ดังตัวอย่างพี่น้อง ชาวบ้านหมู่ 1 ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา
ได้รวมกลุ่มเพื่อนำวัตถุดิบทางการเกษตรในหมู่บ้านมาแปรรูปเป็นขนมต่างๆ เช่น
ขนมกะหรี่ปั๊บ ขนมเปี๊ยะ ขนมลูกเต๋า เป็นต้น แล้วนำมาจำหน่าย สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน
โดยสมาชิกในกลุ่มทั้งหมดจะเป็นชาบ้านในพื้นที่ทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมมาร่วมกลุ่มกันทำ
จนเป็นที่มาของ "กลุ่มขนมสองวิถี" นั่นเอง
นอกจากจะทำให้เกิดความสามัคคีกันแล้ว
ยังส่งผลให้สมาชิกและคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
รวมถึงความมั่นคงด้านรายได้ อันส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเพราะมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น
โดยไม่ต้องออกไปหางานทำนอกท้องถิ่น คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้รับรู้
และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและได้รับความรู้ในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ดีขึ้น
นอกจากนี้
การที่คนในชุมชนมีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ส่งผลให้ชุมชนมีความสงบสุข
เนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง
รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
แม้ว่าแนวทางการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
จะไม่ทำให้คนในชุมชนมีความร่ำรวย แต่ทุกคนต่างมีความสุขมากขึ้น
เมื่อคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความสุขแล้ว
ก็มีความปรารถนาที่จะทำให้ชุมชนเกิดความน่าอยู่
โดยหันหน้ามาร่วมกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น