กล้วยหินบันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา
เป็นกล้วยพื้นเมืองที่เนื้อแข็งและเมื่อสุกรสชาติจะออกเปรี้ยวเล็กน้อย
ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อย
พื้นที่ของอ.บันนังสตา ร้อยละ 90 เป็นภูเขา
คนเก่าแก่เห็นกล้วยชนิดนี้ขึ้นสมบูรณ์เจริญงอกงามดีในบริเวณเมืองร้าง
(เหมืองแร่ดีบุก) ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหินและดินลูกรัง จึงเรียกว่า “กล้วยหิน”
ส่วนที่มาอีกแหล่งหนึ่ง เล่ากันว่า
คนหาแร่พบกล้วยชนิดหนึ่งขึ้นปะปนกับกล้วยป่า เห็นนกกินได้ จึงเก็บมากิน
รสชาติออกเปรี้ยว จึงนำมาต้มกินปรากฏว่าอร่อยกว่ากล้วยชนิดอื่นเนื้อจะออกแข็งๆ
เลยเรียกชื่อว่า “กล้วยหิน”
ในสมัยก่อนกล้วยหิน ยังเป็นอาหารเช้าที่ชาวบ้านนิยมบริโภค
นำมาต้มแล้วตำให้ละเอียดคลุกกับมะพร้าวอ่อนขูดผสมกับน้ำตาลทรายและเกลือปั้นเป็นก้อนรับประทานกับกาแฟ
อีกทั้งนำกล้วยหินที่สุกนำมาเป็นอาหารให้นกกรงหัวจุก
เชื่อว่าจะทำให้เสียงร้องของนกกรงหัวจุกดี
ประวัติความเป็นมาของกล้วยหิน
กล้วยหิน มีชื่อสามัญ : Saba ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sp. ในภาษาถิ่น
(มลายู) เรียกว่า “ ปีซัง บาตู ” หรือ“ ปีแซ บาตู ” ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า
“กล้วยหิน” เหตุที่ชื่อกล้วยหินเพราะกล้วยหินมีเนื้อแน่นเหนียวกว่ากล้วยอื่นๆ
และมีผู้เฒ่าหลายคนเล่าว่า กล้วยหินพบครั้งแรกที่บริเวณกรวดหินสองฝั่งแม่น้ำปัตตานีบริเวณบ้านเรือขุด
ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ทางไปเขื่อนบางลางปัจจุบัน
ซึ่งแต่เดิมเป็นเหมืองแร่ดีบุกชาวบ้านเห็นว่ากล้วยหินชนิดนี้ขึ้นได้ดีในสภาพกรวดหินที่มีความชื้นสูง
จึงเรียกว่า “กล้วยหิน”
กลุ่มแม่บ้านถ้ำทะลุสามัคคีตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาเกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก และทำสวนผลไม้เป็นอาชีพรอง ซึ่งการทำสวนผลไม้ต่าง ๆ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยเพราะดูแลรักษาง่าย ชุมชนถ้ำทะลุนิยมปลูกกล้วยหิน เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายกล้วยดิบ และยังมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการรวมกลุ่ม เริ่มแรกทำขนมทองม้วน เมื่อปี 2542 และพัฒนากลุ่มมาทำกล้วยหินฉาบได้แก่ กล้วยหินฉาบหวาน กล้วยหินกรอบแก้ว กล้วยหินเคลือบสมุนไพร แต่ละผลิตภัณฑ์ได้รับเครื่องหมาย อย.
กลุ่มแม่บ้านถ้ำทะลุสามัคคีตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาเกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก และทำสวนผลไม้เป็นอาชีพรอง ซึ่งการทำสวนผลไม้ต่าง ๆ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยเพราะดูแลรักษาง่าย ชุมชนถ้ำทะลุนิยมปลูกกล้วยหิน เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายกล้วยดิบ และยังมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการรวมกลุ่ม เริ่มแรกทำขนมทองม้วน เมื่อปี 2542 และพัฒนากลุ่มมาทำกล้วยหินฉาบได้แก่ กล้วยหินฉาบหวาน กล้วยหินกรอบแก้ว กล้วยหินเคลือบสมุนไพร แต่ละผลิตภัณฑ์ได้รับเครื่องหมาย อย.
จุดเด่นของกล้วยหิน มีความกรอบโดยไม่มีสารกันบูด และบอแรกซ์ เครื่องหมายฮาลาลสามารถจำหน่ายได้ในกลุ่มเป้าหมายมุสลิมและคนทั่วไป เป็นกล้วยฉาบที่มีความกรอบ เนื้อแน่น รสกลมกล่อม รสชาติไม่ซ้ำใคร
วัตถุดิบและส่วนประกอบ วัตถุดิบหลัก
คือกล้วยหินดิบ ส่วนประกอบ ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย เกลือ ผงปา
ขั้นตอนการผลิต
1. คัดเลือกกล้วยหินที่แก่จัด
2. ปอกเปลือก แช่น้ำและล้างให้สะอาด
3. นำกล้วยแต่ละลูกมาไสให้เป็นแผ่นบางๆ
4. ทอดในน้ำมันที่ร้อนจัดจนกรอบ
5. ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน
6. กรณีทำรสเค็มก็ให้โรยเกลือป่นและคลุกเคล้าให้ทั่ว ส่วนรสปาปริก้าให้โรยผงปาปริก้าคลุกเคล้าให้ทั่วและกรณีทำรสหวานกรอบแก้วให้ชุบกล้วยที่ทอดแล้วในน้ำเชื่อมแล้วนำไปทอดในน้ำมันอีกครั้ง
7. นำไป บรรจุภัณฑ์
2. ปอกเปลือก แช่น้ำและล้างให้สะอาด
3. นำกล้วยแต่ละลูกมาไสให้เป็นแผ่นบางๆ
4. ทอดในน้ำมันที่ร้อนจัดจนกรอบ
5. ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน
6. กรณีทำรสเค็มก็ให้โรยเกลือป่นและคลุกเคล้าให้ทั่ว ส่วนรสปาปริก้าให้โรยผงปาปริก้าคลุกเคล้าให้ทั่วและกรณีทำรสหวานกรอบแก้วให้ชุบกล้วยที่ทอดแล้วในน้ำเชื่อมแล้วนำไปทอดในน้ำมันอีกครั้ง
7. นำไป บรรจุภัณฑ์
เคล็ดลับในการผลิต
1 เลือกกล้วยที่แก่จัดมาทอด
เพราะถ้านำกล้วยที่สุกมาทอด เนื้อกล้วยจะออกสีแดงไหม้กินไม่อร่อย
2 นำกล้วยแช่น้ำก่อนปอก จะทำให้ปอกง่าย เพราะเปลือกกล้วยมันกรอบ
3 ผู้ที่จะปอกเปลือกกล้วย ควรทาน้ำมันพืชที่มือและมีด จะทำให้ยางกล้วยติดไม่มาก
4 กล้วยหินฉาบกรอบแก้วที่ปรุงเสร็จแล้ว ควรเก็บให้มิดชิด หากให้อากาศเข้าไปจะทำให้กล้วยเหนียวติดมือเพราะน้ำเชื่อมละลาย
5 ควรวางให้พ้นแสงแดด จะเก็บได้นานกว่า
2 นำกล้วยแช่น้ำก่อนปอก จะทำให้ปอกง่าย เพราะเปลือกกล้วยมันกรอบ
3 ผู้ที่จะปอกเปลือกกล้วย ควรทาน้ำมันพืชที่มือและมีด จะทำให้ยางกล้วยติดไม่มาก
4 กล้วยหินฉาบกรอบแก้วที่ปรุงเสร็จแล้ว ควรเก็บให้มิดชิด หากให้อากาศเข้าไปจะทำให้กล้วยเหนียวติดมือเพราะน้ำเชื่อมละลาย
5 ควรวางให้พ้นแสงแดด จะเก็บได้นานกว่า
+ + + + + + + + + + + + + + + +
และอย่าลืมแวะไปอุดหนุนกลุ่มแม่บ้านถ้ำทะลุสามัคคี อ.บันนังสตา จ.ยะลา นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น