ปาตานี
คือชื่อรัฐๆหนึ่งอยู่บนแผ่นดินด้ามขวานที่เรียกว่าแหลมมลายู แซะห์ อาหะหมัด
บินวันมูฮัมหมัดเซ็น อัลฟาตอนี ได้กล่าวไว้ว่า “ปาตานี
คือรัฐหนึ่งในหลายๆรัฐของชาวมลายู ได้เป็นสถานที่ก่อกำเนิดบุรุษที่ดี เฉลียวฉลาด
รักสงบและเก่งกล้า เป็นรัฐที่มีเอกราช
และอยู่ภายใต้ปกครองของบุคคลเหล่านั้นมาแต่อดีต”
วันหนึ่ง
เวลาบ่ายสามโมง (ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พศ.2445 ) เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารูดดีน
เจ้าเมืองปัตตานี ก็ถูกตามไปพบกับพระยา ศรีสหเทพ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในปัตตานี
ที่รายล้อมด้วยกำลังทหารและตำรวจประมาณ 100 นาย พระยาศรีสหเทพ
ได้ยื่นเอกสารให้เต็งกูอับดุลกอเดร์ลงนาม แต่ท่านไม่ยอม พระยาศรีสหเทพ
จึงสั่งตำรวจและทหารจับกุมตัวเต็งกูอับดุลกอเดร์
พาลงเรือและนำไปควบคุมที่เมืองสงขลา ต่อมาก็ถูกส่งเข้าสู่บางกอก
วันนั้นเป็นวันอันสิ้นสุดของอาณาจักรปาตานีดารุสสาลามที่ปกครองโดยชาวมลายูปาตานีที่มีที่มานานกว่า
600 ปี นับจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลานาน 100 ปี
ปัตตานีนั้นเคยเป็นรัฐที่มีเอกราช ก่อนหน้านั้นหรือ ?
ก่อนที่จะมาเป็นปาตานีนั้น
ลังกาสุกะ เป็นชื่อที่ถูกเรียกมาก่อนของดินแดนแห่งนี้ ลังกาสุกะ
เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมลายูมาก่อน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ โกตามาหาลิไกย
การไปล่าสัตว์ป่าของพญาตูนักปา
เดวาวังสา จนกระทั่งพบกระจงขาววิ่งหนี หายไปในระหว่างหาดทรายริมชายหาด
พบผู้เฒ่าที่มีนามว่าโต๊ะตานี
เป็นเหตุให้พระองค์ต้องย้ายเมืองหลวงจากโกตามาหาลิไกย มาตั้งที่กรือเซะ
แล้วเปลี่ยนเป็นเมืองปาตานี
การเข้ามาของแซะห์ซาอีดในปาตานี
เพื่อรักษาอาการป่วยของพญาตูนักปา จนพระองค์เข้ามารับนับถือศาสนาอิสลาม
แล้วเปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่านอิสมาแอล ชาห์ ซิลลุลลอฮ์ ฟิลอาลาม
และการเรียกชื่อเมืองปาตานีเป็น ปาตานีดารุส สาลาม
ได้มีการสืบทอดการปกครองอาณาจักรปาตานีดารุส สาลาม จนสิ้นสุดราชวงศ์ศรีมหาวังสา
เนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระนางกูนิง
แทบจะเรียกได้ว่าในระหว่างการปกครองของกษัตริย์ที่เป็นหญิงในปาตานีนั้นได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง
เทียบเท่ากับเมืองอัมสเตอร์ดัมในสเปนก็ไม่ปาน
ปาตานีได้เปลี่ยนผู้ปกครองอีกหลายต่อหลายท่าน
สมัย สุลต่านอะหมัด เป็นสุลต่าน ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2329 ปาตานีก็ถึงกาลอวสาน โดยการเข้าโจมตีของกองทัพสยามทั้งทางบกและทางเรือ
สุลต่านอะหมัด สิ้นชีพในการต่อสู้กับศัตรู บ้านเมืองถูกเผาทำลาย
ชาวมลายูปาตานีถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ทีสามารถหลบหนีได้ก็แยกย้ายกันไปอาศัยเมืองข้างเคียงอื่นๆ
ส่วนหนึ่งก็ถูกจับตัวไปเป็นเชลยพร้อม ปืนใหญ่ศรีปาตานีที่ถูกยึดไปบางกอก
เป็นการทำสงครามครั้งที่หกและเป็นครั้งแรกที่ปาตานีต้องสูญเสียอำนาจแก่สยาม
เต็งกูลัมมีเด็น
ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองปาตานี
แต่ก็ต้องสังเวยชีวิตในการทำสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชจากสยามที่เขาลูกช้างในเมืองสงขลา
เมื่อปี ค.ศ.1791
หลังจากนั้นไม่นาน
ดาโต๊ะปังกาลันก็ตกชะตากรรมคล้ายกับเต็งกูลัมมีเด็น
ศีรษะของท่านได้ถูกตัดนำไปถวายแก่แม่ทัพสยามที่ปากน้ำปาตานี เมื่อ ปี ค.ศ.1810 นายกวงไส ชาวจีนจากจะนะก็ได้มีโอกาสเป็นเจ้าเองปาตานี หลังจากนั้นอีก 5 ปี
กระทั่ง
พ.ศ.2359 สยามได้ปฏิรูปหัวเมืองประเทศราชโดย แบ่งแยกปาตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เพื่อลดทอนอำนาจของปาตานีลง และให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสงขลา
แต่งตั้งให้ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมืองปาตานี ต่วนนิ เป็นเจ้าเมืองหนองจิก
ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมืองรามัน ต่วนยาลอ เป็นเจ้าเมืองยะลา ต่วนนิดะห์
เป็นเจ้าเมืองระแงะ ต่วนนิเด๊ะ เป็นเจ้าเมืองสายบุรี และนายพ่าย
(ชาวสยาม)เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง
สงครามระหว่างมลายูกับสยามในปี
2375 นั้นเกิดจากการขึ้นมากอบกู้เอกราชของชาวมลายูเคดะห์ โดยเต็งกูเด็น
แม่ทัพของสุลต่านอาหมัด ตายูดดีน แห่งรัฐเคดะห์
จากเหตุการณ์นี้เมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆของปาตานีต่างก็ถูกเกณฑ์ไปร่วมกับสยามโดยหัวเมืองสงขลาและนครศรีธรรมราช
ต่อสู้กับเคดะห์
แต่การณ์กลับตาลปัดที่บรรดาเจ้าเมืองมายูกลับเข้าร่วมกับกองทัพของเต็งกูเด็น
แม่ทัพเคดะห์ เข้ารบพุ่งกับกองทัพสยามต้องล่าถอยไป
จวบจนกระทั่งกองทัพจากกรุงเทพฯลงมาร่วมกับนครศรีธรรมราช สงขลา
เข้าตีกองทัพเคดะห์และปาตานี แตกล่าถอยไป ต่อมา ต่วนกูสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี
ต่วนกูโน เจ้าเมือง ยะลา และต่วนกือจิเจ้าเมืองหนองจิก
สามพี่น้องถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นเจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองปัตตานีต่างๆเสียใหม่
คือ นายนิยูโซ๊ะ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี นายมิ่ง เป็นเจ้าเมืองหนองจิก ต่วนมันโซร์
เป็นเจ้าเมืองรามัน นายยิ้มซ้ายหรือเหมใส เป็นเจ้าเมืองยะลา นายนิดะห์
เป็นเจ้าเมืองสายบุรี นายนิบอซู เป็นเจ้าเมืองระแงะ และ นายพ่าย
เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง ภายใต้การควบคุมของเมืองสงขลาเช่นเดิม
เจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้ง ตกทอดแก่ชาวมลายูบ้างชาวสยามบ้างตามสถานการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น