึงอุปกรณ์การประมงด้วย
อย่าลืมไปเที่ยวกันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น