การแสดงจะเริ่มต้นการแสดงด้วยดนตรีโหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมและเร้าอารมณ์คนดู
สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน
(หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี)
ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปะหรือคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงเสร็จ ต่อจากนั้นนักร้องต้นเสียงจะออกมาวาดลวดลายด้วยเพลงในจังหวะต่างๆ
ทีละคน เริ่มต้นเนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น
แล้วจึงเข้าสู่เรื่องราวแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์บ้านเมือง
ปัญหาท้องถิ่น ความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลกโปกฮา
จากการสัมภาษณ์นายหะมะ
แบลือแบ หรือแบมะ หัวหน้าคณะการแสดงดิเกฮูลู "มะ ยะหา" เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2547 ที่บ้านในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ผู้ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม สาขาการแสดงลิเกฮูลู4
แบมะสันนิษฐานว่าดิเกฮูลูน่าจะมีส่วนเกี่ยวพันหรือถ่ายทอดซึ่งกันและกันกับการแสดงลำตัดในภาคกลาง
เนื่องจากมีการประชันกันทั้งในด้านน้ำเสียงและไหวพริบในการโต้ตอบ
กรณีที่มีการประชัน
หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวกระทบกระแทกเสียดสีกัน หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ
มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในการใช้คารมและปฏิภาณของผู้แสดง
นับว่าเป็นการให้ความบันเทิง พร้อมทั้งให้ความรู้ สั่งสอนชาวบ้านผู้ชมไปในตัว
ประเพณีการแข่งขันจะมีการประชันระหว่างคณะต่างๆ
เพื่อหาคณะที่ชนะเลิศในแต่ละปีที่มีกันมาตั้งแต่ในอดีต
การตัดสินแตกต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย คือในอดีตจะตัดสินผ่านพลังเสียง
ไหวพริบในการโต้ตอบ ในการแสดงลูกคู่จึงนั่งล้อมกันเป็นวงกลม
หัวหน้าวงจะอยู่ตรงกลาง การนั่งล้อมวงเพื่อให้เสียงรวมกันจุดเดียว
ท่ารำประกอบการแสดงจะไม่หลากหลาย และเนื้อร้องเป็นภาษามลายู
ปัจจุบันการแข่งขันจะตัดสินจากท่าทางของลูกคู่ด้วย
ดังนั้นจึงต้องปรับรูปแบบในการนั่งเป็นนั่งเรียงหน้ากระดานเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นท่ารำของลูกคู่อย่างชัดเจน
ในส่วนของเนื้อร้องได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นภาษาไทยควบคู่ไปกับการร้องเป็นภาษามลายู
ลักษณะพิเศษของดิเกฮูลู
คือหัวหน้าคณะหรือผู้ร้องนำสามารถเดินทางไปแสดงในที่ต่างๆ
ในพื้นที่ที่มีคณะดิเกฮูลูได้โดยไม่ต้องมีลูกคู่ไปด้วย เพราะสามารถไปแสดงร่วมกับลูกคู่ของคณะอื่นๆ
ได้
แบมะเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้ามาแสดงดิเกฮูลูว่า
เมื่อสมัยวัยรุ่นได้ไปดูดิเกฮูลูที่มาเล่นในอำเภอยะหา
รู้สึกสนใจอยากที่จะเรียนรู้จึงไปขอเรียนจากคณะที่เข้ามาแสดงที่อำเภอ
จนกระทั่งมีความรู้เพียงพอที่จะมาแสดงและตั้งวงเป็นของตัวเอง
แบมะได้ปรับรูปแบบการแสดงดิเกฮูลูของตนโดยการนำเพลงลูกทุ่งเข้ามาผสมผสานในการร้อง
มิได้มีไว้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรณรงค์
โดยเนื้อหาในเพลงจะเกี่ยวข้องกับศาสนา สถานการณ์ปัจจุบัน
และสอดแทรกข่าวสารจากรัฐบาล เช่น เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสะอาด โรคเอดส์ ความรักชาติ
ความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง การเลือกตั้ง และภัยร้ายของยาเสพติด
เข้าไปในเนื้อหาที่ใช้แสดง
พบว่าการแสดงดิเกฮูลูเป็นอีกสื่อหนึ่งที่สามารถเข้าถึงชาวบ้าน
ทั้งยังเป็นตัวช่วยหนึ่งในการเผยแพร่รณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยร้ายต่างๆ
และข้อปฏิบัติที่ถูกต้องดังที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี
การแสดงดิเกฮูลู
แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น มาแกปูโล๊ะ (งานแต่งงาน) พิธีเข้าสุหนัต
งานเมาลิด งานฮารีรายอ งานบุญ และแสดงเพื่อแก้บน
เป็นการขอพรจากพระอัลลอฮฺโดยผ่านการแสดงดิเก ปัจจุบันยังแสดงในงานเทศกาลต่างๆ
ร่วมกับมหรสพอื่นๆ เช่น ในงานพิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
หรือเป็นการแสดงเพื่อมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยการแสดงออกผ่านท่าทางประกอบและการตบมือ
เช่น การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ
หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา ท่าทางการตบมือเหมือนปลา
เหมือนกับการแสดงให้เห็นถึงการเอาตัวรอดของปลาให้หลุดพ้นจากการตามล่า
ทำลายจากระเบิด อวนลาก อวนรุก และท่าทางการตบมือชักเชือก ที่แสดงถึงความร่วมมือ
ความสามัคคี โดยใช้เชือก ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาของชาวประมงพื้นบ้าน
เป็นสื่อให้เกิดพลังชุมชน เป็นต้น
ปัจจุบันดิเกฮูลูแสดงกันทั่วไปในพื้นที่
5
จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล และปัตตานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น