“...เริ่มต้นจากศูนย์
ได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์เครื่องมือมาฝึก นำอุปกรณ์มาจากบ้าน เพราะพ่อเคยเป็นช่างไม้
ดึงครูสอนศาสนามาช่วยทำ ต่อมาโรงเรียนเข้ามาส่งเสริมพัฒนา
รายได้นำไปเป็นค่าตอบแทนครูสอนศาสนา เด็กก็ได้มีอาชีพติดตัว
บางคนก็ทำเป็นอาชีพเสริม ส่วนชาวบ้านที่สนใจก็มาศึกษาเรียนรู้ได้...” ว่าที่ร้อยตรี จิรัสย์ ศิริวัลลภ
นายอำเภอบาเจาะ กล่าวเสริมว่า จุดเด่นของบ้านยือลอ อยู่ในโซนพรุ
เป็นแหล่งผลิตช่างไม้ โดยเฉพาะทำวงกบ ประตู หน้าต่าง
เป็นอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม ซึ่งมีต้นตะเคียน ตำเสา ทราย เป็นจำนวนมาก
ทำให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องช่างไม้ต่อเนื่องมาหลายปี
เป็นที่ยอมรับในฝีมือ
“...ช่างไม้ที่นี่เริ่มมากจากโรงเรียนอัลมัสโฮร์
ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เด็กและประชาชนในพื้นที่
มีพื้นฐานมาจากเรื่องศาสนาที่ดี ในการทำอาชีพ
อาจไม่ได้หวังผลในเชิงของธุรกิจเป็นสำคัญ
แต่หวังผลเป็นอาชีพที่ทำให้ได้อยู่กับครอบครัว อยู่ในหมู่บ้าน ได้อย่างพอเพียง
มีความสุข...”
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่างมีอายุมาก สายตา
กล้ามเนื้อของข้อมือ เริ่มแย่ลง
สิ่งที่ต้องรักษาและดำเนินการคือการสร้างคนขึ้นมาทดแทน
ซึ่งจะใช้กรรมการหมู่บ้านเป็นตัวหลักร่วมกับกรรมการของโรงเรียนอัลมัสโฮร์และโรงเรียนบ้านยือลอ
จะทำให้องค์ความรู้ของงานไม้คงอยู่กับพื้นที่
รวมถึงวางแผนเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกต้นตำเสา หรือไม้อื่นๆ
ที่นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์จากไม้ ส่วนเสริมคือการส่งกระแสไฟฟ้า
ต้องมีประสิทธิภาพมั่นคง เพียงพอต่อความต้องการ
ซึ่งต้องหารือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่อไป
นายอับดุลเลาะห์ เจ๊ะมะ อายุ 48 ปี ชาวบ้านตำบลบาเระเหนือ
อำเภอบาเจาะ อาชีพช่างเฟอร์นิเจอร์/ตกแต่งภายใน กล่าวว่า
ถือเป็นการฝึกอาชีพให้เยาวชนในหมู่บ้าน ตนเองเริ่มฝึกจากที่โรงเรียนอัลมัสโฮร์
จากนั้นไปฝึกเพิ่มเติมที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และตอนนี้ออกรับงานตกแต่งภายใน
พร้อมบอกด้วยว่าตนเองเป็นช่างไม้ก็จริง แต่ได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
“...ไม้ในพื้นที่
ที่นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ วงกบ บานประตู จะมีการรณรงค์การปลูกต้นไม้ทดแทน บริเวณบ้าน
ริมถนน เพื่อให้มีไม้ไว้ใช้ในอนาคต ได้มีงานทำต่อไป...”
“...รายได้อยู่ที่ประมาณ
300-400 บาท ต่อวัน พออยู่ได้ อีกทั้งขี้เลื่อยที่เหลือทิ้งจากการทำงานไม้
ตนเองได้นำไปใช้ประโยชน์ และแบ่งปันเพื่อนบ้าน นำไปโรยใต้เล้าไก่เพื่อดับกลิ่น
และนำไปเป็นปุ๋ย...”
จะเห็นได้ว่า กลุ่มช่างไม้บ้านยือลอ
นอกจากจะเป็นสถานที่ฝึกอาชีพให้กับเยาวชนแล้ว ยังเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
ด้วยการปลูกป่าทดแทนเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ถือเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ที่ประกอบอาชีพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับใครที่สนใจผลิตภัณฑ์งานไม้
ช่างไม้เครื่องเรือนบ้านยือลอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์หมายเลข 081-0934167
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น