เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 14 ธ.ค. 59 ที่กระทรวงวัฒนธรรม
(วธ.) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เป็นประธานแถลงข่าวผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2559 โดยมีนายวีระ
โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. และผู้บริหารวธ.เข้าร่วม
สำหรับในปีนี้คณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ
มีมติประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2559 รวมทั้งหมด 12 คน ใน สาขา ได้แก่
สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 4 คน ได้แก่
1.นางคำสอน สระทอง (ประณีตศิลป์-ทอผ้า)
2.นายเดโช บูรณบรรพต (ภาพถ่าย)
3.นางลาวัณย์ อุปอินทร์ (จิตรกรรม)
4.รศ.เสนอ นิลเดช (สถาปัตยกรรมไทยประเพณี)
สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 4 คน ได้แก่
1.กิตติศักดิ์ มีสมสืบ
2.นางชูวงศ์ ฉายะจินดา
3.นายธัญญา สังขพันธานนท์
4.ศ.พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย
สาขาศิลปะการแสดง 4 จำนวน ได้แก่
1.นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ดนตรีไทยสากล)
2.นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์
(การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
3.นายสมบัติ เมทะนี (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
***4.นายหะมะ แบลือแบ (มะยะหา)
(การแสดงพื้นบ้าน-ดีเกร์ฮูลู)
นายหะมะ แบลือแบ ครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม (สาขาการแสดงดิเกฮูลู)
ครูหะมะ แบลือแบ จาตำบลบาโระ จังหวัดยะลา เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนว่าเป็นผู้มีความสามารถความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านศิลปกรรม สาขาการแสดงดิเกฮูลู ที่ใช้บทร้องประกอบการแสดงเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทยผสมผสานกับภาษามาลายูท้องถิ่น๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการแสดงและพิทักษ์ดิเกฮูลูให้สืบทอดถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ด้านการแสดงดิเกฮูลู ช่วยงานทางราชการในการรณรงค์ทั้งในเรื่องการศึกษา การป้องกันยาเสพติดและกิจกรรมด้านความมั่นคง รวมทั้งเป็นผู้คิดท่าประกอบการแสดงดิเกฮูลู สำหรับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยใช้ศิลปะนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ให้กับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ และเผยแพร่ เป็นมาตรฐานมาจนถึงปัจจุบัน
การศึกษา ชีวิต และการทำงาน
ครูหะมะ แบลือแบ เกิดใสครอบครัวเกษตรกรจบการศึกษาในระบบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนราษฏร์อุทิศ (บ้านปูแล) หลังจากนั้นได้ ศึกษานอกระบบจบหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 3 และหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 4 จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา เมื่อปี พ.ศ. 2516 และ ปี พ.ศ. 2543 ตามลำดับ ครูหะมะเกิดแรงบันดาลใจสนใจในศิลปะการแสดง ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปชมการแสดงดิเกฮูลู คณะนายกูมะ ลาลอ ดิเกฮูลูจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในงานประจำปีของอำเภอ ต่อมาเริ่มฝึกกการแสดงโดยชักชวนเพื่อนๆ ในโรงเรียนฝึกแสดงเลียนแบบการง แสดงดิเกฮูลูรุ่นพี่ ฝึกร้องประกอบดนตรี ซึ่งประกอบด้วย รำมะนา 1 คู่ ฆ้องใหญ่ 1 โหม่ง 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ จนเกิดความชำนาญและได้ออกแสดงครั้งแรกให้เพื่อน นักเรียนชม และได้พัฒนาการแสดงตลอดเวลา จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้จัดตั้งคณะ "ดิเกฮูลู" ชื่อ คณะ "มะ ลูกทุ่ง" หรือ "มะ ยะหา" ตระเวรแสดงทั่วพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ชื่อเสียงผลงานเป็นที่รู้จัก ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน คณะดิเกฮูลู "มะ ยะหา" ได้รับเชิญจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรมประชาสัมพันธ์ให้แสดง "ดิเกฮูลู" รณรงค์ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เรื่องการศึกษา การต่อต้านยาเสพติด ภัยโรคเอดส์ การรักประเทศชาติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภา และอื่นๆ เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังได้รับเชิญจากกองพิจการพลเรือน กองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท 43) ร่วมกับโครงการทักษฺณพัฒนา กองทัพภาคที่ 4 ได้ประสานขอความร่วมมือให้คณะดิเกฮูลู "มะ ยะหา" ไปแสดงให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามที่กองทัพกำหนด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อใช้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อเชิญชวนรณรงค์ในด้านสังคม และจิตวิทยามวลชน เป็นการช่วยเหลือกิจกรรมของรัฐโดยไม่คิดค่อตอบแทนอีกด้วย
ในการแสดงนั้น ครูหะมะเป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงประกอบการร้อง 2 ภาษา คือ ภาษายาวีและภาษาไทย นับว่าเป็นการเชื่อมระหว่าง 2 วัฒนธรรมคือวัฒนธรรมไทยเข้ากับวัฒนธรรมของมุสลิมได้อย่างกลมกลืน ผลงานเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมทั้ง 2 ประเทศ และมีการบันทึกเป็น VCD และวีดิทัศน์จากบริษัทแผ่นเสียงของประเทศไทยและของประเทศมาเลซีย เช่น บริษัทแผ่นเสียงโรต้า บริษัทสตาร์เรคคอร์ดปัตตานี และบริษัท S.C. STUDIO เป็นต้น
จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับสังคมการแสดงในวงวิชาชีพศิลปิน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหา ความมั่นคงในอาชีพการแสดงของศิลปินเป็นอย่างดีครูหะมะจึงเป็นแกนนำร่วมกับ สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 2 จัดประชุมสัมมนาหัวหน้าคณะการแสดงพื้นบ้านดิเกฮูลูจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นผลจาการประชุมดังกล่าวมีผลให้จัดตั้ง "ชมรมดิเกฮูลูจังหวัดชายแดนภาตใต้" ขึ้นในปี พ.ศ. 2543 ครูหะมะ แบลือแบ ได้รับคัดเลือกเป็นประธานชมรม วัตถุประสงค์ของชมรมเพื่อให้การส่งเสริมและจัดสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดจนพัฒนาการแสดงศิลปะพื้นบ้านดิเกฮูลูให้ได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับแก่สังคมทุกวงการ
.....ขอแสดงความยินดีครับ.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น