ดีเกร์ฮูลู
เป็นการขับร้องของชาวไทย ภาคใต้ใน ๓ จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
คำว่า ดีเกร์ เป็นศัพท์ ภาษาเปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ ประการแรก หมายถึง
เพลงสวด สรรเสริญพระเจ้า ประการที่ ๒ หมายถึง กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่ม
หรือเป็นคณะ ส่วนคำว่า “ฮูลู” หมายถึง บริเวณต้นลำน้ำหรือหมู่บ้านในชนบท
ในที่นี้อาจหมายถึงบริเวณต้นกำเนิด แม่น้ำปัตตานีที่มาจากคำเรียกภาษา ชาวบ้านว่า “ทิศฮูลู”)
ผู้เล่นดีเกร์ฮูลูส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
ประกอบด้วยนักร้อง นำหรือ แม่เพลง ๑–๒ คน
ลูกคู่ ๑๐–๑๕ คน นักดนตรี ๕– ๖ คน
แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองมุสลิม ลูกคู่และ นักดนตรีแต่งกายเหมือนกัน
ส่วนแม่เพลงและนักร้อง แต่งกายแตกต่างจากลูกคู่และนักดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้
ประกอบการแสดง มี ฆ้อง ๑ วง (โหม่งใหญ่) รำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ลูกแซ็ก ๑-๒ คู่
ต่อมามีการเพิ่มเติมกรับ ฉาบ โหม่งคู่ (ฆ้องคู่) เข้าไปด้วย
ดีเกร์ฮูลูเริ่มต้นแสดงด้วยการโหมโรง
มีการขับบท กาโร๊ะ เพื่อเป็นการไหว้ครูและทักทายเจ้าภาพรวมถึงผู้ชม
จากนั้นนักร้องจึงร้องบอกจุดประสงค์ของงานที่มาเล่นเพลง ด้วยเพลงร้องจังหวะต่างๆ
สลับกับการขับบทโต้ตอบกัน ในเรื่องเหตุการณ์บ้านเมือง และจบด้วยการขับกลอนลา เรียกว่า
“วาบูแล” และโหมโรงลา ดีเกร์ฮูลูไม่นิยมแสดง
เป็นเรื่องราว ความสนุกสนานอยู่ที่การขับบทโต้ตอบซึ่งขึ้นกับ
ปฏิภาณไหวพริบของแม่เพลง
บทบาทของการแสดงดีเกร์ฮูลู
นอกจากจะทำหน้าที่ เป็นสื่อให้ความบันเทิงแก่สังคมแล้ว ขนบในการแสดง
และการใช้ภาษามลายูในการแสดงยังสะท้อนให้เห็นถึง
เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมในแถบจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น