ชุมชนตะโละหะลอ หมู่ที่ 5 บ้านบึงน้ำใส
ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา มีช่างทำกริชสืบทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมี “ตีพะลี
อะตะบู” เป็นผู้สืบทอดสายเลือดช่างกริชรามันห์
และถือเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชำนาญการเรื่องกริชโบราณพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องราวของกริชให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดรักษามรดกนี้ไว้ "กริชรามันห์” ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน
กำเนิดขึ้นเมื่อ 200-300 ปีก่อน โดยเจ้าเมืองรามันประสงค์ให้มีกริชเป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง
จึงได้เชิญช่างทำกริชจากอินโดนีเซียมาสร้างที่เมืองรามัน และสืบทอดภูมิปัญญามาจนปัจจุบัน
" หัวกริช"
เป็นศิลปะรูปนกพังกะ ส่วนเล่มกริช เป็นรูปแบบศิลปะปัตตานี หรือที่เรียกกันว่า
กริชตายง ซึ่งเป็นกริชที่ทำมาในปัจจุบันนี้ โดยมีบรมจารย์คือ
ช่างหลวงของเจ้าเมืองรามัน กริชในตระกูลของท่านปันไดสาระ
ซึ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนทำกริช หรือกลุ่มผู้นิยมกริชทั่วโลก
เพราะเป็นกริชที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเล่มและหัวกริช
เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นศิลปะรูปนกปือกา หรือนกพังกะ เป็นนกในวรรณคดีท้องถิ่น
ที่มีความหมายว่า ผู้คุ้มครอง เป็นนกที่มีลำตัวสีเขียว ปากยาวมีสีแดงอมเหลือง
คอมีสีขาวสลับสีแดง กริชรามันจึงเป็นรูปนกแทบทั้งสิ้น”
นอกจากนั้นความแข็งแกร่งยังเป็นจุดเด่นอีกประการ
ของกริชรามันห์จากตระกูลปันไดสาระอีกด้วย โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า
ในการประกวดความแข็งแกร่งของกริช
ซึ่งผู้เข้าประกวดจะต้องใช้กริชแทงโอ่งบรรจุน้ำให้แตก มีเพียงกริชจากตระกูลปันไดสาระเท่านั้นที่สามารถแทงโอ่งได้
เนื่องจากเป็นกริชชนิดเดียวที่มีสันตรงกลางใบกริช เพราะมีสูตรการผสมเนื้อเหล็ก
ที่เน้นความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ กริชรามันห์มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวที่โดดเด่นงดงาม มีจิตวิญญาณของความเชื่อและ ตำนานไม่แพ้กริชของพื้นที่ใดในแหลม
มลายู จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป
ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทำให้ยังมีคนนิยมเก็บสะสมกริชรามันเป็นของที่ระลึก นอกจากการสาธิตทำกริชแล้วที่นี่ยังมีการโชว์การแสดงรำกริชรามันห์ให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย
โดยการแสดงนี้ผู้แสดงจะโชว์ลีลาลวดลายการรำกริชอย่างอ่อนช้อยและดุดันเข้มแข็ง
สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้เห็นเป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น