คำว่า เกลือหวาน ในสมัยโบราณมีการเปรียบเปรยว่าที่นี่เป็นถิ่นเกลือหวาน“ฆาแฆ ตานิง มานิส (Garam Taning Manis)” เกลือปัตตานี เป็นเกลือที่มีคุณภาพดีแตกต่างจากที่อื่นแม้จะมีรสเค็มเหมือนกัน แต่กลมกล่อมกว่า ชาวบ้านนิยมนำมาหมักปลาทำน้ำบูดู ทำปลาแห้ง ดองผัก ผลไม้ คุณสมบัติพิเศษคือจะไม่ออกรสขม หากทำสะตอดอง จะได้ความกรอบ มัน เนื้อไม่เละ เป็นที่มาของคำเปรียบเปรยว่า ปัตตานีถิ่นเกลือหวาน นั่นเอง
นับตั้งแต่คอคอดกระไปจนถึงปลายแหลมมลายู
จะไม่พบเห็นการทำนาเกลือที่ใด นอกจากในจังหวัดปัตตานีเพียงแห่งเดียว
ชาวไทยมุสลิมบ้านแหลมนก
ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งประกอบอาชีพทำนาเกลือมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ
และมีแห่งเดียวในภาคใต้ โดยพร่องน้ำทะเลมาจากอ่าวปัตตานี
กักไว้ในพื้นที่ทำนาเกลือริมชายฝั่งที่มีสภาพเป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ
ช่วงนี้ชาวนาเกลือกำลังเร่งเก็บเกลือ
ปัจจุบันการทำนาเกลือของชาวปัตตานี
มี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบานา และหมู่บ้านตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี
ซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ -
มิถุนายน แต่คนทำนาเกลือจะเป็นวัยกลางคนเสียส่วนใหญ่
คนรุ่นใหม่ไม่นิยมทำกันเพราะเป็นงานที่หนักต้องตากแดดทั้งวัน
เกลือปุ๋ย
สำหรับแปลง
นี้ เจ้าของนาบอกว่าไม่ทันเตรียมดินให้เรียบร้อยเลย ทำเกลือปุ๋ย
ซึ่งชาวสวยนิยมนำเกลือชนิดนี้มาทำปุ๋ยเอาไปใส่ในสวนด้วยเช่นกัน
ถ้ามีโอกาสมาปัตตานี
ก็อย่าลืมซื้อเกลือหวานจากปัตตานีไปฝากคนที่บ้านกันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากสมาชิกพันธุ์ทิพย์
หมายเลข 2351443
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น