วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561

“เมืองโบราณยะรัง” ชื่อนี้มีตำนาน



        จากการศึกษาพัฒนาการของเมืองโบราณยะรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ต่อมาพัฒนาเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนามหายานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 ในบริเวณบ้านวัดและบ้านจาเละ จากนั้นได้พบหลักฐานว่ากลับมาเจริญอีกครั้งช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21 ก่อนจะหมดความสำคัญและย้ายเมืองไปยังบ้านกรือเซะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21
โบราณสถานบ้านจาเละ หมายเลข 3 (รูปประกอบ)
พบอาคารก่อด้วยอิฐ เหลือเฉพาะส่วนฐานและฐานอาคารห้องกลาง ส่วยยอดหักหายไป หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าหาคูเมือง
ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 13.5 x 13.6 เมตร มีบันไดสูงประมาณ 2.5 เมตร
ตัวอาคารหรือปราสาทด้านบนรอยอาคารเป็นลานประทักษิณ ขนาด 9.5 x 9.8 เมตร ตัวอาคารทำเป็นอาคารเพิ่มมุม ภายในห้องโถงทำเป็นห้องสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 5 x 5 เมตร
โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ได้แก่ รางน้ำที่ทำจากหินทราย พระพิมพ์ดินดิบ พระพิมพ์ดินเผา ชิ้นส่วนสถูปจำลองดินดิบ สถูปจำลองดินเผา พระโพธิสัตว์สำริด เป็นต้น


















ขอขอบคุณ Adnan Abdulrahman
ที่นี่ชายแดนใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น