สิละ เป็นศิลปะการแสดงประเภทศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเพราะรูปแบบของการแสดงที่นำกระบวนการต่อสู้ที่มีท่วงท่าที่ทะมัดทะแมงมาสอดแทรกด้วยลีลาท่ารำที่อวดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และยังมีการใช้ลีลานิ้วมือที่พลิ้วไหวสอดคล้องกับท่วงทำนองเพลงช้า เร็วที่บรรเลงประกอบการแสดง นอกจากนี้ความนิ่งของนักแสดงที่สง่าด้วยท่าทางและการสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบองครักษ์ตามแบบฉบับของทหารมลายูในอดีต ทำให้การแสดงสิละมีเสน่ห์ที่น่าติดตามจนจบการแสดง
การเขียนและเรียกชุดการแสดงมีชื่อเรียกหลายแบบได้แก่ สิละ ซีละ ศิละ ดีกา บือดีกา ศีลัท ปัญจักสีลัต โดยนักวิชาการหลายท่านได้นิยามคำต่างๆดังนี้
๑. คำว่า ศิละ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ความหมายของสิละคือ การต่อสู้ด้วยน้ำใจนักกีฬา
ผู้เรียนวิชานี้ต้องมีศิลปะมีวินัยที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้ป้องกันตัว
มิใช่ไปทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน๑
๒. คำว่า สิละ
ในพจนานุกรมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี – ไทย ว่ามาจากคำว่า “ปือซิละ ซซิละ (Bersilat) / Besilq, Ssilq ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเองของชาว
มลายูสมัยก่อน”
๓.
ศิลปะการต่อสู้แบบสิละนี้ในสี่จังหวัดภาคใต้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ดีกา”(De kar) ซึ่งขุนศิลปกรรมพิเศษอธิบายว่า “ดีกา”(Dekar) (ถิ่นใต้) เป็นการรำกริช๒
๔. สิละ ยังหมายถึง ความพลาดพลั้ง ความผิดพลาด
ซึ่งเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เป็นการทำให้คู่ต่อสู้ล้มโดยไม่คาดคิดมาก่อน
จากคำกล่าวข้างต้นในการเรียกชื่อชุดการแสดงว่าสิละ
ซีละ ศิละ ดีกา บือดีกา ศีลัท ปัญจักสีลัต
ไม่มีข้อสรุปว่าเรียกแบบใดถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับบางท้องที่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าศิลปินบางท่านเรียกว่า
สิละหรือซีละ และอธิบายว่าหากเรียกว่า ปัญจักสีลัต
จะเป็นการแข่งขันมากกว่าการแสดง
แต่ศิลปินบางท่านเรียกว่าปัญจักสีลัต พร้อมกับอธิบายว่าเป็นการแสดงด้วย
การแข่งขันด้วย๔ ส่วนดีกา
ตัวศิลปินไม่ค่อยเรียกแต่มักได้ยินจากกลุ่มผู้ชมแถบอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ดังนั้นการเรียกไม่ว่าจะเป็นสิละ ซีละ ดีกา
หรือแม้แต่ปัญจักสีลัต
ก็ไม่มีถูกผิดเพราะมักหมายถึงการแสดงประเภทศิลปะป้องกันตัวของคนไทยเชื้อสายมลายู
-------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น