ข้าวเกรียบกรือโป๊ะของดีปัตตานี หลังจากมาเลเซียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมีคนจากประเทศมาเลเซียจำนวนหนึ่งได้อพยพมาตั้งรกรากใพื้นที่ประเทศไทยบริเวณบ้านดาโต๊ะตำบลแหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี
และได้มีคนนำต้นสาคูมาทำแป้งเป็นอาหารเช้ากินกับน้ำชา ในยุคนั้นเป็นยุคข้าวยากหมากแพงจึงนำแป้งสาคูมาผสมกับปลาและเกลือเท่าที่ชาว
บ้านในหมู่บ้านประมงจะหามาได้โดยปั้นเป็นแท่งกลมยาว
แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นๆย่างหรือทอดในน้ำมันใช้เป็นอาหารรับประทานครัวเรือน
ในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็จะทำอาหารชนิดนี้บริโภคกันทุกครัวเรือนการทำอาหารชนิดนี้แปรผันเป็นภูมิปัญญาสืบทอดมาเป็นขุมทรัพย์จากการที่
บรรพบุรุษของชาวดาโต๊ะรู้จักวิธีทำข้าวเกรียบกือโป๊มาแต่อดีตและได้สืบทอดภูมิปัญญานี้ส่งผ่านมารุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงลูกหลานยุคปัจจุบัน
และจากการที่คนในชุมชนบ้านดาโต๊ะประกอบอาชีพทำการประมงขนาดเล็กเป็นอาชีพหลักของครอบครัวจึงได้นำปลาที่เหลือจากการบริโภคและ
จำหน่าย
ซึ่งเป็นปลาตัวเล็กๆมาประยุกต์ผสมกับแป้งมัน (แป้งสาคูบางส่วน)
ทำข้าวเกรียบกรือโป๊ะไว้กินกันในครัวเรือนที่เหลือก็มีการขายกันบ้างภายในหมู่บ้านปรากฏว่าขายดี
จึงขยายตลาดไปยังภายนอกหมู่บ้าน เพิ่มการผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆไปสู่
ตำบล อำเภอ
และจังหวัดอื่น ๆ
จากการผลิตข้าวเกรียบกรือโป๊ะของชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่เป็นผู้ผลิตข้าวเกรียบ
ประมาณ 3,000– 5,000
บาท/คน/เดือนนับเป็นขุมทรัพย์ที่เกิดจากภูมิปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น