นายสมโชค
ณ นคร เกษตร จ.ยะลา เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา
ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ
ตามศาสตร์พระราชา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยที่ประชุมได้มีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ ในปี 2561
ซึ่งการคัดเลือกเกษตรกรแปลงใหญ่ (ทุเรียน) จาก 114 ราย เหลือ 26 ราย
ที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองตรวจแปลง มีการดูแลรักษาแปลง ให้ปุ๋ย กำจัดโรคและแมลง
มีระบบน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง ฯลฯ ทั้งนี้ เหลือเกษตรกรที่จำหน่ายผลผลิตให้กับโครงการ
18 ราย ถอนตัวเนื่องจากขายเหมาสวนให้กับพ่อค้าในพื้นที่ ราคา 30-40 บาทต่อกิโลกรัม
ผลผลิตทุเรียนจากเกษตรกร 18 ราย 335 ต้น ทั้งสิ้น 48.2 ตัน เป็นเกรด AB จำนวน 35.3 ตัน
ทำให้เกษตรกรมีรายได้ 2,778,303 ล้านบาท รายได้เฉลี่ย 154,405 บาท สถาบันฯ
รับซื้อเกรด AB ในราคา 80 บาทต่อกิโลกรัม
สูงกว่าราคารับซื้อในจังหวัดยะลา (65 บาทต่อกิโลกรัม) และชุมพร (73
บาทต่อกิโลกรัม)
นอกจากนี้
ที่ประชุมยังได้พิจารณาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ
ตามศาสตร์พระราชา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2562
ซึ่งทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
ได้ร่วมกับจังหวัดยะลา พัฒนาโครงการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ ในปี 2561
เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้สามารถดูแลต้นทุเรียนให้ออกผลผลิตที่มีคุณภาพ
และปริมาณเป็นที่ต้องการของตลาด
โดยการเชื่อมโยงกับแหล่งรับซื้อทั้งในและต่างประเทศ
จนสามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงในพื้นที่อำเภอบันนังสตา
ด้วยการคัดเลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา
ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการสถาบันปิดทองหลังพระฯ
ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินโครงการทุเรียนคุณภาพฯ ที่ผ่านมา
และมีมติเห็นชอบให้ดำเนินงาน
“โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ตามศาสตร์พระราชา
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้” (โครงการทุเรียนคุณภาพ) ภายใต้แผนงานพระราชบัญญัติงบประมาณ
พ.ศ.2562 โดยมีเป้าหมายจำนวนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,250 ราย
หรือจำนวนต้นทุเรียน 25,000 ต้น ผลผลิตประมาณ 3,000 ตัน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ยะลา และนราธิวาส
ทั้งนี้
เป้าหมายพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดยะลา ปี 2562 พื้นที่
เกษตรแปลงใหญ่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายดำเนินโครงการ รวม
4,133.25 ไร่ 979 ราย จังหวัดปัตตานี 1 อำเภอ 319 ไร่ 231 ราย จังหวัดนราธิวาส 1
อำเภอ 317 ไร่ 54 ราย และจังหวัดยะลา 6 อำเภอ 3,497.25 ไร่ 694 ราย และจังหวัดยะลา
มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ทุเรียนแปลงใหญ่ 6 อำเภอ มีจำนวนพื้นที่ 3,497.25 ไร่
เกษตรกร 694 ราย
สำหรับหลักเกณฑ์การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรที่เข้ารับการคัดเลือกต้องมีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนอย่างน้อย 15
ปีขึ้นไป มีการจัดการแปลงแบบประณีตเบื้องต้น
มีระบบน้ำในแปลงและต้นทุเรียนมีอายุไม่ต่ำกว่า 8 ปีการคมนาคมสะดวก รถยนต์สามารถเข้าถึงแปลง
เกษตรกรยินยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
ส่วนการพิจารณาความสมบูรณ์ของสภาพต้นทุเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โคนต้น
รูปทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่ง สภาพต้น กิ่ง ใบ จำนวนใบ แสดงความสมบูรณ์
ระยะการเจริญเติบโตของดอก การจัดการสวน (การตัดหญ้าโคนต้น) ระบบน้ำต้นทุน
และการกระจายน้ำสู่ต้นทุเรียน ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น