นายมุสตอปา
เซ็ง ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส จำกัด เล่าให้ฟังว่า
ชาวประมงพื้นบ้านใน 2 หมู่บ้าน คือบ้านเขาตันหยงกับบ้านตือลาฆอปาลัส
ได้รวมกลุ่มกันเองเมื่อปี 2553 ภายใต้แนวคิดว่าทำอย่างไรให้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
คือต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย และไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่
ประกอบกับเมื่อปี 2558 รัฐบาลได้ออกมาตรการการขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ส่งผลดีต่อทรัพยากรสัตว์น้ำได้ฟื้นตัวกลับมามีความอุดมสมบูรณ์
จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งสหกรณ์ประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส จำกัด อยู่ที่เลขที่
33/2 หมู่ที่ 11 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส ปัจจุบันมีสมาชิก 58 ราย “…ที่ผ่านมามีการทำประมงอวนลาก
เมื่อรัฐบาลมีการปราบปรามโดยเฉพาะเครื่องมืออวนลากและอวนรุน
ทำให้จนถึงวันนี้สัตว์น้ำมีอุดมสมบูรณ์
มีการตั้งกฎของหมู่บ้านหยุดทำประมงเป็นบางวัน ยกเว้นเรือพาย เรือเล็ก ๆ ออกได้
ส่วนที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อช่วยพี่น้องชาวประมงและตั้งเป็นสหกรณ์ให้มีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพประมง...”
ขณะที่นายประพัฒน์พงศ์
ทักษิณสัมพันธ์ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมงสำนักงานประมงจังหวัดนราธิวาส
กล่าวว่า
ทางกลุ่มให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการช่วยขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายตามนโยบายของรัฐบาล
ประกอบกับได้น้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
ในเรื่องการระเบิดจากข้างในมาปรับใช้
มีการสร้างความเข้มแข็งให้ชาวประมงในพื้นที่แล้ว
ทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงไปถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ
จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ประมงพื้นบ้านขึ้น
นายอับดุลรอยะ
อาแว รองประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส จำกัด กล่าวเสริมว่า
การที่ชาวประมงพื้นบ้านได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านการประมงทะเลชายฝั่ง
ทำให้เกิดความเข้มแข็ง ส่วนการจัดตั้งสหกรณ์ประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส จำกัด มองว่าจะช่วยทำให้กลุ่มชาวประมงมีความเข้มแข็งและอยู่รอดได้
โดยนายชนะ
อมรวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส
กล่าวว่า สหกรณ์ประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส จำกัด
ในขณะนี้เป็นสหกรณ์ประเภทประมงแห่งเดียวของจังหวัดนราธิวาส จัดตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม
2562 เพื่อช่วยเหลือกันในการประกอบอาชีพทำการประมง ทั้งการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์
รวบรวมผลิตภัณฑ์ กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก ไปจำหน่าย “...ไม่เฉพาะชาวประมง
เกษตรกรไม่ว่าจะทำสวน ทำไร่ ทำนา
ต้องรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันทำให้มีอำนาจในการต่อรอง ทั้งการซื้อและขาย
ซึ่งการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ดีกว่ากลุ่มรูปแบบอื่น เพราะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
สามารถดำเนินกิจกรรมได้หลากหลาย มีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยดูแล สนับสนุน
ส่งเสริม...”
สหกรณ์ประมงพื้นบ้านตือลาฆอปาลัส
จำกัดแห่งนี้ มีจุดเด่นหลายอย่าง แต่ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาต่อยอด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องส่งเสริมให้มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ที่สำคัญต้องสนับสนุนให้กลุ่มประมงพื้นบ้านในพื้นที่อีก 12 แห่ง
ได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์เช่นเดียวกับที่นี่
เพราะสหกรณ์ส่งเสริมให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน ให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น