ชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา ยึดแนวคิด “ทำอาชีพอะไรก็ได้ ในสิ่งที่เรารัก ก็จะก้าวหน้า
อย่างยั่งยืน” โดยใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ที่จำกัด บริเวณรอบบ้าน มาปรับสภาพ
เพาะเลี้ยงด้วงขายเป็นอาชีพหลัก แต่ละเดือนมีรายได้หลายหมื่นบาทเลี้ยงครอบครัว
นายประทีป สุริยะ
หนึ่งในผู้เลี้ยงด้วงชาวลำพะยาที่ประสบความสำเร็จ
เปลี่ยนจากอาชีพเสริมมาเป็นอาชีพหลัก เปิดเผยว่า ตนเองเป็นคนชอบกินด้วงมาก
ก็เลยได้มาปรับเนื้อที่ที่บริเวณบ้าน ซึ่งมีอยู่เพียงเล็กน้อยมาเพาะเลี้ยงด้วง
ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยแรกๆ ก็เลี้ยงด้วงขายเป็นอาชีพเสริม
ทำกันในครอบครัวเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม เลี้ยงไม่มาก โดยลงทุนไปทีละเล็กละน้อย
จนกระทั่งปัจจุบันขยายการลี้ยงด้วงเพิ่มขึ้นจนเต็มพื้นที่รอบบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่จอดรถ หน้าบ้าน หลังบ้าน โดยจะมีการเลี้ยงตั้งแต่การเพาะลูก
ขายตัวด้วง เพาะแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ และทำเป็นอาชีพหลัก มีรายได้
จากการด้วงแต่ละเดือนก็เป็นหลักหมื่น
หลักๆ
ของการเลี้ยงด้วงก็จะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้เลี้ยงด้วง เป็นพวกกะละมัง
ต้นสาคูนำมาบดผสมกับ อี.เอ็ม. พอเพาะตัวอ่อนเต็มที่ประมาณ 1 เดือน แต่ละกะละมัง
ซึ่งมีด้วงอยู่ 200 กว่าตัว ก็สามารถเก็บขายได้
ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะมาซื้อกันถึงที่บ้าน ไม่ต้องไปส่งขายที่ตลาด
เนื่องจากที่นี่เป็นด้วงที่มีคุณภาพดี รสชาติมันๆ อร่อย
ประชาชนนิยมซื้อไปทำต้มเกลือ ผัดกระเพรา รับประทานกันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับราคาขายปลีกก็จะอยู่ที่
กิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งจะได้ด้วงประมาณ 190-200 กว่าตัว เดือนหนึ่งก็จะขายได้ไม่ต่ำกว่า 400 กิโลกรัม
สำหรับสายพันธุ์ของด้วงสาคู
ที่เลี้ยง ก็จะมีทั้งสายพันธุ์แม่ดำ แม่แดง ด้วงสาคูแท้ตัวใหญ่หน่อย
และด้วงสาคูหมก แล้วแต่คนชอบ แต่ส่วนใหญ่คนก็จะนิยมรับประทานตัวเล็กหน่อย
ไม่น่ากลัว
นอกจากนี้ นายประทีป สุริยะ
ยังให้ข้อคิด ไว้ว่า “คนเราจะทำอะไร ก็ได้อย่าพูดว่า ไม่มีที่ ไม่มีเวลา
ขนาดตนเองมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยแต่ก็ยังทำได้ มีรายได้ต่อเดือนนับหมื่นบาท”
แหล่งที่มา : สทท.ยะลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น