อดีตพัฒนากรยะลา
ผันตัวเองมารวมกลุ่มชาวบ้านหน้าถ้ำ ผลิตปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต+มูลค้างคาว ภายใต้
"โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แห่งแรกในจังหวัดยะลา
วันนี้
(14 พ.ย. 60) ที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ซอยพุทธไสยาสน์ 3 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา กลุ่มชาวบ้านตำบลหน้าถ้ำ ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์ฯ
ในโครงการลดต้นทุนการผลิตพันธุ์พืช และปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลหน้าถ้ำ ภายใต้
"โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ได้มาร่วมกันผลิตปุ๋ยฟอสเฟต มูลค้างคาว
และดินปลูก บรรจุลงถุง เพื่อจัดเตรียมนำส่งให้ลูกค้า หลังมีออเดอร์สั่งซื้อ
ซึ่งการทำปุ๋ยที่นี่จะใช้มูลค้างคาวที่มีอยู่จำนวนมาก ผสมรวมกับหินฟอสเฟต (หินผุ)
ซึ่งมีแห่งเดียวที่ภูเขาหน้าถ้ำ ผงถ่าน ก้อนเห็ด มาหมักรวมกับขี้ไก่ และ EM ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จนเป็นปุ๋ยที่ละเอียด ไม่มีกลิ่น
มีธาตุอาหารครบสำหรับปลูกพืชทุกชนิด
โดยทางประธานกลุ่มได้ใช้เวลาคิดค้นสัดส่วนมาเป็นเวลานานร่วมปี
พร้อมกับทดลองใช้ปลูกพืชผักศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี
จนเป็นสัดส่วนที่คงที่และออกผลผลิตได้ดี
นายพนม
หนูแดง ประธานศูนย์ฯ/อดีตพัฒนากร วัย 73 ปี กล่าวถึงที่มาของการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยฯ
ใน "โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ว่า เมื่อก่อนตนเองก็มีการทำปุ๋ยร่วมกับชาวบ้าน
2-3 คน ทำเวลาว่างเสาร์-อาทิตย์ แบบชาวบ้านเท่านั้น โดยตนเองมีความรู้ในด้านนี้อยู่บ้างแล้ว
ก็มาสานต่อและศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมตามหลักการในการทำปุ๋ย ทำดินปลูก
เพื่อให้ทั้งปุ๋ยและดินมีคุณภาพดี อันจะส่งผลต่อพืชสวน
ต้นไม้ที่จะออกผลิตได้ดียิ่งขึ้น หลังจากที่มี "โครงการ 9101
ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เข้ามา
มีชาวบ้านให้ความสนใจเข้าร่วมกลุ่ม จำนวนถึง 17 คน
โดยดำเนินการผ่านมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะนี้ก็คิดว่าทางกลุ่มฯ พอจะเริ่มเดินเองได้แล้ว
และมีลูกค้าสั่งซื้อปุ๋ยมาต่อเนื่อง แต่ตลาดตอบรับยังไม่กว้างพอ
เนื่องจากยังขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งช่วงนี้ยังเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้น
ไม่มีทุน พอมีทุน ก็ต้องซื้อวัสดุ อุปกรณ์ มาเก็บไว้ก่อน
ก็คิดว่าจะต่อยอดขยายออกไปเรื่อยๆ การดำเนินโครงการยังไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์
คิดว่าจะต้องใช้งบประมาณเข้ามาสนับสนุนอีกหลายเรื่อง ทั้งการปรับปรุง เครื่องจักร
การทำบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากที่ผ่านมาก็ต้องใช้เงินทุนเพื่อนำไปซื้อมูลค้างคาวมาสต๊อกไว้
สองหมื่นถึงสามหมื่นบาท เพื่อให้เพียงพอในการผลิต
ก็ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะมีผลกำไร ปันผลให้กับสมาชิกได้
ในช่วงนี้ก็มีลูกค้าสั่งมา
วันหนึ่งก็จะมีผลิตประมาณ 45-50 ถุง ทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งมา
โดยทางกลุ่มจะไม่ทำสต๊อกไว้ แต่ถ้าลูกค้าสั่งมามากทางกลุ่มก็มีกำลังคน วัสดุ
ที่จะผลิตได้ทั้งกลางวันกลางคืน
เนื่องจากได้เตรียมวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตไว้พร้อมแล้ว
สำหรับราคาปุ๋ยที่จำหน่ายอยู่ก็จะมีหลายขนาด หลายราคา ทั้งขนาดเล็กประหยัด 2
กิโลกรัม ราคา 20 บาท ,
4 กิโลกรัม ราคา 35 บาท ส่วนดินปลูก 3 กิโลกรัม ราคา 20 บาท
นอกจากนี้ก็ยังมีปุ๋ยค้างคาว 100 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายในราคา 25 บาท
นายพนม
หนูแดง ประธานศูนย์ฯ/อดีตพัฒนากร ยังกล่าวอีกว่า โครงการลดต้นทุนการผลิตพันธุ์พืช
และปุ๋ยอินทรีย์ ภายใต้ "โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ" ภายใต้ร่มพระบารมี
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้
เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร ในเรื่องปรับปรุงดิน ทำปุ๋ยหมัก
เพราะเมล็ดนั้นขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากขึ้น และราคาลดลง วัตถุประสงค์ก็คือลดต้นทุนของการผลิตทั้งหมด
จะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกมาเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหน
ส่วนเศรษฐกิจพอพียงก็ต้องการให้คนประมาณตน ซึ่งที่นี่นอกจากจะผลิตปุ๋ยแล้ว
ก็ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ
ได้มาศึกษาศาสตร์พระราชา เกษตรผสมผสาน ทฤษฎีใหม่ อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น