ลอยกระทง
เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้
ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ
ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้
วันลอยกระทง ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561
ประเพณีลอยกระทง
(Loy
Krathong Festival)
มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน
อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง
ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น
แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน
ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้
ทำไมถึงลอยกระทง
การลอยกระทง
เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร
เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป
เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า
ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
ลอยกระทงตามความเชื่อ
ประเพณีลอยกระทง
ตามปฏิทินทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี
โดยมีคติตามความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ
ทั้งเพื่อชำระร่างกาย ดื่มกิน รวมไปถึงทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำ
นอกจากนี้ยังถือเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้าต่างๆ
ให้ลอยหายไปกับแม่น้ำอีกด้วย
เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย
แต่ถ้าหากถามถึงประวัติของวันลอยกระทงแล้วละก็... ตามมาเลย เราจะเล่าให้คุณฟังเอง
แม้ในประเทศไทยจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
แต่ว่ากันว่าการลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยในตอนนั้นเรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า
"พิธีจองเปรียง" หรือ "การลอยพระประทีป"
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟอีกว่า
เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้เชื่อกันว่า
งานดังกล่าวนี้น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน จนได้มีการสืบต่อกันเรื่อยมา
ถึงกรุงรัตนโกสินทร์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้
คำบูชาขอขมา
ทิ้งท้ายกันไปด้วยคำกล่าวบูชาขอขมาในวันลอยกระทงก็แล้วกันนะคะ
เผื่อใครยังไม่รู้ โดยบทสวดที่เรานำมาฝากนี้แปลว่า...ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี
อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น
ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์
และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ
คำขอขมา
อะหัง
อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ
นัมมะทายะ
นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง
มุนิโท
ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง
ปะทีเปนะ
มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา
มัยหัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง
อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา
ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง
ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ บูชา
อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง
จะมีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด จนถือเป็นประเพณีที่สำคัญของไทยอย่างหนึ่ง
ซึ่งนอกจากการลอยกระทงแล้ว ยังมีการประกวดนางนพมาศและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายให้ได้ร่วมสนุกกันอีกด้วย
ว่าแล้ว...คืนพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ก็อย่าลืมชวนคนในครอบครัว ชวนเพื่อน
รวมไปถึงคนรู้ใจไปลอยกระทงด้วยกันนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น