จากคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ที่ 1126/2559
ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2559
มีการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 12 ราย
และในจำนวนนี้มีชื่อของ นางพาตีเมาะ สะดียามู
ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว
กลายเป็นสตรีมุสลิมคนแรกของประเทศไทยที่ก้าวขึ้นมาถึงตำแหน่งนี้ ในวัย 51 ปี
นับเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องมุสลิมทั้งประเทศเมื่อกล่าวถึงประวัติของ
นางพาตีเมาะ เกิดเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2508 เป็นคนบ้านปีซัด หมู่ 1 ต.ลำใหม่ อ.เมือง
จ.ยะลา
เริ่มต้นการศึกษาระดับประถมตอนต้น-ตอนปลายที่
ร.ร.วัดลำใหม่ และ ร.ร.พัฒนาวิทยา จ.ยะลา ตามลำดับ
ก่อนเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ที่ ร.ร.พัฒนาวิทยา จ.ยะลา และ
ร.ร.สาธิต ม.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา
ในระดับปริญญาตรี
นางพาตีเมาะยังคงร่ำเรียนอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ เข้าศึกษาคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.)
ก่อนจะต่อระดับเสริมดีกรีปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพัฒนาสังคม) สาขา
การจัดการการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(นิด้า)
เริ่มบรรจุรับราชการ
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2536 เป็นนักการข่าวนักบริหารงานทั่วไป ฝ่ายอำนวยการ
สำนักงานจังหวัดระนอง แล้วก็เติบโตสายงานทั้งในสำนักงานจังหวัดยะลา และปัตตานี
ก่อนจะเป็น ผอ.สำนักบริหารกลาง (อำนวยการสูง)
ศูนย์อำนวยการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ตามด้วยหัวหน้าสำนักงานจังหวัดพัทลุง กระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองผู้ว่าฯพัทลุง
ในที่สุด
นางพาตีเมาะเป็นข้าราชการที่พี่น้องพร้อมด้วยองค์กรหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รู้จักดี
จึงไม่แปลกในวันที่ได้รับตำแหน่งจะมีกลุ่มสตรีหลายองค์กรเข้าแสดงความยินดีอย่างไม่ขาดสาย
“ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนทั้งหลายที่ให้การต้อนรับ
ให้แรงใจ แรงเชียร์เป็นอย่างสูง ยอมรับว่ากระแสค่อนข้างแรงมาก คือ
เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งผลทั้งรัฐและกระทรวงมหาดไทยที่ให้โอกาสและไว้วางใจให้ผู้หญิงมุสลิมให้ขึ้นมาทำหน้าที่พัฒนาจังหวัด”
นางพาตีเมาะกล่าว
ก่อนจะกล่าวถึงนโยบายการทำงานถัดจากนี้ไป
จะทำงานตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงมอบหมายไว้เป็นการทำงานแบบทีมเดียวกัน
ก่อนเป็นรองผู้ว่าฯ ก็เคยทำงานในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานจังหวัดที่พัทลุงอยู่แล้ว
ร่วมกันวางแผนงานยุทธศาสตร์จังหวัด ดังนั้นสามารถสานงานต่อไปได้ทันที ไม่มีสะดุด
“การทำงานคาดว่าจะได้รับมอบให้ดูแลด้านสังคม
เศรษฐกิจ เมื่อพูดถึงสังคม เศรษฐกิจ ก็จะไปเกี่ยวโยงกับคน ความเป็นอยู่
มุ่งเน้นเรื่องของคุณภาพของคนในจังหวัดพัทลุงในทุกมิติ เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมทำแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด
ด้วยศักยภาพของพื้นที่ พัทลุงเป็นการเกษตร
มีแหล่งผลิตอาหารสำหรับประชากรในกลุ่มชาติอาเซียน
พัทลุงพร้อมเป็นฐานการผลิตเชื่อมโยงในเรื่องของอาหารฮาลาล
สามารถตอบสนองพี่น้องชาวมุสลิมทั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และที่อื่นๆ ได้ทั้งหมด”
นางพาตีเมาะกล่าวถึงการมุ่งร่วมกันสร้างพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เมืองสีเขียว สัมพันธ์เชื่อมโยงกับบริบทเมืองการเกษตร
ที่ต้องการให้จังหวัดพัทลุงเป็นเมืองที่อยู่แล้วสบายใจ สุขใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีผู้ว่าราชจังหวัดพัทลุงเป็นแกนนำ ทุกภาคส่วนร่วมทำงานเป็นทีมเดียวกัน
ขับเคลื่อนไปตามแผนยุทธศาสตร์พัทลุงที่วางไว้
“การทำงานที่ผ่านมาก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและดีมากอยู่แล้ว
คนพัทลุงเป็นคนที่ค่อนข้างให้โอกาสคนที่เข้ามาทำงาน ดิฉันเป็นคนจาก 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิธีคิด หรือวิถีประจำวัน
การแต่งกายก็จะไม่เหมือนใคร ด้วยในความไม่เหมือนเหล่านี้ยังได้รับการต้อนรับอย่างดี
ช่วงตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดพัทลุง
จึงได้รับการสนับสนุนดูแลเป็นอย่างดี”
รองผู้ว่าฯหญิงยังกล่าวถึงความเป็นข้าราชการหญิงที่ต้องทำงานใหญ่ว่า
ที่ผ่านมาได้ใช้พลังความเป็นผู้หญิงในการประสานงานพื้นที่ มีคนมาให้กำลังใจช่วยลุ้นไปกับเราด้วยว่าจะก้าวผ่านตรงนี้ไปได้หรือไม่
แล้วในที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี
สิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเราได้การต้อนรับเป็นอย่างดีในการทำงานคือการลงพื้นที่พบกับประชาชน
ทีมงานเครือข่ายได้รับทั้งรอยยิ้ม กำลังใจ และกระแสดีๆ ส่งไปยังพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
เมื่อถูกถามถึงความกดดันในการทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ
พัทลุง
“ถามว่าตรงนี้กดดันหรือไม่
ตลอดชีวิตการทำงานความกดดันมันอยู่กับเราตลอด ไม่ได้ไปหนักใจอะไร สิ่งสำคัญคือ
ความท้าทาย ความท้าทายของเรา สิ่งที่ท้าทายคือการท้าทายในตัวตนของเรากับความท้าทายบริบทข้างนอก
นำไปสู่ความคาดหวังโดยเฉพาะพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คาดหวังไว้สูง
โดยส่วนตัวแล้วยังขอสู้กับงานในมือเวลานี้มากกว่า
นับเป็นความสำเร็จแล้วที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ และเป็นความสำเร็จของพี่น้องทุกคนกว่าที่เราจะมาถึงจุดนี้
เราไม่ได้เดินมาอย่างเดียว เราทำงานภายใต้แรงหนุนของทุกภาคส่วน
ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาสถาบันการศึกษาที่เป็นเป้าหลอมให้เรา
ผู้บังคับบัญชาที่ได้สั่งสอนเรา วิถีชีวิตศาสนายังหล่อหลอมให้เป็นเรา
เป็นสิ่งเดียวและความเป็นหนึ่งเดียวนี้จะต้องอยู่ให้ได้กับโดยรวมทั้งหมด
เพราะเราเกิดจากภาครวมทั้งหมด”
นางพาตีเมาะกล่าวต่อว่า
ยังมีอีกหนึ่งความหวังที่ต้องการจะเห็นพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุข เกิดสันติสุขอีกครั้ง
เหมือนกับที่พี่น้องชาวมุสลิมอยากให้วันนั้นคืนกลับมา
ด้าน นัฏฐพงศ์ สมจิตต์
อิหม่ามมัสยิดดารุ้ลอิสลาม อ.เมืองพัทลุง ได้กล่าวชื่นชมรองผู้ว่าฯ
หญิงพัทลุงด้วยว่า
เป็นประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิมที่ได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูง
อีกทั้งยังเป็นผู้หญิง
ยิ่งมีความรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ผู้นำเป็นผู้หญิงและเป็นมุสลิม
ช่วยทำให้การทำงานหรือการประสานงานระหว่างผู้นำทางศาสนาอิสลามและองค์กรภาครัฐ
นับจากนี้จะมีมากขึ้น
“ที่ผ่านมาเราจะขาดการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและผู้นำศาสนาทำให้การช่วยเหลือ
การเข้าถึงน้อยไป เพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา
นับเป็นโอกาสดีที่รองผู้ว่าฯหญิงกับทางพื้นที่จะช่วยประสานงานในทุกด้านๆ
ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป”
เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการดูแลประชาชนไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด
“ถามว่าตรงนี้กดดันหรือไม่
ตลอดชีวิตการทำงานความกดดันมันอยู่กับเราตลอด ไม่ได้ไปหนักใจอะไร สิ่งสำคัญคือ
ความท้าทาย ความท้าทายของเรา สิ่งที่ท้าทายคือการท้าทายในตัวตนของเรากับความท้าทายบริบทข้างนอก
นำไปสู่ความคาดหวังโดยเฉพาะพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คาดหวังไว้สูง
โดยส่วนตัวแล้วยังขอสู้กับงานในมือเวลานี้มากกว่า
นับเป็นความสำเร็จแล้วที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ
และเป็นความสำเร็จของพี่น้องทุกคนกว่าที่เราจะมาถึงจุดนี้ เราไม่ได้เดินมาอย่างเดียว
เราทำงานภายใต้แรงหนุนของทุกภาคส่วน
ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาสถาบันการศึกษาที่เป็นเป้าหลอมให้เรา
ผู้บังคับบัญชาที่ได้สั่งสอนเรา วิถีชีวิตศาสนายังหล่อหลอมให้เป็นเรา
เป็นสิ่งเดียวและความเป็นหนึ่งเดียวนี้จะต้องอยู่ให้ได้กับโดยรวมทั้งหมด เพราะเราเกิดจากภาครวมทั้งหมด”
ด้าน นัฏฐพงศ์ สมจิตต์
อิหม่ามมัสยิดดารุ้ลอิสลาม อ.เมืองพัทลุง ได้กล่าวชื่นชมรองผู้ว่าฯ
หญิงพัทลุงด้วยว่า
เป็นประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิมที่ได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูง
อีกทั้งยังเป็นผู้หญิง
ยิ่งมีความรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ผู้นำเป็นผู้หญิงและเป็นมุสลิม
ช่วยทำให้การทำงานหรือการประสานงานระหว่างผู้นำทางศาสนาอิสลามและองค์กรภาครัฐ
นับจากนี้จะมีมากขึ้น
“ที่ผ่านมาเราจะขาดการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและผู้นำศาสนาทำให้การช่วยเหลือ
การเข้าถึงน้อยไป เพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา
นับเป็นโอกาสดีที่รองผู้ว่าฯหญิงกับทางพื้นที่จะช่วยประสานงานในทุกด้านๆ ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป”
เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการดูแลประชาชนไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด
-----------------
โดย... มติชนออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น