สำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิสั้น
ก็เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับการใช้ม้าในการเยียวยาบำบัด เนื่องจากอาการอยู่ไม่นิ่ง
ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย และอารมณ์
เด็กบางคนอาจเพียงซุกซน แต่บางคนก็ก้าวร้าว กรีดร้องโวยวาย
การบำบัดด้วยการขี้ม้าจะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น
เนื่องจากการที่จะทรงตัวอยู่บนหลังม้าได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องอาศัยสมาธิสูงมาก
อีกทั้งม้าเป็นสัตว์ฉลาด สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้ขี่ได้
หากผู้ขี่มีอารมณ์ก้าวร้าวฉุนเฉียว ม้าก็จะแสดงอารมณ์ออกมาในลักษณะเดียวกัน💯📍
ในทางกลับกันหากผู้ขี่นั่งบนหลังม้าด้วยท่วงท่าที่สบายๆ
และมีความมั่นใจ ม้าก็จะผ่อนคลายและเชื่อฟังคำสั่งอย่างดี ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่
เด็กออทิสติก หรือเด็กสมาธิสั้น ขึ้นไปอยู่บนหลังม้าได้แล้ว
เขาก็จะต้องเรียนรู้ที่จะมีวินัยในตนเอง รู้จักควบคุมทั้งร่างกายและอารมณ์ของตัวเอง
ไม่แสดงนิสัยเอาแต่ใจตัวเอง หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา
เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จากข้อมูลดังกล่าว กองร้อยทหารพรานที่ 4409
จึงได้ร่วมกับ ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องที่,ผู้นำท้องถิ่น
ดำเนินโครงการ อาชาบำบัด เพื่อช่วยบำบัด กระตุ้น การตอบสนองทางร่างกายของเด็กพิเศษ
และเด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิสั้น โดยใช้ม้าในการบำบัด ซึ่งปัจจุบัน มีเด็กพิเศษ
เข้าร่วมโครงการ จำนวน 163 คน เป็นเด็กชาย 95 คน เด็กหญิง 45 คน ผู้ใหญ่ 6 คน
และบุตรหลานกำลังพล 17 คน โดยจะทำการบำบัด ในช่วงเวลา 07.00 – 12.00
น. ของทุกวัน
การพบกันครั้งแรกๆ ระหว่างเด็กกับม้า
ย่อมเกิดความกลัวเป็นธรรมดา ยิ่งโดยเฉพาะเด็กออทิสติก และเด็กสมาธิสั้น
กว่าจะเกิดความคุ้นเคยกันระหว่างเด็กกับม้าต้องอาศัยเวลา และความอดทนสูง
ประโยชน์จากม้าเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติกที่จะได้ทำกิจกรรม “อาชาบำบัด” โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมอาชาบำบัด ของ กองร้อยทหารพรานที่
4409
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมอุ่นเครื่องเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายด้วยเกมการเรียนรู้
และด่านทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ให้เหตุผลว่า ก่อนที่จะให้เด็กได้สัมผัสกับการขี่ม้า
จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเสียก่อน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่
กล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ฝึกการคาดคะเน
ฝึกการทรงตัว ฝึกความถนัดในการใช้มือซ้าย และ ขวา ฝึกการใช้จินตนาการและแยกแยะสี
เป็นต้น หลังจากนั้นเด็กๆ
จะได้ทดสอบสมรรถภาพของร่างกายด้วยการ วิ่งผลัด วิ่งซิกแซ๊ก วิ่งถอยหลัง
วิ่งสไลด์ข้าง การม้วนตัว การหลบหลีกจากสิ่งอันตราย การรับส่งบอล การโหนบาร์เดี่ยว
เป็นต้น
ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้แน่นอนว่าเด็กไม่สามารถทำได้ดีในครั้งแรก
แต่เมื่อใดรับการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ เขาก็จะค่อยๆพัฒนาได้เอง อาชาบำบัด
ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่หลายประเทศนำมาใช้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจเด็ก
ไม่เฉพาะเด็กพิเศษเท่านั้น เด็กปกติทั่วไปก็มาฝึกได้
ซึ่งผู้ปกครองอาจจะมองว่ายากสำหรับลูกหลาน แต่เมื่อได้รับการฝึกอย่างถูกวิธี
และมีพ่อแม่คอยเอาใจใส่ให้ความรักแก่เขา เราก็จะได้เห็นพัฒนาการด้านทักษะ
และความสุขของเด็กจากการขี่ม้า เชื่อว่ามาครั้งแรกต้องมีครั้งต่อไป
และนี้คือการพัฒนาจากฐานราก
ซึ่งเราเชื่อมั่นว่า เด็กในวันนี้จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติในวันหน้า
โดยเฉพาะเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษเหล่านี้
หากพวกเขาสามารถดูแลตัวเองได้ สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติต่อไป